ส่งออกอัญมณีไทยพุ่งอย่างต่อเนื่อง สวนทางภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งชลอตัวลง ชี้ผู้ประกอบการต้องรักษาตลาดเดิม หาตลาดเกิดใหม่

อังคาร ๑๓ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๑๐:๓๕
ส่งออกอัญมณีไทยพุ่งอย่างต่อเนื่อง สวนทางภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งชลอตัวลง ชี้ผู้ประกอบการต้องรักษาตลาดเดิม หาตลาดเกิดใหม่ พร้อมสร้างประสบการณ์และความประทับใจให้ผู้บริโภค
ส่งออกอัญมณีไทยพุ่งอย่างต่อเนื่อง สวนทางภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งชลอตัวลง ชี้ผู้ประกอบการต้องรักษาตลาดเดิม หาตลาดเกิดใหม่

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยยังคงพุ่งอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.60 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 โดย ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออก 13,620.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.50 แต่หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 6,778.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 37.38

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบ 10 เดือนแรกของปีนี้ คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป โดยมีสัดส่วนร้อยละ 50.23 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 110.74 โดยราคาทองคำเฉลี่ยของตลาดโลกในเดือนตุลาคมยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ระดับ 1,664.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (https://www.kitco.com) เนื่องจากเฟดใช้นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ติดต่อกัน 4 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75-4.00 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2565) ซึ่งสูงสุดนับแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ แต่อย่างไรก็ตามเริ่มมีแนวโน้มว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยช่วงกลางเดือนธันวาคมในอัตราที่ลดลง จะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำที่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้ ทั้งนี้ มีข้อมูลจาก World Gold Council ระบุว่า อุปสงค์ทองคำในช่วงตุลาคมยังได้รับอานิสงส์จากการบริโภคเครื่องประดับและการสำรองทองคำของธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลัก

ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงมกราคม-ตุลาคมของปี 2565 เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นสินค้าที่มีการเติบโตต่อเนื่องสวนทางกับกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ อย่าง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เหล็ก และ ผลิตภัณฑ์ ที่ชลอตัวลงครั้งแรกในรอบ 20 เดือน เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากนโยบายการเงินที่คุมเข้มในหลายประเทศ ภาวะการขาดแคลนพลังงานในยุโรปที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อทั้งภาคการผลิตที่อาจลดกำลังผลิตลงและการบริโภคของประชาชนที่ต้องกันเงินมาใช้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น 

แต่อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงมีปัจจัยสนับสนุนการส่งออก อย่างเช่น การอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลก รวมทั้งเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปีเข้ามากระตุ้นการบริโภค ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยบวกสนับสนุน ทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยทั้ง 10 อันดับแรก อย่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และญี่ปุ่น ล้วนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามลำดับ

โดยภาพรวมสถานการณ์ส่งออกในรอบ 10 เดือนแรกของปีนี้ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นหมวดหนึ่งที่ยังสามารถเติบโตสวนกระแสได้ แม้การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการหดตัวของคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า แต่การเข้าสู่ช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปีจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรมีแนวทางมองหาแนวทางการทำตลาดในประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางที่สามารถสร้างอัตราการเติบโตได้สูง ควบคู่ไปกับการรักษาตลาดเดิมที่ควรเน้นสินค้าที่มีภาพลักษณ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับรักษามาตรฐานคุณภาพให้ได้ตรงกับความต้องการผู้บริโภค หรือการทำสินค้าเกรดพรีเมียมเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มบนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจน้อยกว่า และการใช้แทคโนโลยีอย่าง AR หรือ VR นำเสนอสินค้าออนไลน์ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสสินค้าใกล้เคียงความจริง ก่อให้เกิดความประทับใจและสร้างโอกาสในการซื้อได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับยังต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ให้บริการด้านข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ การตรวจสอบ และสร้างมาตรฐาน GIT STANDARD และ บริการด้านการอบรมด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแรงสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

ที่มา: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง