ผู้ถือหุ้นไฟเขียว RATCH เดินหน้าเพิ่มทุน เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ (PPO) พร้อมประกาศเป้าหมาย Carbon Neutrality กำหนดกลยุทธ์ 3-G (Growth, Green, Generate) สร้างการเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว

พุธ ๒๗ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๕:๕๓
'บมจ. ราช กรุ๊ป' หรือ RATCH ผู้ถือหุ้นไฟเขียวเพิ่มทุนไม่เกิน 769.23 ล้านหุ้น เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (Preferential Public Offering หรือ PPO) พร้อมประกาศเป้าหมาย Carbon Neutrality ผ่านกลยุทธ์ 3-G (Growth, Green, Generate) เดินหน้าเร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องในระยะยาว วางเป้าหมายภายใน 3 ปีข้างหน้า คาดมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 10,000 เมกะวัตต์

นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH หรือ บริษัทฯ ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระชั้นนำของประเทศไทย (IPP) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บมจ. ราช กรุ๊ป หรือ RATCH มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 14,500,000,000 บาท เป็น 22,192,307,700 บาท โดยจะออกหุ้นสามัญใหม่จำนวนไม่เกิน 769,230,770 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (ราคาพาร์) หุ้นละ 10 บาท โดยมีราคาเสนอขายเบื้องต้นที่ 37.75 บาทต่อหุ้น นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาการปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขราคาเสนอขายที่ประกาศไว้ หากพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมเพื่อความสำเร็จของการเสนอขายหุ้น โดยราคาเสนอขายสุดท้ายต่อหุ้นจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 33.97 ถึง 41.52 บาทต่อหุ้น (หากมีการปรับราคาเสนอขายที่ประกาศไว้ บริษัทฯ จะแจ้งการปรับราคาเสนอขายที่ประกาศไว้และราคาเสนอขายสุดท้ายผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) เพื่อออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (PPO) ทั้งนี้ วันที่ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR Date) คือวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ซึ่งบริษัทฯ ได้กำหนดให้วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับการเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในการเสนอขายหุ้น PPO (Record Date) และกำหนดระยะเวลาจองซื้อและการชำระราคาหุ้น ในระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2565 โดยการออกหุ้นสามัญใหม่เพื่อเพิ่มทุนครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯ รองรับแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องในระยะยาว

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างการเติบโตภายใต้ "กลยุทธ์ 3-G" ได้แก่ G-1 คือ Growth มุ่งเน้นแสวงหาโอกาสเติบโตเพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่ากิจการเพิ่มในอนาคต G-2 คือ Green สนับสนุนพลังงานทดแทนและยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ G-3 คือ Generate มุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าและความเป็นเลิศขององค์กร

บริษัทฯ มีการกำหนดเป้าหมายการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewable) โดยมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 เมกะวัตต์ในปี 2568 และเพิ่มเป็น 4,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2578 หรือคิดเป็น 40% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 10,000 เมกะวัตต์ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนภายใต้นโยบายของบริษัทฯ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามลำดับ ตอกย้ำความมุ่งมั่นการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) รวมถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนป่าชุมชนทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการ "คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน" ร่วมกับกรมป่าไม้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 14 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนเงินรางวัลให้แก่ป่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน และบริษัทฯ มีแผนดำเนินการโครงการปลูกป่าอย่างต่อเนื่อง (ปี 2565-2568) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,100 ไร่ ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งประมาณการคาร์บอนเครดิตที่จะได้รับจากโครงการปลูกป่าดังกล่าวประมาณ 670,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดอายุโครงการตั้งแต่ปี 2565-2577 เป็นการสร้างความตระหนักรู้ และช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อในอนาคตประเทศไทยจะเป็นประเทศสังคมคาร์บอนต่ำ และเกิดความสมดุลทางคาร์บอน

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ได้วางเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 10,000 เมกะวัตต์ และมูลค่ากิจการเป็น 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2568 ผ่านแผนขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการพัฒนาโครงการใหม่ (Green-field Projects) ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและการเข้าซื้อกิจการ (M&A) ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่ากิจการได้เร็วขึ้น รวมถึงกระจายการลงทุนไปยังโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและธุรกิจอื่นที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (Health Care) โดยกำหนดกรอบการลงทุนในส่วนของโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและธุรกิจอื่นไว้ปีละประมาณ 20% ของเงินลงทุนรวม อีกทั้งยังเดินหน้าขยายและต่อยอดการลงทุนธุรกิจในต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย, สปป.ลาว, อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนจากการลงทุนในระยะยาว

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน