ครั้งแรกของไทย! "ซินโครตรอน"เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22

ศุกร์ ๐๘ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๑:๒๗
ครั้งแรกของประเทศไทยในการจัดประชุมวิชาการระดับโลกด้านเครื่องเร่งอนุภาค โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในนามประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IPAC'22 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565
ครั้งแรกของไทย! ซินโครตรอนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในนามประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาค 13th International Particle Accelerator Conference หรือ IPAC'22 ระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลกทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคนี้

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารการจัดงาน IPAC'22 กล่าวว่า "IPAC เป็นการประชุมวิชาการด้านเครื่องเร่งอนุภาคที่มีความสำคัญและใหญ่ที่สุดของโลก และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเวียนการเป็นเจ้าภาพใน 3 ทวีป คือ เอเชีย(รวมออสเตรเลีย) ยุโรป และอเมริกาเหนือ-อเมริกาใต้ สำหรับปีนี้เป็นวาระของทวีปเอเชีย และประเทศไทยโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแข่งขันและได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งที่ 13 นี้ ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และผู้ประกอบการด้านเครื่องเร่งอนุภาค"

ภายในงาน IPAC'22 จะมีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดของการวิจัยและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคทั่วโลก รวมทั้งการนำงานวิจัย เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้จริงในห้องปฏิบัติการ และในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แสงซินโครตรอน เทคโนโลยีด้านเครื่องเร่งอนุภาค และตระหนักถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ โดยมีผู้ส่งบทคัดย่องานวิจัยมากกว่า 1,900 เรื่อง และจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศประมาณ 1,200 คน

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "การประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยทั่วโลก สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้สนใจด้านฟิสิกส์ เครื่องเร่งอนุภาค วิศวกรรม และนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและประชาสัมพันธ์ประเทศไทยได้อีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากการจัดงานจะมีผู้เข้าร่วมและติดตามจำนวนมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศในส่วนธุรกิจโรงแรม อาหาร และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จึงขอเชิญชาวไทยร่วมภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับโลกครั้งนี้"

พิเศษสำหรับผู้สมัครเข้าร่วมการประชุมภายในวันที่ 12 เมษายนนี้ จะได้รับส่วนลดค่าสมัครเข้าร่วมประชุม โดยจะปิดรับสมัครในวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ที่ อีเมล [email protected] หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ipac22.org

ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ครั้งแรกของไทย! ซินโครตรอนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด