ตั้งรับสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแพลตฟอร์ม CaregiverThai.com

พฤหัส ๒๗ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๗:๑๙
ตั้งรับสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแพลตฟอร์ม CaregiverThai.com เคียงข้างผู้ดูแลให้ความรู้และพลังใจในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ตั้งรับสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแพลตฟอร์ม CaregiverThai.com

แก้ที่มาสาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งรับสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแพลตฟอร์ม CaregiverThai.com เคียงข้างผู้ดูแลให้ความรู้และพลังใจในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม

  • จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 มีผู้มีภาวะสมองเสื่อมจำนวนสูงถึง 680,000 คน
  • com พลังใจสู้สมองเสื่อม แหล่งข้อมูลช่วยผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม

เนื่องในวันที่ 21 กันยายน เป็นวันอัลไซเมอร์โลก และวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันหลอดเลือดสมองโลก ทั้งอัลไซเมอร์และความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะสมองเสื่อม (ประมาณ 90 % ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด)

ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมสูงถึง 6.8 แสนคน จากประชากรรวม 66.7 ล้านคน (รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ดูแลทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้น สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเปิดตัวแพลตฟอร์มแหล่งข้อมูลช่วยผู้ดูแล CaregiverThai.com พลังใจสู้สมองเสื่อม เคียงข้างให้ความรู้และพลังใจในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม เปิดใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาของโครงการวิจัยพัฒนาระบบการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบบูรณาการตามบริบทสังคมไทยผศ. พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเพียง 1 คนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของสมาชิก  ที่เหลือในครอบครัวด้วย ในปัจจุบัน แม้ภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์จะป้องกันไม่ได้ แต่ภาวะสมองเสื่อม  ที่เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD: ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และภาวะอ้วนลงพุง) สามารถป้องกันและชะลอได้ โดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง (NCD) ให้ดี เมื่อมีอาการสมองเสื่อมแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับไปเป็นปกติได้ อาการสมองเสื่อมและชีวิตของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับการดูแล ความเข้าใจ และทัศนคติของผู้ดูแลและครอบครัว"

caregiverthai.com เคียงข้างผู้ดูแลเสริมความรู้และพลังใจ

ผศ. พญ. สิรินทร กล่าวถึงที่มาของเว็บไซต์ CaregiverThai.com ว่า "แรงบันดาลใจเกิดจากการที่ได้เห็นความรัก ความเพียรพยายามและความปรารถนาดีของผู้ดูแลซึ่งเป็นครอบครัวของผู้มีภาวะสมองเสื่อม ที่ต้องปรับใจ (เพราะผู้มีภาวะสมองเสื่อมมักจะมีปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแบบไม่คาดคิด) ปรับตัว (เพราะผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะบกพร่องในการดำเนินชีวิตของตนเอง) และต้องการคำแนะนำให้ผู้ดูแลสามารถจัดการการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมีคุณภาพ CaregiverThai.com จะช่วยพัฒนาตัวผู้ดูแลในครอบครัวเป็นระดับมืออาชีพด้วยความรู้และพลังใจจากเครือข่ายผู้ดูแล

เว็บไซต์ CaregiverThai.com เป็นผลจากการศึกษาของโครงการวิจัยพัฒนาระบบการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบบูรณาการตามบริบทสังคมไทย ซึ่งพบว่าผู้ดูแลที่มีคุณภาพเป็นหัวใจที่ช่วยชะลออาการสมองเสื่อม และทำให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดี คณะทำงานจึงได้ออกแบบและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจำเป็นมาสร้างเป็นแพลตฟอร์มในรูปแบบเว็บไซต์ caregiverthai.com พลังใจสู้สมองเสื่อม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. "ดูแลหัวใจเธอไปด้วยกัน" - เสริมพลังใจให้ผู้ดูแล แบ่งปันประสบการณ์ แสวงหาความช่วยเหลือจากเครือข่ายผู้ดูแล ดูแลกาย-ใจของตนเองระหว่างการดูแล เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลไปพร้อม ๆ กัน
  2. เป็นแหล่งข้อมูล โดยรวบรวมหัวข้อที่จำเป็นสำหรับผู้ดูแล ข้อมูลสุขภาพ คำแนะนำอุปกรณ์และการใช้ สิทธิสวัสดิการจากรัฐ แหล่งความช่วยเหลือ ปฎิทินการอบรมและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั่วประเทศ

1 พ.ย. เปิดประตูสร้างพลังใจให้ผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป เว็บไซต์ CaregiverThai.com พลังใจสู้สมองเสื่อม พร้อมเปิดให้บริการเคียงข้างให้ความรู้และพลังใจในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม สามารถหาคำตอบเรื่องภาวะสมองเสื่อมและการดูแล ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 8 หัวข้อ ดังนี้ 1. เข้าใจภาวะสมองเสื่อม 2. มุมผู้ดูแล 3. รอบรู้เรื่องการดูแล 4. อุปกรณ์ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม 5. กฎหมาย/สิทธิ/สวัสดิการ 6. แบบนี้ต้องรีบหาหมอ 7. เอกสารสำหรับดาวน์โหลดเพื่อใช้งาน อาทิ เช็คลิสต์เตรียมรับผู้ป่วยกลับบ้าน ตารางยา ตารางบันทึกความดัน-ชีพจร ฯลฯ และ 8. Caregiver Connect เพื่อช่วยประสานความช่วยเหลือแก่ผู้ดูแลที่ประสบปัญหาได้ เสมือนเป็นเพื่อนคู่คิด ให้ความรู้ คำแนะนำและสร้างพลังใจให้ผู้ดูแล ผ่านเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ทุกเวลา

"ทีมงานคัดเนื้อหาที่รวบรวมไว้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ดูแล โดยจะเพิ่มเนื้อหาใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ดูแลอย่างสม่ำเสมอ และเป็นสื่อกลางสร้างชุมชนที่เคียงข้างผู้ดูแล ช่วยแบ่งปันและสนับสนุนกันและกัน ด้วยความปรารถนาอย่างยิ่งว่าจะช่วยเสริมพลังให้ผู้ดูแล พร้อมดูแลหัวใจเธอไปด้วยกัน และสร้างพื้นที่ในบ้านและครอบครัวอันเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมต่อไป" ผศ. พญ. สิรินทรกล่าวสรุป

บทส่งท้าย

สถานการณ์เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์"  

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวถึงประชากรสูงอายุในประเทศไทย ดังนี้ "ในปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรรวม 66.7 ล้านคน ประชากรสูงอายุของประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเร็วมาก เมื่อ 50 ปีก่อน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุไม่ถึง 2 ล้านคน แต่ในปี 2564 จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 12.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด"

สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุจากสถิติที่อยู่ในระบบพบว่า ปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม 6.8 แสนคน เป็นผู้ชาย 2.0 แสนคน ผู้หญิง 4.8 แสนคน และยังไม่นับรวมกับจำนวนผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่อายุไม่ถึงเกณฑ์เป็นผู้สูงอายุ เมื่อเทียบกับตัวเลขจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสวัสดิการของรัฐ ประเภทผู้ดูแลผู้สูงอายุ (caregiver) ในปี 2564 มีเพียง 94,968 คน ในปัจจุบันการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่เป็นการดูแลโดยคนในครอบครัว การเสริมพลังให้ผู้ดูแลกลุ่มนี้ จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมในสังคมไทยอย่างมีประสิทธิผล

การสร้างชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia Friendly Community) ในยุคสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์อาจเกิดวิกฤติด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากจำนวนผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การดูแลด้วยครอบครัวหรือสถานดูแลไม่สามารถครอบคลุมได้อีกต่อไป สิ่งที่จะช่วยให้สังคมไทยดำเนินไปได้ตามวัฒนธรรมของเรา คือ การสร้างชุมชนที่มีความเข้าใจ ให้การยอมรับและร่วมดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมให้ดำเนินชีวิตอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่คุ้นชินได้นานที่สุดอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิต และมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนและภาคประชาชนเพื่อพัฒนาเครือข่ายชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ

ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น

ตั้งรับสังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแพลตฟอร์ม CaregiverThai.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว