"ซีเอทีแอล" ได้รับอนุญาตผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในโรงงานที่เยอรมนี

พฤหัส ๐๗ เมษายน ๒๐๒๒ ๐๙:๕๐
เมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา บริษัทคอนเทมโพรารี แอมเพอเรกซ์ เทคโนโลยี ทือริงเงิน จีเอ็มบีเอ็ช (Amperex Technology Thuringia GmbH) หรือซีเอทีที (CATT) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตนอกประเทศจีนแห่งของซีเอทีแอล (CATL) ได้รับการอนุมัติบางส่วนเป็นครั้งที่ 2 ให้เริ่มดำเนินการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในโรงงานที่รัฐทือริงเงิน ประเทศเยอรมนี นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการขยายธุรกิจทั่วโลกของซีเอทีแอล แม้จะเผชิญกับความยากลำบากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม
ซีเอทีแอล ได้รับอนุญาตผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในโรงงานที่เยอรมนี

ในระหว่างพิธีที่จัดขึ้นที่ซีเอทีทีในเขตอุตสาหกรรมแอร์ฟัวร์เทอร์ ครอยซ์ (Erfurter Kreuz) คุณอันจา ซีเกซมุนด์ (Anja Siegesmund) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงานและธรรมชาติของรัฐทือริงเงิน และคุณวูฟกัง ทีเฟนซี (Wolfgang Tiefensee) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของรัฐทือริงเงิน ได้มอบใบอนุญาตให้แก่คุณแมทไธอัส เซนต์กราฟ (Matthias Zentgraf) ประธานซีเอทีแอลประจำภูมิภาคยุโรป ในการเริ่มต้นการผลิตจำนวน 8 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีที่โรงงานแห่งนี้

การก่อสร้างโรงงานดังกล่าวซึ่งเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่แห่งแรกของเยอรมนีด้วยเช่นกัน กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ขณะที่การติดตั้งเครื่องจักรกำลังดำเนินไปอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่ล็อตแรกได้ภายในสิ้นปี 2565

"ซีเอทีทีเป็นแรงผลักดันพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน และเรายินดีที่จะเป็นบริษัทแรกที่ได้รับการอนุมัติให้ผลิตแบตเตอรี่ที่ผลิตในเยอรมนี" คุณเซนต์กราฟ กล่าว และเสริมว่าความร่วมมือกับทางการในระหว่างกระบวนการอนุมัตินั้นได้กลายเป็นแบบอย่างให้เดินตาม

คุณซีเกซมุนด์ เปิดเผยว่า ยานยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนีกำลังได้รับแรงผลักดันมหาศาล และรัฐต้องการบริษัทที่มุ่งมั่นในเรื่องความยั่งยืนและการอนุรักษ์ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต

"สำหรับรัฐทือริงเงินแล้ว ซีเอทีทีเป็นหนึ่งในการลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดในรอบไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา" คุณทีเฟนซี กล่าว "ในขณะเดียวกัน โครงการนี้อาจจุดประกายการถือกำเนิดของ 'Battery Valley Thuringia' เนื่องจากบริษัทซัพพลายเออร์ชุดแรกของซีเอทีแอลได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่"

ซีเอทีทีประกอบด้วยอาคารสองหลัง ได้แก่อาคาร G1 ซึ่งเป็นอาคารเดิมที่ซื้อต่อจากบริษัทอื่น และเป็นที่ที่เซลล์ถูกประกอบขึ้นเป็นโมดูล และอาคาร G2 ซึ่งเป็นโรงงานที่ซีเอทีทีสร้างขึ้นใหม่ และเป็นอาคารผลิตเซลล์ การอนุมัติครั้งนี้ออกให้สำหรับการผลิตเซลล์ในอาคาร G2

ด้วยห้องปลอดเชื้อ ความสะอาดทางเทคนิค และความชื้นคงที่ โรงงานแห่งนี้จึงมีความซับซ้อนไม่ต่างจากโรงงานผลิตชิป ในขณะเดียวกัน โรงงานแห่งนี้ผลิตพลังงานส่วนหนึ่งจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนดาดฟ้าเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน

ซีเอทีแอลได้ก่อตั้งโรงงานในเยอรมนีในปี 2562 และมีกำหนดจะเริ่มการผลิตเซลล์ภายในสิ้นปี 2565 ซึ่งจะมีการสร้างงานรวมถึง 1,500 ตำแหน่งในเยอรมนี

ด้วยการลงทุนรวม 1.8 พันล้านยูโร ซีเอทีแอลวางแผนที่จะบรรลุกำลังการผลิตจำนวน 14 กิกะวัตต์ชั่วโมง และสร้างงาน 2,000 ตำแหน่งในเยอรมนีในอนาคต

โรงงานนี้ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเยอรมนี มีความพร้อมในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูงสำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในเยอรมนี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและการเปลี่ยนแปลงพลังงานในยุโรป

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1781379/Image1.jpg

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1781380/Image2.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ซีเอทีแอล ได้รับอนุญาตผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในโรงงานที่เยอรมนี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน