13 ปี ของ "เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ" บันไดสู่ความสำเร็จบนเวทีระดับโลก

พุธ ๒๑ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๐:๔๑
นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันกอล์ฟรายการ "เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ" หรือ "เอเอซี" ขึ้นครั้งแรกในปี 2009 รายการนี้กลายเป็นบันไดสู่ความสำเร็จให้กับเหล่านักกอล์ฟที่เข้าร่วมชิงชัย และในเดือนตุลาคมนี้บรรดานักกอล์ฟสมัครเล่นหน้าใหม่ต่างหวังสร้างชื่อในรายการนี้ที่จะจัดขึ้น ณ สนามอมตะ สปริง คันทรีคลับ ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2565 และเดินตามรอยโปรกอล์ฟระดับชั้นนำที่เคยผ่านเวทีแห่งนี้มาก่อน
13 ปี ของ เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ บันไดสู่ความสำเร็จบนเวทีระดับโลก

นักกอล์ฟที่ผ่านสังเวียนการแข่งขันรายการนี้แล้วก้าวขึ้นไปประสบความสำเร็จในเวทีระดับโลก ทำผลงานคว้าแชมป์เมเจอร์ 2 คน รวมถึงการคว้าแชมป์พีจีเอทัวร์, ดีพี เวิลด์ทัวร์ หรือยูโรเปี้ยน ทัวร์, เอเชียนทัวร์ และเจแปนกอล์ฟทัวร์ รวมทั้งสิ้น 102 รายการ และมี 5 คนที่ผงาดครองอันดับหนึ่งนักกอล์ฟสมัครเล่นโลก และ 11 คน ขยับขึ้นไปติดในท็อป 50 ในการจัดอันดับโลกนักกอล์ฟชาย

โดยนับตั้งสมัยของ ปีเตอร์ ธอมป์สัน นักกอล์ฟชาวออสเตรเลีย และ อิซาโอะ อาโอกิ จากญี่ปุ่น ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กลายเป็นแหล่งผลิตนักกอล์ฟฝีมือดีอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้เล่นส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จช้า หรือไม่ก็ไม่อยากเสี่ยงไปผจญภัยนอกภูมิภาค ซึ่งมักเกิดจากการขาดเวทีการแข่งขันในการพัฒนาฝีมือ

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเวทีระดับสมัครเล่นของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เกิดขึ้นในปี 2009 เมื่อมีการแข่งขันกอล์ฟรายการ เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ภายใต้ความร่วมมือของมาสเตอร์ส ทัวร์นาเมนท์, อาร์แอนด์เอ และสมาพันธ์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก (เอพีจีซี)

การมาของเอเอซี ทำให้การลงเล่นในระดับเมเจอร์อย่าง เดอะ มาสเตอร์ส และดิ โอเพ่น ที่เคยเป็นเพียงแค่ความฝัน กลายเป็นจริงได้ และช่วยให้นักกอล์ฟสมัครเล่นมีโอกาสร่วมแข่งขันในรายการระดับแชมเปี้ยนชิพที่ดึงดูดความสนใจจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานกอล์ฟ จากแฟนๆ รวมถึงสื่อมวลชน และโค้ชระดับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลก

ราชิด ข่าน นักกอล์ฟจากอินเดีย เป็นหนึ่งในนักกอล์ฟที่ผ่านมาเวทีการแข่งขัน เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ และมาประสบความสำเร็จคว้าแชมป์เอเชียนทัวร์และแชมป์ระดับอาชีพของอินเดียหลายการ โดยเจ้าตัวเล่าย้อนถึงความประทับใจในการร่วมแข่งขันรายการเอเอซีครั้งแรก ณ สนามมิสชั่นฮิลส์ กอล์ฟ คลับ เมืองเสินเจิ้น ประเทศจีน ว่า "ตอนนั้นพวกเรากลุ่มนักกอล์ฟสมัครเล่นตื่นเต้นกันมากก่อนถึงทัวร์นาเมนท์ เราแทบรอไม่ไหวที่จะได้ลงเล่นในรายการของออกัสต้า เนชั่นแนล กอล์ฟ คลับ และอาร์แอนด์เอ รวมถึงโอกาสที่จะได้ลงเล่นในระดับเมเจอร์อย่าง รายการ เดอะ มาสเตอร์ส พวกเราคาดหวังกันมาก เมื่อเดินไปถึงสนาม ทุกอย่างน่าทึ่งมาก ตั้งแต่การเตรียมพร้อม การดูแลนักกอล์ฟ ทุกอย่างดำเนินการแบบมืออาชีพและมีมาตรฐานสูงมาก เป็นประสบการณ์ที่พวกเราไม่เคยสัมผัสมาก่อนเลย และเราอยากได้รับประสบการณ์ดีๆ แบบนี้มากยิ่งขึ้น"

ช่วงปลายยุค 2000s ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นักกอล์ฟจากภูมิภาคนี้เริ่มสร้างชื่อในเวทีระดับโลกเพิ่มมากขึ้น โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จมากมายรวมถึงการคว้าแชมป์ระดับนานาชาติ ขณะที่การแข่งขันในรายการเอเอซี ก็สร้างแรงบันดาลใจและความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นให้กับนักกอล์ฟ

หลังจากเริ่มจัดการแข่งขันไม่นาน กอล์ฟรายการเอเอซี ก็ค้นพบดาวดวงใหม่คนแรกนั่นคือ ฮิเดกิ มัตซึยาม่า นักกอล์ฟจากญี่ปุ่นคว้าแชมป์ 2 สมัยติดต่อกันในปี 2010 และ 2010 ก่อนขึ้นครองมือ 1 นักกอล์ฟสมัครเล่นโลก การได้แชมป์ในปี 2010 ทำให้มัตซึยาม่า ได้สิทธิ์รับเชิญร่วมแข่งขันกอล์ฟเมเจอร์รายการ เดอะ มาสเตอร์ส ปี 2011 และเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่นที่ทำสกอร์ดีที่สุด หลังจากนั้นไม่นานเขาก็คว้าแชมป์ระดับอาชีพในเจแปนกอล์ฟทัวร์ขณะที่ยังเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น และมาประสบความสำเร็จในเวทีระดับโลกคว้าแชมป์พีจีเอทัวร์ 7 รายการ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการชนะเลิศรายการเดอะ มาสเตอร์ส ปี 2021 กลายเป็นนักกอล์ฟจากเอเชียคนแรกที่ได้สวมเสื้อ กรีน แจ็กเก็ต

มัตซึยาม่า ฮีโร่ของนักกอล์ฟดาวรุ่งชาวญี่ปุ่น กล่าวว่า "ผมคงไม่ได้ลงเล่นในเดอะ มาสเตอร์ส หากปราศจากการแข่งขันกอล์ฟ เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ผมรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถทำสถิติคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ในปี 2012 ในการแข่งขันที่สนามอมตะ สปริง คันทรีคลับ แต่ความผิดหวังครั้งนั้นกลายเป็นแรงผลักดันให้ผมตัดสินใจเทิร์นโปรลงเล่นระดับอาชีพในปีต่อมา"

หลังจากมัตซึยาม่า คว้าแชมป์เดอะ มาสเตอร์ส ไม่ถึง 15 เดือน คาเมรอน สมิธ จากออสเตรเลีย นักกอล์ฟที่เคยผ่านเวทีการแข่งขันเอเอซี ก็มาสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับประเทศบ้านเกิด กลายเป็นแชมป์เมเจอร์อีกคน จากฟอร์มการเล่นที่ยอดเยี่ยมใน 9 หลุมหลังของการแข่งขันรอบสุดท้ายในวันอาทิตย์ นำไปสู่การคว้าแชมป์ดิ โอเพ่น ครั้งที่ 150 ณ สนามเซนต์ แอนดรูวส์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

โดยในปี 2011 สมิธ ร่วมแข่งขันกอล์ฟเอเอซี เป็นครั้งแรก และจบอันดับ 4 ตามหลังมัตซึยาม่า เจ้าของตำแหน่งแชมป์ ซึ่งเล่นรอบสุดท้ายก๊วนเดียวกัน 3 สโตรก ส่วนในการแข่งขันปี 2012 ที่สนามอมตะ สปริง คันทรีคลับ นักกอล์ฟออสซี่เข้าป้ายอันดับ 7 ร่วม

แชมป์ดิ โอเพน คนล่าสุด เล่าย้อนถึงการแข่งขันกอล์ฟเอเอซี ว่า "ผมยังจำได้ดีตอนที่ร่วมแข่งขันกอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ครั้งแรก ผมลงเล่นกลุ่มสุดท้ายกับฮิเดกิ และเขาก็ปิดฉากทัวร์นาเมนท์ด้วยการคว้าแชมป์ เขาเป็นคนแรกที่ผมเล่นด้วยแล้วคิดว่าเขาคือนักกอล์ฟที่ดีที่สุดในโลก มีความทรงจำดีๆมากมายในการแข่งขันครั้งนั้น"

สำหรับนักกอล์ฟที่เข้าป้ายคว้าแชมป์เหนือสองซูเปอร์สตาร์อย่าง มัตซึยาม่าและสมิธ ในการแข่งขันกอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ปี 2012 คือ กวน เทียน หลาง วัย 14 ปี จากจีน และกลายเป็นนักกอล์ฟอายุน้อยที่สุดที่ผ่านตัดตัวในการแข่งขันกอล์ฟเดอะ มาสเตอร์ส ที่ออกัสต้า เนชั่นแนล กอล์ฟ คลับ เดือนเมษายนปีถัดไป แม้โดนลงโทษปรับแต้ม 1 สโตรก

ในปี 2021 มีศิษย์เก่าจากเวทีการแข่งขันกอล์ฟเอเอซี 3 ราย คว้าแชมป์ในเวทีพีจีเอทัวร์เริ่มจาก ลี คัง-ฮุน จากเกาหลีใต้ ชนะเลิศรายการเอที แอนด์ ที ไบรอน เนลสัน, คาเมรอน เดวิส จากออสเตรเลีย ในรายการร็อคเก็ต มอร์ทเกจ คลาสสิค และลูคัส เฮอร์เบิร์ต โปรกอล์ฟออสเตรเลีย ได้แชมป์รายการเบอร์มิวด้า แชมเปี้ยนชิพ โดยในรายของ ลี คัง-ฮุน และคาเมรอน เดวิส ยังติดทีมนานาชาติร่วมแข่งขันกอล์ฟเพรสซิเดนท์ส คัพ ครั้งแรกในเดือนนี้ พร้อมด้วย มัตซึยาม่า และซี วู คิม ซึ่งผ่านเวทีกอล์ฟเอเอซีมาเช่นกัน

ด้านเฉิง ซุง ปัน หรือ ซี.ที. ปัน จากไต้หวัน รองแชมป์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ปี 2012 และไปคว้าแชมป์พีจีเอทัวร์ รวมถึงเหรียญทองแดงในมหากรรมกีฬาโอลิมปิกส์ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า "การแข่งขันกอล์ฟเอเอซี ช่วยให้ผมเติบโตและยืนระยะได้ยาว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมลงเล่นในเวทีพีจีเอทัวร์ได้อย่างแข็งแกร่งในขณะนี้ ขณะเดียวกันกอล์ฟเอเอซี ยังเป็นทัวร์นาเมนท์สมัครเล่นที่ทรงอิทธิพลที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผมมีความสุขมากที่ได้เห็นนักกอล์ฟรุ่นใหม่ได้รับโอกาสลงเล่นและโชว์ฝีมือในเวทีใหญ่"

ทั้งนี้ มัตซึยาม่าและสมิธ ต่างเคยขยับขึ้นรั้งมือ 2 ของโลก มีนักกอล์ฟ 5 รายประกอบด้วย มัตซึยาม่า, ทาคูมิ คานาย่า, เคตะ นากาจิม่า, เคอร์ติส ลัคและชุน อัน ยู ที่ขึ้นครองมือหนึ่งนักกอล์ฟสมัครเล่นโลกหลังจากร่วมแข่งขันกอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ที.ซี.ปัน ก็เคยครองมือหนึ่งสมัครเล่นโลกในช่วงหนึ่งก่อนลงแข่งในรายการเอเอซี

ความสำเร็จในเวทีระดับโลกของนักกอล์ฟที่เคยผ่านเวทีเอเอซีตามที่กล่าวมา จะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับนักกอล์ฟสมัครเล่นที่เตรียมร่วมชิงชัยในการแข่งขันกอล์ฟ เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ 2022 ที่สนามอมตะ สปริง คันทรีคลับ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคมนี้

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและข้อมูลของการแข่งขันกอล์ฟเอเอซี ได้ที่ AACgolf.com.

ที่มา: เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ

13 ปี ของ เอเชีย-แปซิฟิก อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ บันไดสู่ความสำเร็จบนเวทีระดับโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง