ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรมเส้นใยสับปะรดบำบัดน้ำเสียจากโรงงานช่วยโลกพ้นวิกฤติมลพิษ

พฤหัส ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๑๓:๓๖
สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าส่งออกเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย นอกจากส่วนใหญ่นิยมนำเนื้อสับปะรดมารับประทานแล้วยังพบว่าทุกส่วนของสับปะรดยังสามารถนำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้อีกมากมาย รวมทั้งเพื่อสิ่งแวดล้อม
ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรมเส้นใยสับปะรดบำบัดน้ำเสียจากโรงงานช่วยโลกพ้นวิกฤติมลพิษ

รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือนักวิทยาศาสตร์ไทยผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาอย่างยาวนานด้านการสร้างนวัตกรรมโดยใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของสับปะรด แม้กระทั่งในส่วนที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมหาศาลจากภาคเกษตรกรรม ก็สามารถนำมาแปรเปลี่ยนให้เกิดมูลค่าสูงต่อไปได้ในภาคอุตสาหกรรม

ผลงานนวัตกรรมชิ้นล่าสุดของ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัยอมรศักดิ์ชัย เกิดจากการค้นพบว่า ใบสับปะรดสามารถนำมาใช้ช่วยโลกพ้นวิกฤติมลพิษ จากการนำเส้นใยจากใบสับปะรดที่เป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรไปใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงาน

โดยใช้กระบวนการตรึงพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งลงบนเส้นใยจากใบสับปะรด เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการดักจับโลหะหนักให้กับวัสดุจากธรรมชาติดังกล่าว

จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการกับตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์พบว่าเมื่อผ่านการกรองด้วยเส้นใยสับปะรดตรึงสารพอลิเมอร์ชนิดพิเศษดังกล่าวแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

โดยสามารถลดการปนเปื้อนของสารตะกั่ว คอปเปอร์ เหล็กและนิกเกิล ได้อย่างเห็นได้ชัด และมีแนวโน้มว่าจะสามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ต่อไปได้

จึงได้ร่วมกับทีมสตาร์ทอัพ "TEAnity" ซึ่งเป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทำความฝันที่จะเห็นการต่อยอดผลงานวิจัยดังกล่าวสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างได้เป็นจริง

ปัจจุบันนวัตกรรมเส้นใยสับปะรดบำบัดน้ำเสียกำลังอยู่ระหว่างเสริมแกร่งศักยภาพให้พร้อมนำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะต้องจัดการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานจำนวนนับพันลิตรขึ้นไปจึงต้องทำให้มั่นใจได้ว่าไม่ติดปัญหาในเรื่องปริมาณ และเวลา จึงจะสามารถ scale up สู่ระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้

รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย มองว่า ผลวิจัยส่วนใหญ่ที่ยังไปไม่ถึงฝั่งฝันของการใช้งานจริง เนื่องจากนักวิจัยไม่ได้ตั้งเป้าหมายสำหรับการใช้พัฒนาเพื่อการใช้งานจริงแต่เป็นเพียงการศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เท่านั้น หรืออาจจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคหลายอย่าง ที่ต้องอาศัยทั้งความพยายาม ความอดทน และต้องมีจังหวะเวลาที่เหมาะสม จึงอาจล้มเลิกความตั้งใจไปก่อน

และอีกหนึ่งอุปสรรคในการนำผลงานวิจัยไปใช้จริง คือ ยังคงมีการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ค่อนข้างน้อย หรือหากมีการสนับสนุนก็ยังมีข้อจำกัดที่มากมาย นอกจากนี้แล้ว ทักษะด้านการจัดการ และการนำเสนอในมุมธุรกิจก็มีความสำคัญซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านนี้

ผลงานนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการเติมเต็มข้อจำกัดที่ว่านี้ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ที่คอยให้คำปรึกษา และประสานการดำเนินการสู่เชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับนอกจากการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้กับประเทศแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปอีกด้วย

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๑๖:๑๔ เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๑๖:๕๘ ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๑๖:๓๕ หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๑๖:๓๘ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๑๖:๓๖ YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๑๖:๕๗ คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๑๖:๔๒ กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๑๕:๒๒ ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๑๕:๐๖ PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น