บทเรียนรอวัคซีนนานนับปีของคนไทย! กับความท้าทายครั้งใหม่ของคนทั่วโลก ที่จะรับมือภัยพิบัติ-โรคระบาดหลากรูปแบบที่เผชิญ ถ้าเรายังไม่สามารถผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ใช้เองได้

ศุกร์ ๒๑ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๔๕
สถานการณ์ภาวะโลกรวนขณะนี้ ทำให้สภาพภูมิอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง ความแปรปรวนของสภาพอากาศ อาทิ แอฟริกาเผชิญกับภัยน้ำท่วมใหญ่จากฝนตกหนักในรอบ 30 ปี ส่งผลให้เมืองหลวงเอ็นจาเมนากลายเป็นเมืองบาดาลในพริบตา เกาหลีใต้เผชิญกับพายุไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและลมกรรโชกแรงจนไฟฟ้าดับ ดินหินถล่ม ถนนขาด จนรัฐบาลต้องประกาศอพยพคนในพื้นที่เสี่ยง รวมทั้ง เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงโซลที่ทำให้ภาพน้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดินกลายเป็นข่าวช็อคโลก ส่วนจีนประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 หรือแม้กระทั่งประเทศไทย ที่ประสบอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ฝุ่น PM2.5 เป็นประจำทุกฤดูกาล ทุกภัยพิบัติ นอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของคนทั้งในระยะสั้น และระยะยาวแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ละเหตุการณ์มักมีผู้ป่วยเกิดขึ้นพร้อมกันจำนวนมากที่ต้องการบริการทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของระบบสาธารณาสุขในประเทศนั้นๆ
บทเรียนรอวัคซีนนานนับปีของคนไทย! กับความท้าทายครั้งใหม่ของคนทั่วโลก ที่จะรับมือภัยพิบัติ-โรคระบาดหลากรูปแบบที่เผชิญ ถ้าเรายังไม่สามารถผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ใช้เองได้

เปิดบทเรียนวิกฤตสุขภาพจากสถานการณ์โควิด-19
หากมองย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโควิด-19 ในปี 2564 ที่ผ่านมา ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ของระบบสาธารณสุขทุกประเทศต่อการรับมือวิกฤตสุขภาพที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก เป็นครั้งแรกที่เราเห็นปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนวัคซีน อินเดียขาดแคลนถังออกซิเจนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไวรัสโควิด-19 ลงปอด ชุด PPE และหน้ากากอนามัย ผลิตไม่ทันและมีไม่เพียงต่อความต้องการในตลาด ส่งผลให้สินค้าขาดตลาด และมีราคาสูงเกินความเป็นจริง เมื่อเกิดวิกฤตสุขภาพขึ้น ทุกประเทศต่างสำรองและจำกัดการส่งออกเพื่อสงวนไว้ให้ประชาชนของตนใช้ภายในประเทศ จนเกิดคำว่า "ต่อให้มีเงินก็ซื้อไม่ได้" หากประเทศใดมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ และมีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง จะนำพาให้ประชาชนประเทศนั้นจะอยู่รอด และเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด

ทุกวิกฤต คือ โอกาส
ในวิกฤตสุขภาพครั้งนั้น มีผู้ป่วยโควิดระดับสีเหลืองที่มีภาวการณ์หายใจบกพร่อง และปอดอักเสบ ที่ไม่สามารถหายใจได้เองได้ตามปกติจำนวนมากจนเกินรับมือไหว หากผู้ป่วยไม่มีเครื่องช่วยหายใจ อาจทำให้อาการหนักขึ้นจนเข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระดับสีแดงและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งประเทศไทยนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ ทั้งจากสหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน และ ญี่ปุ่น มาโดยตลอด ในสถานการณ์ที่ปัญหาความขาดแคลนเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จึงร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำองค์ความรู้หลากหลายสาขาวิชา ผลิตเครื่องจ่ายออกซิเจน Hi-Flow อย่างเร่งด่วน เป็นเครื่องจ่ายออกซิเจนอัตราการไหลสูง ซึ่งผลิตโดยคนไทยทุกขั้นตอน ทำให้มีราคาถูกกว่าการนำเข้าถึง 3-4 เท่า มีระบบมอนิเตอร์ทางไกลช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ในการเข้าไปดูแลคนไข้ นอกจากนี้ ยังผลิตเครื่องผลิตออกซิเจน ลดปัญหาการขาดแคลนถังออกซิเจน นำมาช่วยเหลือผู้ป่วยในช่วงเกิดวิกฤตสุขภาพได้อย่างทันท่วงที ซึ่งหากไม่มีวิกฤตสุขภาพในครั้งนี้ คนไทยอาจไม่รู้เลยว่า คนไทยมีศักยภาพมากพอที่จะผลิตเครื่องมือแพทย์ได้เอง สามารถลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ลดการใช้งบประมาณภาครัฐได้อย่างมหาศาล และยังเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุขของคนไทยได้อย่างเท่าเทียม

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธาน มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าฯ ได้รับเงินบริจาคจากพี่น้องคนไทยเพื่อผลิตและแจกจ่ายเครื่องจ่ายออกซิเจน Hi-Flow และเครื่องผลิตออกซิเจน ไปยังโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1,000 เครื่องทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยรอด" จากเหตุการณ์วิกฤตสุขภาพในครั้งนี้ ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของคนไทยที่ต้องลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ผลิตนวัตกรรมเทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ของตนเองเพื่อใช้ภายในประเทศ และเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยให้แข็งแกร่ง และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่จุดประกายการสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารขึ้น เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์กลางวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งเน้นพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยตนเอง โดยผสานองค์ความรู้ของหลากหลายวิชา เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยในทุกบริบท ลดความเหลื่อมล้ำทางการรักษาของคนไทยทุกคน และพร้อมรับมือทุกวิกฤตสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ผู้ที่สนใจสนับสนุนการศึกษาวิจัยนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์โดยคนไทยเพื่อคนไทย สามารถร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ หมายเลขบัญชี 693-0-32393-4 หากประสงค์ขอรับใบเสร็จรับเงินโปรดแจ้งและส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ไลน์ไอดี @kmitlhospital หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 092-454-8160 , 092-548-2640 และ 02-329-8000 ต่อ 3146 และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร พร้อมความเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาลได้ที่เว็บไซต์ www.kmchf-pp.org และเฟสบุค https://www.facebook.com/KMCHospitalbyKMITL

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

บทเรียนรอวัคซีนนานนับปีของคนไทย! กับความท้าทายครั้งใหม่ของคนทั่วโลก ที่จะรับมือภัยพิบัติ-โรคระบาดหลากรูปแบบที่เผชิญ ถ้าเรายังไม่สามารถผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ใช้เองได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง