"WHAUP" โชว์กำไรปกติไตรมาส 2/2565 โต 280% QoQ จ่อลุย น้ำ-ไฟฟ้า ขยายธุรกิจครึ่งปีหลัง

พฤหัส ๑๑ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๐๔
บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ("WHAUP") โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2565 มีรายได้และส่วนแบ่งกำไรปกติ 837 ล้านบาท และกำไรปกติ 264 ล้านบาท รับดีมานด์การใช้น้ำ-ไฟฟ้าพุ่ง ด้าน CEO "สมเกียรติ เมสันธสุวรรณ" ลุยขยายการลงทุนธุรกิจสาธารณูปโภค(น้ำ) - ธุรกิจไฟฟ้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จ่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ดันผลการดำเนินงานเติบโตตามเป้าที่วางไว้
WHAUP โชว์กำไรปกติไตรมาส 2/2565 โต 280% QoQ จ่อลุย น้ำ-ไฟฟ้า ขยายธุรกิจครึ่งปีหลัง

บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ("WHAUP") แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2/2565 ว่า บริษัทฯ รับรู้รายได้และส่วนแบ่งกำไรปกติ จำนวน 837 ล้านบาท และมีกำไรปกติ (Normalized Net Profit) 264 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 280% จากไตรมาส 1/2565 โดยการเพิ่มขึ้นของกำไรปกติเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามีสาเหตุหลักจากส่วนแบ่งกำไรปกติจากธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ปริมาณยอดขายและบริหารจัดการน้ำทั้งในและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น และการรับรู้รายได้จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามกำไรปกติในไตรมาส 2/2565 ลดลงเล็กน้อย 1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2564 ในขณะที่ในส่วนของกำไรสุทธิในไตรมาส 2/2565 มีจำนวน 205 ล้านบาท ลดลง 17% จากไตรมาส 2/2564 เนื่องจากผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยน

สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้และส่วนแบ่งกำไรปกติ จำนวน 1,445 ล้านบาท ลดลง 8% และมีกำไรปกติ จำนวน 333 ล้านบาท ลดลง 27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มีกำไรสุทธิจำนวน 283 ล้านบาท ลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ("WHAUP") เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจสาธารณูปโภค ในไตรมาส 2/2565 บริษัทฯ มีปริมาณการจำหน่ายและบริหารน้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกันเท่ากับ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 12% จากไตรมาส 2/2564 ในขณะที่งวด 6 เดือนแรกของปี 2565 มียอดจำหน่ายน้ำและบริหารน้ำรวมทั้งในประเทศและต่างประเทศเท่ากับ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร เติบโต 12% เนื่องจากความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นจากธุรกิจในประเทศ ทั้งจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีการขยายกำลังการผลิต และลูกค้ารายใหม่จากกลุ่มโรงไฟฟ้าและกลุ่มปิโตรเคมี ในขณะที่ภาพรวมความต้องการใช้น้ำมูลค่าเพิ่ม (Value added product) ไม่ว่าจะเป็นน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) และน้ำอุตสาหกรรมคุณภาพสูง (Premium Clarified Water) นั้นยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ ในครึ่งหลังของปี 2565 จะมีโครงการที่จะทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการซื้อขายน้ำอุตสาหกรรมคุณภาพสูงกับ Gulf TS3&4 กำลังการผลิต 1.4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งมีกำหนดการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในช่วงไตรมาส 3/2565 นี้ และโครงการซื้อขายน้ำปราศจากแร่ธาตุ กับ บริษัท พูแรค (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีกำลังการผลิตกว่า 790,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายน้ำได้ในไตรมาส 4/2565

ขณะที่ธุรกิจน้ำในประเทศเวียดนามก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากโครงการ ดวง ริเวอร์ เซอร์เฟส วอเตอร์แพลนท์ (Duong River Surface Water Plant: SDWTP) และบริษัท เก๋อ หล่อ วอเตอร์ ซัพพลาย (Cua Lo Water Supply) โดยในไตรมาส 2/2565 บริษัทฯ มียอดจำหน่ายน้ำรวมเท่ากับ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร เติบโต 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 มียอดจำหน่ายน้ำรวมเท่ากับ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร เติบโต 22% เนื่องจากความต้องการใช้น้ำที่ทยอยเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเวียดนามหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

ธุรกิจพลังงาน ในไตรมาส 2/2565 บริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไรปกติจากธุรกิจไฟฟ้า จำนวน 247 ล้านบาท ลดลง 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2564 อันเป็นผลมาจากต้นทุนเชื้อเพลิงในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ค่า Ft ที่ปรับขึ้นในเดือน พ.ค.ยังไม่สะท้อนการเพิ่มของต้นทุนดังกล่าวทั้งหมด ทำให้ margin จากการขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมลดลง รวมถึงการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าถ่านหินเก็คโค่-วัน จำนวน 14 วัน อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งกำไรปกติจากธุรกิจไฟฟ้าในไตรมาส 2/2565 ปรับตัวดีขึ้น 467% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลจากต้นทุนเชื้อเพลิงในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่ปรับตัวลดลงในไตรมาส 2 รวมถึงการปรับขึ้นค่า Ft ขึ้นสำหรับช่วงเดือน พ.ค.- ส.ค. 2565 และผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเก็คโค่-วัน อย่างไรก็ตามสำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 นั้น บริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไรปกติจากธุรกิจไฟฟ้าจำนวน 290 ล้านบาท ลดลง 35%

ในส่วนของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) นั้น บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายการลงทุนทั้งในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้พอร์ตเติบโตต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 2/2565 บริษัทฯ มีการเติบโตของรายได้จากธุรกิจ Private PPA กว่า 38% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เปิดดำเนินการแล้วกว่า 60 เมกะวัตต์ ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 2/2565 บริษัทฯ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์รวมแล้ว ทั้งสิ้น 125 เมกะวัตต์ ส่งผลให้มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยรวมทั้งหมดจากโรงไฟฟ้าทุกประเภท (Contracted Capacity) ตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมแตะที่ระดับ 676 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าต่อยอดธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มพลังงานอัจฉริยะ เพื่อซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในกลุ่มลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ หรือ ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-Peer Energy Trading

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "WHAUP" ยังได้กล่าวตอกย้ำถึงภาพรวมการขยายธุรกิจในครึ่งหลังของปี 2565 ว่า บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภค (น้ำ) และธุรกิจไฟฟ้าใหม่ๆ โดยเฉพาะ ในต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนการลงทุน (M&A) ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และโครงการประเภท Green Field โดยการนำโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศไปต่อยอดการลงทุนต่อไป เพื่อผลักดันให้บริษัทฯ มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างมีนัยสำคัญ และมั่นคงควบคู่ไปพร้อมกับดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป

"บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า ครึ่งหลังของปีนี้ธุรกิจยังมีการเติบคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตาม Demand ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย กอปรกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว รวมถึงนโยบายการขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล เป็นการส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลเชิงบวกต่อ WHAUP ในฐานะผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมฯ ในส่วนของ Solar Rooftop มีแนวโน้มเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้ายอดเซ็นสัญญาซื้อขายสะสมที่ 150 เมกะวัตต์ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ในปีนี้ ในขณะที่หากมีการปรับเพิ่มค่า Ft ตามที่ กกพ. ได้ประกาศออกมา อีก 68.66 สตางค์สำหรับรอบเดือน ก.ย. - ธ.ค. 65 ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน"

นอกจากนี้ในไตรมาส2 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการเสนอขายหุ้นกู้มูลค่ารวม 2,800 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) จำนวน 1,800 ล้านบาท สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อพื้นฐานธุรกิจ ความแข็งแกร่งทางการเงิน ตลอดจนศักยภาพการเติบโตของบริษัทฯ รวมทั้งยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มาโดยตลอด

ที่มา: มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐ พ.ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาคร
๑๐ พ.ค. ทีทีบี มุ่งจุดประกายการ ให้ คืนสู่สังคม ผ่านงาน The Hall of Giving ปี 2567 ชูกิจกรรมอาสา Upcycle สร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
๑๐ พ.ค. มบส.ปลื้มคนแห่ร่วมงานเทศกาลดนตรียิ่งใหญ่ ฝั่งธนเฟส 2คับคั่ง ชี้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
๑๐ พ.ค. คู่รักห้ามพลาด! สุดยอดมหกรรมเวดดิ้งแฟร์แห่งปี SabuyWedding Festival 2024 ชวนช้อปสบาย ครบ จบ ไม่ฮาร์ดเซลล์ วันที่ 25 - 26 พฤษภาคมนี้ ที่รอยัล พารากอน
๑๐ พ.ค. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 41 นครพนม จัดพิธีมอบชุดเครื่องมือทำมาหากิน ให้กลุ่มแม่บ้านตำบลพะทาย
๑๐ พ.ค. เชื่อมโยงการใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ด้วย WASABI SERIES ดีไซน์จากแนวคิด City / Art / Craft / Earth สู่ Eco Living
๑๐ พ.ค. บ้านหมอละออง กรุ๊ป จัด โครงการยาเพื่อนยาก ครั้งที่ 14 เฉพาะกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยพายุฤดูร้อน จ.นครสวรรค์
๑๐ พ.ค. พาราไดซ์ พาร์ค ผนึก กรุงเทพมหานคร ร่วมสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในงานตลาดนัดชุมชน BKK
๑๐ พ.ค. บทสรุปงานมหกรรมฟินเทคสุดยิ่งใหญ่ของเอเชีย Money20/20 Asia ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ
๑๐ พ.ค. เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนช้อปสินค้าเกษตรแปรรูปคุณภาพดี กับ งาน ไร่ข้าวโพด มหาสนุก ตั้งแต่ 16-22