นิ้วล็อก! ภัยร้ายยุคดิจิตอลสำหรับคนติดมือถือ แท็บเล็ต เล่นคอมพิวเตอร์นาน

ศุกร์ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๖:๐๑
ยุคนี้ถือได้ว่าเป็นยุคดิจิตอล การสื่อสาร การทำงาน หรือการค้นหาข้อมูลสามารถทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว จนลืมคิดไปว่าการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเป็นระยะเวลานานๆ อาจส่งผลให้การเกิดอาการนิ้วล็อกได้ อาการที่ว่านี้มีลักษณะอย่างไร และรักษานิ้วล็อกมีวิธีการอย่างไร ไปติดตามกัน
นิ้วล็อก! ภัยร้ายยุคดิจิตอลสำหรับคนติดมือถือ แท็บเล็ต เล่นคอมพิวเตอร์นาน

สังเกตด่วน อาการแบบนี้นิ้วล็อกแน่นอน

  • มักเกิดอาการนิ้วแข็งในช่วงเช้า
  • เมื่องอหรือยืดนิ้วจะมีเสียงดังกึก
  • รู้สึกเหมือนมีก้อนนูนบริเวณโคนของนิ้วที่ล็อก และรู้สึกตึง
  • เมื่องอนิ้ว นิ้วจะล็อกทันที และไม่สามารถยืดออกได้

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ้วล็อก

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ้วล็อก มักเกิดจากการใช้มือหรือนิ้วในการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ได้แก่ การงอนิ้ว เกร็งนิ้ว เหยียดนิ้ว จากกิจกรรมการกดแป้นพิมพ์ เล่นเกมส์ การหิ้วของหนัก รวมถึงการใช้มือกำ บีบ หรือยกของหนักเป็นประจำ เป็นต้น

วิธีรักษาอาการนิ้วล็อก

การักษานิ้วล็อก สามารถทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการการใช้นิ้วที่ไม่เหมาะสม
    ควรเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นสาเหตุ เช่น การถือของหนัก การใช้โทรศัพท์มือถือ การนั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงกิจกรรมอื่นที่ต้องออกแรงหรือเกร็งนิ้วอย่างหนัก หรือต้องงอนิ้วบ่อยๆ
  • แช่น้ำอุ่น
    การแช่น้ำอุ่นหลังตื่นนอน จะช่วยให้กล้ามเนื้อนิ้วนั้นยืดเหยียดคลายลง หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • ใช้ยารักษาอาการ
    แพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านการอักเสบ และหากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยาฉีด เพื่อลดการอักเสบชนิดสเตียรอยด์ในบริเวณโคนนิ้วที่อักเสบบวม
  • ใช้การผ่าตัด
    ในรายที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดด้วยการผ่าเข้าไปบริเวณรอยโรค เพื่อคลายปลอกหุ้มเอ็นออก เพื่อให้เอ็นสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้น ไม่เสียดสีกับปลอกหุ้มเอ็น โดยหลังผ่าตัดแพทย์จะให้ยาและทำกายภาพบำบัดต่อไป

นิ้วล็อกสามารถเกิดได้กับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่ต้องใช้นิ้วในการทำงานอย่างหนัก และแม้ว่าโรคนิ้วล็อกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่การป้องกันและการปรับพฤติกรรมการใช้นิ้วให้เหมาะสมคือสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทรมานจนต้องเข้ารับการรักษานิ้วล็อกในภายหลัง

การรักษานิ้วล็อกสามารถทำได้ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปจนถึงการผ่าตัดซึ่งต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างตรงจุด และโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือ พร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ขอแนะนำ KDMS โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ได้รวบรวมแพทย์ในกลุ่มศัลยแพทย์กระดูก และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการได้ พร้อมมอบการบริการด้วยความจริงใจและมืออาชีพอย่างแน่นอน.

ที่มา: KDMS

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๑ FLOYD คว้า 2 โปรเจกต์ใหม่ จากบิ๊กศูนย์การค้าส่งชั้นนำ รวมมูลค่ากว่า 115.56 ล้านบาท
๑๓:๕๒ เมอร์เซเดส-เบนซ์ นำทีม The new E-Class บุกห้างดัง จัดเต็มข้อเสนอในงาน Mercedes-Benz StarFest 2024 ชวนลูกค้าสัมผัสรถที่ใช่ในพื้นที่ใกล้บ้านคุณ
๑๓:๒๔ โฮมโปรเดินหน้าโปรเจค Green Transport เปิดตัวรถขนสินค้า EV Truck พลังไฟฟ้า พลังงานสะอาด 100% มุ่งเป้าสู่ Net Zero ระดับโลก ในปี
๑๓:๑๒ STA เดินหน้าส่งมอบยาง EUDR แก่ลูกค้า ย้ำความพร้อมรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับจากยุโรปและทั่วโลก
๑๓:๐๔ บลจ.กสิกรไทย เปิดตัว KNOW THE MARKETS SERIES คัมภีร์การลงทุนเชิงลึก มองไตรมาส 2 ตลาดหุ้นปรับฐาน แนะเน้นหลักการกระจายลงทุน
๑๓:๑๖ FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง
๑๓:๔๑ บลจ.อีสท์สปริง ได้รับอนุมัติเปลี่ยนชื่อกองทุนรวม 135 กองทุน จากสำนักงาน ก.ล.ต. มีผล 17 มิ.ย. 67
๑๓:๑๑ บางจากฯ ร่วมภาคีเครือข่ายป่าชายเลน Thailand Mangrove Alliance
๑๓:๐๙ สคร.12 สงขลา เตือนเปิดเทอมนี้ 4 โรค ต้องระวัง แนะผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมบุตรหลาน ป้องกันตนเองเมื่อไปโรงเรียน
๑๓:๔๔ BBLAM เสนอขาย IPO 'BP10/24(AI)' วันที่ 2-7 พ.ค. 2567