ม.มหิดล ต่อยอดองค์ความรู้ "Precision Agriculture" เพิ่มผลผลิตพืช เพื่ออนาคตเกษตรกรไทย

พฤหัส ๒๔ มีนาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๑๕
ในขณะที่ทางฝ่ายแพทย์ มี "Precision Medicine" หรือ "การแพทย์แม่นยำ" คอยเป็นธงนำสู่การรักษาโรคอย่างตรงจุด ทางฝ่ายเกษตรก็มี "Precision Agriculture " หรือ "การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชได้อย่างแม่นยำ" ได้เช่นเดียวกัน
ม.มหิดล ต่อยอดองค์ความรู้ Precision Agriculture เพิ่มผลผลิตพืช เพื่ออนาคตเกษตรกรไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า นับเป็นปีที่ 2 แล้วที่ทางวิทยาเขตกาญจนบุรี ได้เปิดหลักสูตรนวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคต แบบ Non-degree ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ นักศึกษาระดับปวช.ขึ้นไป รวมทั้งกลุ่ม Smart Farmers หรือเกษตรกรแนวใหม่ที่ต้องการ Upskill & Reskill หรือเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบการเกษตรแนวใหม่ ตลอดจนผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่สนใจประกอบวิชาชีพเกษตรกรแนวใหม่เป็นอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มพูนรายได้เป็นหลักประกันให้กับชีวิตในบั้นปลายอย่างยั่งยืน

ซึ่ง "Precision Agriculture " หรือ "การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชได้อย่างแม่นยำ" เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตพืชเพื่ออนาคต โดยเป็นการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อทำให้พืชเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งในเรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงต้นอ่อน การให้ปุ๋ยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด รวมทั้งเทคโนโลยีการปลูกพืชในโรงเรือนอัจฉริยะที่เป็นระบบปิด ซึ่งสามารถควบคุมแมลง และลดปริมาณการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ ได้ให้มุมมองถึงการเป็น Smart Farmers อย่างไรให้ประสบความสำเร็จว่า จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ผสมผสานระหว่างการทำการเกษตร และการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการทำการเกษตรแนวใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้จากผู้มีความรู้และประสบการณ์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางวิชาชีพ โดยทางหลักสูตรฯ มีครบพร้อมทั้งคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ คณาจารย์ประจำวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน ภายใต้ Ecosystem ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างครบวงจร ทั้งแบบ Online และ Onsite ให้ผู้เรียนได้ลงพื้นที่จริงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคธุรกิจต่างๆ ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 3.5 เดือน (435 ชั่วโมง) โดยในหลักสูตรฯ จะมีรายวิชาเพื่อเตรียมพร้อมต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการต่อไปในอนาคตอีกด้วย

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี พร้อมเป็นกำลังสำคัญร่วมผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ โดยหวังให้หลักสูตรนวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตนี้ สามารถผลิต Smart Farmers คุณภาพ เพื่อสร้างสรรค์สู่อนาคตที่ดีกว่าของเกษตรกรไทยต่อไป ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ จินตโกวิท [email protected] และ อาจารย์ ดร.เนติยา การะเกตุ [email protected] ดูรายละเอียดได้ที่ http://ka.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน