ดีลอยท์ เผยรายงานฉบับใหม่ นำเสนอความมุ่งมั่นด้านการจัดการด้านความยั่งยืน ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พฤหัส ๒๙ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๖:๐๗
ดีลอยท์ เผยรายงานฉบับใหม่ในหัวข้อ "ความมุ่งมั่นในการจัดการด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2565" นำเสนอความท้าทายในการจัดการด้านความยั่งยืนที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญอยู่ และความมุ่งมั่นของภาครัฐเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านั้น เพื่อให้ภูมิภาคนี้ได้แสดงศักยภาพในทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ากุญแจสำคัญในพัฒนาการจัดการด้านความยั่งยืนคือการส่งเสริมให้แต่ละประเทศร่วมมือกันในระดับภูมิภาคและส่งเสริมภาครัฐสร้างพันธมิตรใหม่ๆ ที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรในประเทศและองค์กรระดับนานาชาติ
ดีลอยท์ เผยรายงานฉบับใหม่ นำเสนอความมุ่งมั่นด้านการจัดการด้านความยั่งยืน ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Deloitte Center for the Edge และสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council) มุ่งให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงลึกของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนห้าด้านสำคัญ ที่คัดเลือกโดยสมาชิกสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน ได้แก่ พลังงานและสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำ ของเสียและความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยข้อมูลเชิงลึกดังกล่าวสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลแบบครบวงจรสำหรับบริษัทต่างชาติและนักลงทุนในการระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่อาจส่งผลกระทบมากที่สุด

รายงานดังกล่าวแสดงภาพรวมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียดจาก 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ภาพรวมการจัดการด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความคืบหน้าในการจัดการความยั่งยืนในปัจจุบันของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการวิเคราะห์ในรายงานตามระเบียบวิธีวิจัย มีการให้คะแนนตามผลงานของแต่ละประเทศ เป็นไปตามดัชนีที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป้าหมายและพันธสัญญาของประเทศต่างๆ จะถูกนำมาประเมินกับเป้าหมายที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการจัดการความยั่งยืนของประเทศต่างๆ

การดำเนินการตามเป้าหมายเหล่านี้ให้ประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการดำเนินการ 5 ประการที่ระบุไว้ในรายงาน ดังต่อไปนี้

  • มีกลไกการติดตามและบังคับใช้หรือไม่
  • ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเปราะบาง (ผู้หญิง เด็ก ชนกลุ่มน้อย ผู้มีรายได้น้อย) หรือไม่
  • การพัฒนาเป็นการวางแผนโดยยึดหลักฐานเป็นหลักหรือไม่
  • มีการลงทุนหรือจัดสรรงบประมาณตามเป้าหมายหรือไม่
  • มีความพยายามสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่

ในด้านพลังงานและสภาพอากาศ ภูมิภาคนี้ดำเนินการได้ดีเพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอสำหรับประชากร 660 ล้านคน โดยประเทศต่างๆ ได้ 4 หรือ 5 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน อย่างไรก็ตาม การรักษาสิ่งนี้ไว้ในขณะที่ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองทศวรรษข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ดำเนินการตามเป้าหมายการลดคาร์บอนอีกด้วย ถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ

ภูมิภาคนี้มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสี่แห่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างเร่งด่วนเพื่อมองหาแนวทางการเติบโตที่ยั่งยืนโดยไม่สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าความคืบหน้าในปัจจุบันและเป้าหมายของประเทศที่มีการวิเคราะห์ในแง่ของการอนุรักษ์มหาสมุทร ระบบนิเวศบนบก และป่าไม้ ไม่เชื่อมโยงกันอีกด้วย

การจัดการทรัพยากรน้ำและของเสียยังคงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับบางประเทศ อย่างไรก็ตาม เศษอาหารเป็นปัญหาใหม่ซึ่งรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคเพิ่งจะเริ่มสามารถจัดการได้อย่างมีเป้าหมายมากขึ้น

ในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ มีความคืบหน้าอย่างมากในการยุติการเลือกปฏิบัติ ความรุนแรง และการกระทำที่เป็นอันตรายทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการในด้านการให้โอกาสที่เท่าเทียมกันและการส่งเสริมด้านการศึกษา สุขภาพ และเศรษฐกิจมากขึ้น แม้ว่าบทบาทในการเป็นตัวแทนทางการเมืองจะยังมีความคืบหน้าในระดับต่ำ

"ในฐานะที่ทวีปเอเชียเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคชั้นนำและเป็นแหล่งลงทุนโดยตรงของสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุด บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ จึงลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การจัดการของเสีย การส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิง และการสนับสนุนโครงการริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน เมื่อพวกเขาขยายกิจการเชิงพาณิชย์ในภูมิภาคที่มีการแข่งขันที่สูงนี้" มร. มาร์ค มีลลีย์ Senior Vice President-Policy สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน

มร. ดุลีชา กุลสุรียา กรรมการผู้จัดการ Center for the Edge Deloitte Southeast Asia กล่าวเสริมว่า "ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องมาจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่กำลังพัฒนา มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม มีโอกาสมากมายที่จะจัดการกับความท้าทายที่หลากหลายของภูมิภาคนี้ หากรัฐบาลอาเซียนดำเนินการตามพันธสัญญาด้านสภาพอากาศอย่างเด็ดขาด ร่วมมือกับภาคเอกชน และขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน พวกเขาสามารถขับเคลื่อนกลไกใหม่ของการเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ข้อมูลเชิงลึกสำหรับประเทศไทย

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green ทำให้ประเทศไทยมีผลการดำเนินงานที่ดีในการจัดการความยั่งยืนทั้ง 5 ด้าน

การขยายเขตเมืองในประเทศไทยส่วนใหญ่นำโดยเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 ของเขตเมืองทั้งหมดในประเทศ ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และประเทศไทยเองมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ทำให้ประเทศไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางธุรกิจเชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสะอาดอีกด้วย

ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่ครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้ง 17 ข้อ และยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยยังมีส่วนร่วมในรายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2564 ระดับชาติโดยสมัครใจ (2021 Voluntary National Review on Sustainable Development) ซึ่งยืนยันว่าประเทศไทยมีการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน นอกจากนี้แนวโน้มการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศจะขึ้นอยู่กับ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งดำเนินการทั้งในทางปฏิบัติ นโยบาย และอุตสาหกรรม

ในปัจจุบัน การขยายเขตเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยท้าทายสำหรับการพัฒนาประเทศ ในปี พ.ศ.2563 ประชากรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ในเขตเมือง และประเทศไทยกำลังเผชิญกับอัตราการขยายเขตเมืองที่ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีสัดส่วนของประชากรจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท และความท้าทายอื่นๆ ยังไม่ได้รับการจัดการ เช่น การจัดหาน้ำเพื่อให้บริการในพื้นที่ และการจัดการของเสียในเขตเทศบาลอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังทำให้เกิดสภาพอากาศที่แปรปรวนรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ความท้าทายดังกล่าวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

การเพิ่มขีดความสามารถให้กับกำลังแรงงานเป็นสิ่งสำคัญในขณะที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลไทยเรียกว่า 'Thailand 4.0' การเข้าถึงโอกาสในการจ้างงานที่ดีขึ้นและการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมของผู้หญิงที่เป็นกำลังแรงงาน ซึ่งอยู่ที่ 59 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564 การเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันทั้งสังคมนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามนโยบายที่มีเป้าหมายเพื่อกระจายทรัพยากรสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่สำคัญและมีหลายแง่มุม ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำ ของเสีย และความเท่าเทียมทางเพศ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้อาเซียนรับมือกับความท้าทายเหล่านี้" มร. ดรูว์ แฮสสัน ผู้อำนวยการ (ความยั่งยืน) สภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน กล่าว

นายกษิติ เกตุสุริยงค์ Sustainability & Climate Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า "โมเดล Bio-Circular-Green Economy (BCG) ของประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เราเริ่มเห็นการริเริ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อขับเคลื่อนวาระ BCG ไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แต่เราจำเป็นต้องมีการลงทุนมากขึ้นและระบบนิเวศที่เข้มแข็งขึ้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการตามแนวทางการลดคาร์บอนของเราเป็นไปตามเป้าหมาย

เพื่อให้สอดคล้องกับโมเดล BCG และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล สำรวจทางเลือกการประเมินค่าเศษอาหารให้มีมูลค่าสูงขึ้น และขยายเครือข่ายน้ำเสียผ่านโครงการสาธารณูปโภคและขีดความสามารถทางเทคนิคของอาคาร ดังนั้นจึงมีโอกาสอีกมากมายที่ภาครัฐและเอกชนจะร่วมมือกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย"

ที่มา: เทิร์นอะราวด์ โฟกัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง