วช. พาส่อง ไอเดีย "แอพพลิเคชัน วิ่ง สุดอัจฉริยะ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 66"

จันทร์ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๐๔
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดประกวด "ผลงานประดิษฐ์คิดค้น" เพื่อคัดเลือกเข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 ซึ่งในปีนี้ผลงาน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น "แอพพลิเคชันวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเชิงกีฬา" โดย รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และ นายปรมัตถ์ จรัสดำรง แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด
วช. พาส่อง ไอเดีย แอพพลิเคชัน วิ่ง สุดอัจฉริยะ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 66

นายปรมัตถ์ จรัสดำรง แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ทีมนักประดิษฐ์ เปิดเผยว่า แอพพลิเคชันวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเชิงกีฬา เป็นระบบ Computer vision (CV) โดยการนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการตรวจจับการวิเคราะห์ลักษณะการวิ่งของผู้ใช้งาน ซึ่งภายในแอพพลิเคชันจะทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานนำไปสู่การประมวลผลลักษณะการวิ่งของผู้วิ่งเพื่อปรับท่าวิ่งให้ถูกลักษณะ ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง เหมาะแก่การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางการกีฬาที่สามารถใช้งานบนโทรศัพท์มือถือที่มีขนาดกะทัดรัดและสามารถพกพาได้สะดวก ซึ่งหลักการทำงานของแอพพลิเคชันดังกล่าวผู้วิ่งต้องทำการลงทะเบียนและติดตั้งแอพพลิเคชัน และตั้งกล้องให้เป็นลักษณะตั้งตรง ระบบจะสร้าง Spatial skeleton ขึ้นมาเสมือนเป็นกระดูกของผู้วิ่งแบบดิจิทัล เพื่อจำลองตำแหน่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวเมื่อครบ 10 วินาทีจะมีเสียงส่งสัญญาณแจ้งเตือน หลังจากทำการวัดส่วนสูง ระบบจะส่งเสียงนกหวีดส่งสัญญาณแจ้งเตือนหนึ่งครั้ง ให้ผู้วิ่งเริ่มทำการวิ่ง โดยให้ผู้วิ่งทำการวิ่งอยู่กับที่ตามปกติจนกว่านาฬิกาจับเวลาจะหมดลง เมื่อเวลาหมดลงระบบจะทำการส่งสัญญาณเตือนอีกครั้งเพื่อบอกให้ผู้วิ่งหยุดวิ่ง และรายงานผลลักษณะชีวกลศาสตร์ที่ได้จากการวิ่ง โดยที่แอพพลิเคชั่นสามารถวิเคราะห์ลักษณะชีวกลศาสตร์ได้ 3 ส่วน ได้แก่ 1) Vertical displacement of the center of mass 2) Trunk Lean 3) Tibia angle at a loading response ซึ่งผู้วิ่งและโค้ชสามารถนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลดังกล่าวไปช่วยเพิ่มศักยภาพของนักกีฬาเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้ดียิ่งขึ้น นับเป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นในการเก็บวิเคราะห์และคำนวณผลข้อมูลสารสนเทศที่แม่นยำและในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบแอพพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้นและตอบโจทย์ต่อผู้ใช้งานต่อไป

ซึ่งแอพพลิเคชันวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเชิงกีฬา เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในด้านของวิทยาศาสตร์การกีฬาในการวิเคราะห์หลักชีวกลศาสตร์ การประมวลผลข้อมูลจากสื่อภาพและวิดีโอ ทักษะการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาแอพพลิเคชันมือถือในการวิเคราะห์หลักชีวกลศาสตร์ท่าวิ่งเพื่อประโยชน์ทางการกีฬาในการส่งเสริมและสนับสนุนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของการเล่นกีฬาสู่นักกีฬามืออาชีพในระดับประเทศ

ที่มา: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

วช. พาส่อง ไอเดีย แอพพลิเคชัน วิ่ง สุดอัจฉริยะ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 66

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา
๑๗:๐๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาทร่วมออกหน่วยให้บริการโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน
๑๗:๐๒ วว. /สปอว. /APCTT จัด Workshop การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
๑๗:๐๐ บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATAV จัดการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567
๑๗:๕๓ คณะนิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม เปิดอบรม Generative AI เสริมทักษะนักกฎหมายยุคดิจิทัล