NITMX เป็นเจ้าภาพจัด Asian Payment Network Forum ครั้งที่ 18 มุ่งมั่นพัฒนาระบบชำระเงินไทยเชื่อมโลก

ศุกร์ ๐๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๐๙:๔๙
บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX ผู้พัฒนาและให้บริการระบบการชำระเงิน และการโอนเงินระหว่างธนาคารของประเทศไทย เชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดงาน "Asian Payment Network Forum" ครั้งที่ 18 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ โดยจัดในรูปแบบ Hybrid มีผู้เข้าร่วมงานทั้งจากประเทศไทยและในอาเซียน รวม 12 ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ พม่า ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศไทย โดยผู้แทนจากแต่ละประเทศสมาชิก ได้มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงนวัตกรรมด้านการเงินใหม่ๆ ซึ่งนับเป็นองค์ความรู้สำหรับประเทศสมาชิก ที่จะได้นำความรู้ไปพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดกระบวนการทำงานของแต่ละประเทศในอนาคต
NITMX เป็นเจ้าภาพจัด Asian Payment Network Forum ครั้งที่ 18 มุ่งมั่นพัฒนาระบบชำระเงินไทยเชื่อมโลก

คุณพิมพ์ใจ อธิจักราวุธ Assistant Managing Director Business Group กล่าวว่า "ถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Asian Payment Network หรือ (APN) ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก เพื่อมาแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงอัพเดทนวัตกรรม และบริการเกี่ยวกับระบบการชำระเงินของแต่ละประเทศ อาทิ Digital Payment, ATM Network, Cross-Border QR Payment, PayNow-PromptPay, Cardless ATM รวมถึงการบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์  โดยครั้งนี้ NITMX โชว์จุดยืนความเป็น National Payment Infrastructure of Thailand มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินของคนไทย เพื่อผลักดัน Digital Payment ของประเทศให้เติบโตต่อเนื่อง พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ "APN HUB"  โดยแบ่งออกเป็น 2 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ Cross-Border ATM Service (CBAS)  เป็นนวัตกรรมการกดเงินข้ามประเทศผ่านตู้เอทีเอ็ม และ Cross-Border Fund Transfer (CBFT) เป็นนวัตกรรมการโอนเงินข้ามประเทศ ขณะนี้ได้ทดลองระบบเรียบร้อยแล้วกับประเทศเกาหลีใต้  โดยได้ร่วมมือกับ The Korea Fair Trade Commission (KFTC)"

ย้อนกลับไปในปี 2562 ประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้เป็น "APN HUB" โดยได้รับการโหวตจากประเทศสมาชิก เนื่องจากมีศักยภาพ และมีระบบที่สามารถรองรับปริมาณการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมาตรฐานความมั่นคงและปลอดภัยในระดับสากล โดยประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำงานของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย ซึ่งถือเป็นความภูมิใจของ NITMX

ก้าวต่อไปของ "Asian Payment Network" คือ การร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ การเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะความร่วมมือระหว่างประเทศจะช่วยทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการในประเทศต่างๆ

ปิดท้ายการประชุมด้วยการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ กาลาดินเนอร์ ณ ห้องอาหาร Praya Dining ห้องอาหารไทยที่ตั้งอยู่ภายในโรงแรม Praya Palazzo เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมงาน นำเสนอเมนูอาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำในความเป็นไทย ที่รังสรรค์โดยสุดยอดเชฟ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ผ่านทาง https://www.itmx.co.th/ 

ที่มา: เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์

NITMX เป็นเจ้าภาพจัด Asian Payment Network Forum ครั้งที่ 18 มุ่งมั่นพัฒนาระบบชำระเงินไทยเชื่อมโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud