วว. ขับเคลื่อน BCG หนุนใช้ "สารชีวภัณฑ์" ช่วยยกระดับผลิตผลทางการเกษตร พร้อมให้บริการระดับอุตสาหกรรมโดย ICPIM 2 ครอบคลุมตอบโจทย์ทั้งสายการผลิตเชื้อรา/แบคทีเรีย

พฤหัส ๒๑ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๓:๐๑
"ชีวภัณฑ์" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะมาจาก พืช สมุนไพร จุลินทรีย์  มีหลายรูปแบบ ที่คุ้นเคยและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ EM (Effective  microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์มีหน้าที่ในด้านการย่อยสลายเศษซากพืช ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการผลิตปุ๋ย  เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมน หรือเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักร่วมกับสมุนไพรเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยนำ หรือใช้ป้องกันกำจัดแมลง  มีหลายหน่วยงานภาครัฐที่ผลิต EM และนำไปใช้ในเชิงสังคม อาทิ พด. 1-12 ของกรมพัฒนาที่ดิน ปม.1 และ ปม. 2 ของกรมประมง และ PGPR 1 PGPR 2 และ PGPR 3 ของกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น
วว. ขับเคลื่อน BCG หนุนใช้ สารชีวภัณฑ์ ช่วยยกระดับผลิตผลทางการเกษตร พร้อมให้บริการระดับอุตสาหกรรมโดย ICPIM 2 ครอบคลุมตอบโจทย์ทั้งสายการผลิตเชื้อรา/แบคทีเรีย

นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์เดี่ยวๆ โดยทั่วไปที่ผลิตขายเชิงพาณิชย์และผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร จะมี 5 สายพันธุ์หลัก คือ ไตรโคเดอร์มา บิววาเรีย เมธาไรเซียม บีที และบีเอส ซึ่งจุลินทรีย์ทั้ง 5 ชนิดนี้จะนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืช คือ โรคและแมลงของพืช

ปัจจุบันภาครัฐรณรงค์ให้เกษตรกรทำการเกษตรมุ่งเน้น ระบบการผลิตพืชแบบเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืชมากขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมของประเทศให้ยั่งยืน

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนประเทศเชิงบูรณาการในทุกมิติ   มุ่งใช้ความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและวัฒนธรรมโดยการขับเคลื่อนนโยบาย BCG เป็นฐานในการพัฒนา ที่มีเป้าหมายร่วมคือ "ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง สู่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยั่งยืนภายใน 7 ปี"

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวง อว. ได้นำนโยบายเศรษฐกิจ BCG  เป็นธงดำเนินงานองค์กร และมีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน สร้างอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการดำเนินงานโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในส่วนของ ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร  หรือ  ICPIM 2   ที่มีสายการผลิตชีวภัณฑ์ครอบคลุมตอบโจทย์ทั้งสายการผลิตเชื้อราและแบคทีเรีย

รูปแบบของชีวภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตโดย โรงงาน  ICPIM 2   มีจำนวน  3  รูปแบบ คือ หัวเชื้อเหลว  หัวเชื้อน้ำ และหัวเชื้อผง ในส่วนของบรรจุภัณฑ์มี 3 ขนาด คือ  เล็ก กลาง และใหญ่ สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ชีวภัณฑ์ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ มีกำลังการผลิตรวมต่อปีมากถึง 115,000 ลิตร

"ICPIM 2"   มีศักยภาพตอบโจทย์ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย  โดย  วว. มีหลายส่วนงานที่ร่วมบูรณาการดำเนินงาน ครอบคลุมและรองรับงานด้านชีวภัณฑ์ครบวงจร  ได้แก่  ศูนย์จุลินทรีย์   มีสายพันธ์จุลินทรีย์ในคลังมากกว่า  11,000 สายพันธุ์ เพื่อนำไปวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ใหม่  มีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ พร้อมให้บริการจัดเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้กับผู้ประกอบการ  มีศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร  ซึ่งมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานตาม OECD  GLP  GUIDLINE  ในการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบความเป็นพิษของจุลินทรีย์ และในส่วนของ โรงงาน ICPIM 2   ให้บริการครบวงจรทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ใหม่ๆ ในระดับห้องปฏิบัติการ และทดสอบกระบวนการผลิต ขยายจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม

 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานด้านชีวภัณฑ์ โดยมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา รับน้องๆในระดับอุดมศึกษามาเรียนรู้  ฝึกงาน  รวมถึงทำวิจัยในด้านต่างๆ ของการพัฒนางานด้านชีวภัณฑ์ ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ  โรงงาน และภาคสนาม เพื่อเป็นแรงงานรองรับการพัฒนาของอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพต่อไปในอนาคต

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต    ผู้ว่าการ วว.   กล่าวถึงข้อดีของสารชีวภัณฑ์ที่ วว. ผลิตว่า ผ่านการวิจัยและพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช รวมถึงทดสอบความเป็นพิษในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC  17025 ตามหลัก OECD GLP GUILDLINE และผ่านการผลิตในโรงงานด้วยเครื่องจักรระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตสะอาด ปราศจากเชื้ออื่นปนเปื้อน

ทั้งนี้ วว. ได้นำสารชีวภัณฑ์ที่วิจัย พัฒนาและผลิต ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานพื้นที่ "กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด"  รวมจำนวน 1.3 ล้านลิตร เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีทางการเกษตร ลดสารพิษตกค้าง เพิ่มความปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม  และลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ  โดย วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารชีวภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และอยุธยา ครอบคลุม   4  กลุ่มพืชเศรษฐกิจ ได้แก่  ไม้ผล พืชไร่ (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง)  พืชสมุนไพรและพืชผัก  รวมทั้งได้พัฒนากระบวนการขยายชีวภัณฑ์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อขยายสู่การผลิตเชิงพาณิชย์และระดับชุมชน

นอกจากนี้ วว. ยังได้เข้าร่วมดำเนิน โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ "โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตก ด้วย BCG โมเดล" ในปีงบประมาณ 2564   จากการดำเนินงานดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม  ดังนี้ 

  1. มีเกษตรกรกว่า 200 ราย นำเทคโนโลยีไปใช้ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการพัฒนาปัจจัยการผลิตหมุนเวียนสำหรับเกษตรกรแปลงใหญ่เพิ่มขึ้นได้ 5 ปัจจัยการผลิต จำนวน 6 เทคโนโลยี ดังนี้ เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก เทคโนโลยีการผลิตข้าวเสริมซีลีเนียม เทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุเพาะเห็ด (ฟางข้าวเสริมซีลีเนียม กากมันสำปะหลัง) เทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตอ้อยด้วยปุ้ยอินทรีย์เคมีเสริมจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพและเพิ่มผลผลิตพืซด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต (มันสำปะหลัง กล้วย) และเทคโนโลยีขยายชีวภัณฑ์ในถังชุมชนโมเดล วว.
  2. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร โดยมีเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และบริษัท รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต functional food และบรรจุภัณฑ์
  3. มีผู้ประกอบการร่วมลงทุนด้าน R&D ภายใต้ BCG Model
  4. เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ functional food และเวชสำอาง จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ต้นแบบ ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานจำนวน 370 ล้านบาท

"...ประโยชน์ของการใช้สารชีวภัณฑ์ เป็นการยกระดับผลิตผลทางการเกษตรรองรับนโยบายของรัฐบาล มุ่งสู่ระบบการผลิตพืชปลอดภัย และระบบการผลิตพืชอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตร ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ลดการตกค้างของสารเคมีในพืชผลการเกษตร ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ต่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรไทย..." ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุปถึงประโยชน์ของสารชีวภัณฑ์ที่มีต่อภาคเกษตรกรรม

สอบถามเกี่ยวกับ "สารชีวภัณฑ์"  ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว.  โทร. 0 2577  9016, 02-577 9021   โทรสาร 0 2577  9009  E-mail : [email protected]

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วว. ขับเคลื่อน BCG หนุนใช้ สารชีวภัณฑ์ ช่วยยกระดับผลิตผลทางการเกษตร พร้อมให้บริการระดับอุตสาหกรรมโดย ICPIM 2 ครอบคลุมตอบโจทย์ทั้งสายการผลิตเชื้อรา/แบคทีเรีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว