สสส. เผยพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เกิดจากปัจจัยที่ต่างกันออกไปในแต่ละช่วงวัย

พุธ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๐๙:๐๓
สสส. เผยพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เกิดจากปัจจัยที่ต่างกันออกไปในแต่ละช่วงวัย ในวัยเด็กเกิดจากการติดจอ ติดเกม ในวัยทำงานเกิดจากการที่ต้องนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน และขาดกิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายในผู้สูงอายุ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้คนไทยทุกช่วงวัยมีภาพรวมกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวลดน้อยลง ซึ่งไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี
สสส. เผยพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เกิดจากปัจจัยที่ต่างกันออกไปในแต่ละช่วงวัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพทุกวัย ยุค New Normal โดยจัดทำชุดความรู้เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบคลิปวิดีโอ ซึ่งจัดทำขึ้นโดย ศ.ดร.เจริญ กระบวนรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกกำลังกาย ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกายและรักษาไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี ด้วยการกระตุ้นให้ทุกคนมีกิจกรรมทางกายที่สะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ในการออกกำลังกายกับคนไทยทุกกลุ่มวัยในการปรับตัวเข้าสู่"ชีวิตวิถีใหม่ วิถีชีวิตสุขภาวะ" เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองให้ห่างไกลโรค และสามารถรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งโรคอุบัติใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ศ.ดร.เจริญ กระบวนรัตน์ ได้กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพแบ่งออกเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ ช่วงวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ โดยที่แต่ละช่วยวัยควรจะมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมวัยและสภาพร่างกายของตนเอง เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการออกกำลังกาย ขณะเดียวกัน มีข้อจำกัดหรือข้อควรระมัดระวังที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงวัย โดยคลิปวิดีโอที่จัดทำขึ้นนี้ จะให้ความรู้ครอบคลุมกลุ่มคนทั้ง 3 ช่วงวัย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของตนเอง เพื่อสร้างเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในแต่ละช่วงวัย

"เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการออกกำลังกาย ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง กระโดด หยิบ จับ ตี เตะ เหวี่ยง ขว้าง ฯลฯ เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ให้มีการประสานงานกันเป็นดี ช่วยให้สมองได้รับการพัฒนาทักษะกลไกการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถ เกิดความเชื่อมั่นและความมั่นใจในตนเอง กล้าที่จะแสดงทักษะเคลื่อนไหว และพัฒนาต่อยอดไปสู่การเคลื่อนที่ซับซ้อนในการเล่นกีฬา ซึ่งพื้นฐานการเคลื่อนไหวที่ดีในวัยเด็ก จะส่งผลไปถึงวัยหนุ่มสาว และวัยทำงาน ให้เกิดความใส่ใจในการออกกำลังกายและเห็นคุณค่าความสำคัญของการออกกำลังกายกรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางกาย ดังนั้น หากเด็กไม่มีทักษะกลไกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานที่ดี เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว และวัยทำงาน จึงหลีกเลี่ยงที่จะเข้ากิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย เพราะว่าไม่มีทักษะ ทำให้ขาดความมั่นใจ ดังนั้นหากได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกาย และวางรากฐานการออกกำลังกายที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลต่อวัยหนุ่มสาวทำให้เกิดความมั่นใจ และกล้าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายที่ตนเองชอบ

เนื่องจากสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เสี่ยงต่อการมีกิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหวน้อยลง (Sedentary Behavior) เสพติดอยู่กับความสะดวกสบายโดยใช้เครื่องทุ่นแรงแทนการใช้แรงกายตลอด จนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งก่อให้เกิดภาวะการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรง ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการทรงตัว เกิดภาวะกระบาง กระดูกพรุน ปวดไหล่ ปวดหลัง นิ้วล็อก ลุกนั่งลำบาก มีอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย ฟื้นตัวช้า ภูมิคุ้มกันลดลง เป็นต้น ดังนั้น คนในวัยทำงานควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีการเคลื่อนไหว โดยใช้กล้ามเนื้อแทนเครื่องทุ่นแรงมากขึ้นในระหว่างเวลาทำงานและในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เปลี่ยนจากการใช้ลิฟท์โดยสาร มาใช้บันได ก็จะช่วยกระตุ้นกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายให้มีการกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายในระหว่างวันได้ หรือ ประยุกต์ท่าออกกำลังกายที่สามารถทำให้ขยับร่างกายในสำนักงาน ระหว่างเวลาทำงาน เป็นต้น สำหรับคนวัยทำงาน ควรเน้นทำกิจกรรมทางกาย ที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้อยู่ในสำนักงาน

ในวัยสูงอายุจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุเข้าสู่วัยที่เราเรียกว่า "วัยเสื่อม" การเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้น และจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความรุนแรงก็จะต่างกันออกไป ดังนั้นการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย ก็ควรจะคำนึงถึงความพร้อมของร่างกายเป็นหลัก ออกกำลังกายในแบบที่ถนัด หรือทำกิจกรรมทางกายที่ผู้สูงอายุสนใจ นอกจากนี้ยังควรมีการเสริมในเรื่องของโภชนาการ เพื่อการมีร่างกายที่แข็งแรง ครบทุกด้าน เพราะเราไม่สามารถหยุดการเสื่อมของร่างกายได้ แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมได้" นอกจากนี้ ศ.ดร.เจริญ ได้แนะนำ

ผู้ที่จะเริ่มออกกำลังกาย สามารถนำตารางเก้าช่อง และยางยืด...ยืดชีวิต มาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำขึ้นได้เองง่ายๆ ใช้พื้นที่ไม่มาก สามารถประยุกต์ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามที่ต้องการ

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถรับชมคลิปวิดีโอได้ทาง www.thaihealth.or.th หัวข้อสื่อสร้างสุข, ทาง YouTube : Thaihealth Active และ Facebook : Thaihealthactive พร้อมส่งต่อเพื่อการเรียนรู้ นำไปปฎิบัติให้เหมาะสมกับช่วงวัยของท่าน

ที่มา: Extravaganza PR

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด