ทีเอ็มบีธนชาต ออกมาตรการ "ตั้งหลัก" ช่วยลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พักชำระค่างวด และขยายเวลาผ่อนชำระ

พุธ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๑:๓๗
ทีเอ็มบีธนชาต มีความห่วงใยลูกค้าทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมช่วยเหลือในยามลูกค้าประสบปัญหา เพื่อให้มีชีวิตทางการเงินที่ดี มีสภาพคล่องแม้ในยามวิกฤต ออกมาตรการ "ตั้งหลัก" ให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ครอบคลุมสำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์ และลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ โดยมาตรการประกอบด้วย
ทีเอ็มบีธนชาต ออกมาตรการ ตั้งหลัก ช่วยลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พักชำระค่างวด และขยายเวลาผ่อนชำระ

สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย

  • สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ แบบไม่มีหลักทรัพย์คำประกัน
    • ลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% นาน 3 เดือน หรือ
    • ชำระเฉพาะดอกเบี้ย นาน 3 เดือน หรือ
    • ชำระขั้นต่ำ 20% ของค่างวดผ่อน นาน 3 เดือน
  • บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด
    • บัตรเครดิต ลดดอกเบี้ยเหลือ 12% พร้อมผ่อนชำระยอดค้างได้สูงสุด 84 เดือน
  • บัตรกดเงินสด (Flash Card) ลดดอกเบี้ยเหลือ 22% พร้อมผ่อนชำระยอดค้างได้สูงสุด 84 เดือนและสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ธนาคารมีมาตรการรองรับเพิ่มเติม คือ พักชำระค่างวดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นาน 3 เดือน

สำหรับลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์

ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เช่น มีแหล่งที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน หรือสถานที่ประกอบการในพื้นที่ ที่ทางราชการกำหนดให้เป็นเขตภัยพิบัติ เป็นต้น

  • สินเชื่อรถยนต์ใหม่ สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว สินเชื่อรถแลกเงิน
    • พักชำระค่างวดสูงสุด 2 เดือน (รวมงวดค้างชำระหากมี) หรือ
    • ลดค่างวด หรือ ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือมาตรการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
    • กรณีลูกค้าค้างชำระต้องไม่เกิน 60 วัน ณ วันที่ยื่นคำร้องโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือ
  • สินเชื่อรถแลกเงิน แบบอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (สินเชื่อเล่มแลกเงิน)
    • พักชำระค่างวดสูงสุด 2 เดือน
    • อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% และลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 70% ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน
    • กรณีลูกค้าค้างชำระต้องไม่เกิน 30 วัน ณ วันที่ยื่นคำร้องโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือ

ทั้งนี้ ลูกค้าที่ต้องการรับความช่วยเหลือ สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม และลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ทางเว็บไซต์ https://www.ttbbank.com/th/tang-luk ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 โดยเงื่อนไขและการพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ

มาตรการช่วยเหลือครอบคลุมทั้งลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอี ธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกค้าบริหารการเงินพิเศษ เพื่อที่จะสามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจต่อได้ โดยมีการช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบภัยพิบัติโดยตรง หรือทางอ้อม เช่น มีคู่ค้าหรือลูกค้าที่ประสบภัย

  • สินเชื่อระยะยาว ลูกค้าไม่ต้องจ่ายชำระเงินต้น จ่ายเพียงดอกเบี้ยปกติ สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน
  • สินเชื่อระยะสั้น ขยายระยะเวลาชำระเงิน หรือต่ออายุสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน

ลูกค้าธุรกิจของ ทีทีบี สามารถขอร่วมมาตรการ ได้ที่เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน หรือ ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ 08:00 - 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร เพื่อขอเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 กันยายน 2566

ทีเอ็มบีธนชาต พร้อมเคียงข้างช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มที่เผชิญกับปัญหาในทุกสถานการณ์ เพื่อต่อยอดให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น และธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ที่มา: อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที