ม.มหิดล ลดอุบัติภัย ออกแบบแผงกั้นลดแรงเฉื่อยในถังรถบรรทุกน้ำมัน ด้วยพลศาสตร์ของไหล

พุธ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๓๐
เป็นธรรมดาของผู้ใช้รถใช้ถนนหลายราย ในเวลาที่ต้องร่วมทางกับรถบรรทุกน้ำมันขนาดมหึมาด้วยแล้ว อาจเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย เนื่องจากข่าวอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนต้องพยายามหลีกเลี่ยงไปขับในเส้นทางอื่น
ม.มหิดล ลดอุบัติภัย ออกแบบแผงกั้นลดแรงเฉื่อยในถังรถบรรทุกน้ำมัน ด้วยพลศาสตร์ของไหล

และยังมีบางรายที่ไม่ทราบว่า ภายในถังรถบรรทุกน้ำมันขนาดประมาณ 80,000 ลิตรที่เราเห็นกันโดยทั่วไปบนท้องถนนนั้น ประกอบด้วยแผงกั้นซึ่งได้มีการออกแบบให้แต่ละแผ่นมีรูตรงกลางขนาดใหญ่ติดตั้งไว้เรียงรายภายในถัง เพื่อคอยทำหน้าที่ลดแรงเฉื่อยไม่ให้รถบรรทุกน้ำมันเกิดเหตุพลิกคว่ำ ตามหลักการของ "พลศาสตร์ของไหล" ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมคุณภาพออกแบบโดยอาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ประพันธ์ตำรา E-Book ในชื่อเดียวกัน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS

รองศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต สุวรรณจำรัส อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์ตำรา MU PRESS E-Book "พลศาสตร์ของไหล" เจ้าของผลงานนวัตกรรมการออกแบบแผงกั้น (Buffle) เพื่อลดแรงเฉื่อยในถังรถบรรทุกน้ำมัน และอีกหลากหลายผลงานคุณภาพ ด้วยหลักการ "พลศาสตร์ของไหล" ได้อธิบายถึงคำจำกัดความของ "ของไหล" ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำและอากาศ แต่ได้แก่สสารซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามแรงที่ถูกกระทำ โดยขึ้นอยู่กับ"ความดัน" และ "ความเร็ว" เป็นสำคัญ

เมื่อรถเบรก แต่ของเหลวไม่ได้เบรกตาม ซึ่งมักเป็นเหตุให้รถบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ต้องสูญเสียการควบคุม จนอาจพลิกคว่ำเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนส่งผลกระทบต่อบริเวณโดยรอบจากเหตุอัคคีภัยได้

ซึ่งการใช้แผงกั้น (Buffle) ภายในถังรถบรรทุกน้ำมันจะช่วย"จัดระเบียบการไหล" เพื่อให้เวลาเกิดแรงเฉื่อย หรือแรงกระเพื่อมจากการเลี้ยวหรือหยุดรถ น้ำมันที่อยู่ภายในถังจะได้ไหลผ่านลอดรูของแผ่นกั้นที่อยู่เรียงรายภายในถัง ซึ่งจะทำให้แรงเฉื่อย หรือแรงกระเพื่อมของน้ำมันที่อยู่ภายในถังเกิดขึ้นได้น้อยลง

จริงๆ แล้วความรู้ความเข้าใจใน "พลศาสตร์ของไหล" ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็น "ช่าง" โดย รองศาสตราจารย์ดร.ชาคริต สุวรรณจำรัส ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า"ช่าง" ด้วยว่า คือ ผู้ที่มีความชำนาญในงาน หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาและสม่ำเสมอ เพื่อให้มีทักษะที่ดี สามารถพึ่งพาตัวเอง พร้อมทั้งเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้

เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยด้วยปัญญาในโลกยุคปัจจุบันจึงไม่ควรประมาท และพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และทักษะที่หลากหลายเพิ่มเติมอยู่เสมอ หากเราไม่จำกัดความรู้ให้อยู่แค่ในชั้นเรียน เราก็จะสามารถเรียนรู้ และต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด

นอกจาก ตำรา E-Book "พลศาสตร์ของไหล" แล้ว ยังมีเรื่องน่ารู้อื่นๆ ที่ควรค่าแก่การดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะด้วยตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกันอีกมากมายได้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS ทั้งในระบบ Android และiOS

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)

ออกแบบแบนเนอร์โดย วิไล กสิโสภา นักวิชาการสารสนเทศ

งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง