เตือนชาวสวนลำไยช่วงติดผลให้ระวังหนอนเจาะขั้วผลและราน้ำฝนทำลายผลผลิต

อังคาร ๐๙ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๑๗:๐๘
เตือนชาวสวนลำไยช่วงติดผลให้ระวังหนอนเจาะขั้วผลและราน้ำฝนทำลายผลผลิต
เตือนชาวสวนลำไยช่วงติดผลให้ระวังหนอนเจาะขั้วผลและราน้ำฝนทำลายผลผลิต

นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ลำไยอยู่ในช่วงติดผลขอให้ชาวสวนลำไยเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนเจาะขั้วผล โดยหนอนจะเริ่มเข้าทำลายเมื่อลำไยเริ่มติดผลได้ประมาณ 1 เดือนจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ขณะผลลำไยยังมีขนาดเล็กน้ำหนักช่อน้อย ช่อผลลำไยอยู่ในสภาพชูขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่อยู่ส่วนปลายของผลลำไย เมื่อหนอนฟักออกจากไข่ก็จะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในผล มองดูภายนอกไม่เห็นรอยทำลาย เมื่อผ่าดูจึงเห็นรอยที่ถูกหนอนทำลาย ทำให้ผลที่ถูกทำลายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ผลที่ถูกทำลายจึงร่วงหล่นหมด และในขณะที่ผลลำไยมีขนาดโตขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่อผลโค้งลง ผีเสื้อจะมาวางไข่อยู่บริเวณใกล้ขั้ว ดังนั้นจึงพบหนอนหรือมูลหนอนอยู่ที่ขั้วผลเสมอ ทำให้ผลที่ถูกทำลายในช่วงนี้ร่วงหล่นได้ง่าย โดยมองจากภายนอกไม่เห็นรอยทำลายแต่ถ้าสังเกตดูให้ดีบริเวณใกล้ขั้วอาจพบรูเล็ก ๆ ปรากฏอยู่ ซึ่งเป็นรูที่หนอนเจาะออกมาเข้าดักแด้ภายนอก

การป้องกันกำจัดหนอนเจาะขั้วผล ให้รวบรวมผลลำไยที่ร่วงหล่นบริเวณโคนต้น จากการทำลายของหนอนเจาะขั้วผล นำไปทำลายนอกแปลงปลูก พร้อมกับเก็บรวบรวมดักแด้ของหนอนเจาะขั้วผลบนใบ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนแล้วนำไปทำลาย หากมีการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลรุนแรง พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กล่าวว่า นอกจากนี้ผลผลิตลำไยยังอาจถูกทำลายจากโรคใบไหม้ ผลเน่า โรคราน้ำฝน โดยให้เกษตรกรสังเกตอาการที่ใบ กิ่ง และยอด ใบอ่อน กิ่งอ่อน และยอดอ่อนมีอาการไหม้สีน้ำตาลเข้ม มักพบเส้นใย สีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคขึ้นปกคลุม ต่อมาส่วนที่เป็นโรคจะแห้งอย่างรวดเร็ว หากโรคระบาดรุนแรง จะทำให้ใบและยอดไหม้ทั้งต้น ส่วนอาการที่ผล เปลือกของผลและขั้วผลมีสีน้ำตาลเข้ม ในระยะที่ผลยังแก่ไม่เต็มที่ผลจะแตก และเน่า มักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคขึ้นฟูคลุม และผลร่วงในที่สุด

แนวทางในการป้องกันกำจัดแนะนำให้หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง หากพบโรค ตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น นำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 68% WG อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน โดยพ่นให้ทั่วทั้งต้น และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต อย่างน้อย 15 วัน ทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ตัดส่วนของพืชที่เป็นโรคทุกครั้ง ก่อนนำไปใช้กับส่วนของพืชปกติหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีและแสงแดดส่องถึง เป็นการลดความชื้น ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๑ อายุน้อยก็เสี่ยงนะ! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young
๐๘:๒๕ เกิร์ลกรุ๊ปสาว DE GIFT' (เดอ กิฟท์) ปังเกินเบอร์!!!! เตรียมปล่อยของโชว์ Performance เวที Dalat Best Dance Crew 2024
๐๘:๓๘ ทรีตเมนต์ยกกระชับผิวหน้า
๐๘:๒๑ โค้งสุดท้ายหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหารรุ่นแรก เผยชุด 2 มีบิ๊กเนมสนใจเพียบทั้งอดีต รมต.และ สว.
๐๘:๐๙ DEK SPU โชว์สกิล! คว้ารางวัล SPU TikTok Challenge 2024
๐๘:๑๔ แพ็กเกจห้องประชุม สัมมนาใจกลางกรุงเทพฯ ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี
๐๘:๔๖ มารู้จักอาจารย์ของแพทย์ คุณหมอหนุ่ม - อาจารย์นายแพทย์ รัสมิ์ภูมิ สุเมธีวิทย์
๐๘:๒๖ ร่วมวางพวงมาลาวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๐๘:๓๕ กทม. ประสาน กฟน. เร่งแก้ไขฝาบ่อพักท่อชำรุดเชิงสะพานข้ามแยกเสนานิคม
๐๘:๓๒ ก.แรงงานหนุนจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 67 พร้อมเปิดพื้นที่รับฟังข้อเรียกร้อง ย้ำแรงงานเป็นกำลังผลักดันเศรษฐกิจสังคมไทย