จุฬาฯร่วมถอดบทเรียนความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทิศทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดน

ศุกร์ ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๑๙
จากเวทีนำเสนอโครงการวิจัย "UK-SEA PEER Research" ซึ่งคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ The Research Centre for Global Learning (GLEA), Coventry University สหราชอาณาจักร จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อถอดบทเรียนความร่วมมือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการสร้างความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ในอนาคต
จุฬาฯร่วมถอดบทเรียนความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทิศทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดน

ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ เปิดเผยว่า โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของผู้เรียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้รับการสนับสนุนผ่านทาง British Council จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและก้าวไกลยิ่งขึ้น ทำให้เกิดโอกาสทางการศึกษามากขึ้น เพื่อมองไปข้างหน้าว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ตลอดจนลำดับในการแก้ปัญหาก่อนหลัง เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสที่จะเข้าถึงความรู้แบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การปิดเส้นทางการเดินทางข้ามพรมแดนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา แต่มีการเปิดเชื่อมโยงการเรียนรู้กันในโลกออนไลน์ส่งผลต่อข้อดีและโอกาสของความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงอุปสรรคที่จะต้องแก้ไขเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดการขยับและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม

ศ.ดร.ปาริชาต กล่าวถึงทิศทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดนว่ามีความสำคัญกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ การเรียนรู้ามพรมแดนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ ความแตกต่างของการเรียนรู้ข้ามพรมแดนในอดีตและปัจจุบันคือเรื่องเวลาและสถานที่ ในอดีตเราต้องเดินทางไปมา มีค่าใช้จ่ายและใช้เวลา แต่ในปัจจุบันเมื่อโลกอินเทอร์เน็ตเข้ามาทำให้การเรียนรู้เปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ข้ามพรมแดนสามารถทำได้รวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะตนเองอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อทุกคนในแวดวงการศึกษา ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ทางออนไลน์ดีขึ้นกว่าเดิม "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นและส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality Education) ซึ่งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในครั้งนี้เป็นประโยชน์และส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อนี้เป็นอย่างยยิ่ง" ศ.ดร.ปาริชาต กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาฯร่วมถอดบทเรียนความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทิศทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว