มหาวิทยาลัยอมฤตา ประเทศอินเดีย เปิดตัวอุปกรณ์สวมใส่ใช้วัดค่าน้ำตาลและความดันเลือดที่บ้าน

พฤหัส ๐๓ มีนาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๐๕
- ผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้และไม่ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย เพื่อวัดค่าพารามิเตอร์ของร่ายกาย 6 แบบ ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำตาลในเลือด ความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ ออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใน 6 จุดได้ง่าย ๆ จากที่บ้าน

- เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์นี้กับสมาร์ทโฟน ก็จะทำหน้าที่เป็นเครื่องเฝ้าติดตามสภาวะของผู้ป่วยวิกฤติชนิดข้างเตียงขนาดเล็กในคลินิกแถบชนบทได้

มหาวิทยาลัยอมฤตา (Amrita University) ประเทศอินเดีย ได้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับใช้ตรวจวัดระดับน้ำตาลและแรงดันเลือดที่บ้านในชื่อว่า "อมฤตาสปันดานัม" (Amrita Spandanam) ซึ่งจะวางจำหน่ายทางออนไลน์และผ่านเภสัชกรทั่วประเทศ

อมฤตาสปันดานัมได้รับการพัฒนาและจดสิทธิบัตรโดยศูนย์เครือข่ายและแอปพลิเคชันไร้สายในสังกัดมหาวิทยาลัยอมฤตา โดยเป็นอุปกรณ์สวมใส่ได้แบบ 6 ใน 1 นำไปใช้แทนเครื่องเฝ้าติดตามสภาวะของผู้ป่วยวิกฤติชนิดข้างเตียงได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถใช้เพื่อวัดค่าต่าง ๆ ในร่างกายได้ 6 ชนิด ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 6 จุด

ดร. มณีชา วี ราเมช ( Maneesha V Ramesh) อธิการบดีของมหาวิทยาลัยอมฤตา ซึ่งเป็นผู้นำทีมนักวิจัย กล่าวว่า "อมฤตาสปันดานัม เป็นอุปกรณ์ที่ปฏิวัติวงการที่ได้รับสิทธิบัตรมากมายจากสหรัฐ พร้อมผลงานตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำ ให้วิธีการติดตามและตรวจจับเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และภูมิแพ้ได้ง่าย ๆ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งรวดเร็ว สะดวก ราคาจับต้องได้ และเป็นวิธีที่ไม่ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย ผลิตภัณฑ์นี้ทำการทดสอบกับผู้ป่วย 1,000 รายที่โรงพยาบาลอมฤตาในเมืองโคจิและคลินิกที่ห่างไกลหลายแห่งในรัฐเกรละ โดยในปีที่แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ประสบความสำเร็จในการใช้งานอย่างเต็มที่ในโรงพยาบาลอมฤตา ในการติดตามระดับความรุนแรงของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากทางไกล"

อมฤตาสปันดานัมเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของผู้ป่วย ข้อมูลถูกส่งไปยังคลาวด์โรงพยาบาลอย่างปลอดภัยซึ่งช่วยให้แพทย์ทุกคนที่ได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงค่าสำคัญต่าง ๆ ได้จากทุกที่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังรวมแบบจำลองการเรียนรู้หลายแบบที่คาดเดาความเสื่อมทางสุขภาพของผู้ป่วยได้ และให้การสนับสนุนการตัดสินใจเตือนล่วงหน้าแก่แพทย์สำหรับภาวะความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน ภาวะติดเชื้อ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอมฤตา

http://www.amrita.edu

อมฤตาเป็นพันธมิตรกับสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก เพื่อดำเนินการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ นำไปต่อยอดได้ และล้ำหน้า พันธมิตรของอมฤตามีทั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย คิงส์คอลเลจลอนดอน สถาบันเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัม สมาคมธรณีวิทยาแห่งบริติช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สภาวิจัยแห่งชาติอิตาลี มหาวิทยาลัยดีคิน และมหาวิทยาลัยโตเกียว ทั้งนี้ ศรี มาตา อัมริทานานดามายี เทวี (อัมม่า) (Sri Mata Amritanandamayi Devi หรือ Amma) ผู้นำด้านมนุษยชนผู้มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นผู้ก่อตั้ง อธิการบดี และแสงนำทางของมหาวิทยาลัยอมฤตา

ติดต่อ: ดร. มณีชา ราเมช, อีเมล: [email protected]

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1756993/Amritapuri_Campus_Admin_Building_Drone.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด