ม.มหิดล บ่มเพาะนักศึกษาด้วยหลัก"พุทธเศรษฐศาสตร์" ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพไปสู่ความหมายของมนุษย์ (ผู้มีใจสูง) และใส่ใจสิ่งแวดล้อม

อังคาร ๑๓ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๑๗:๓๐
นับตั้งแต่หนังสือเรื่อง "Small Is Beautiful : A Study of Economics As If People Mattered" ประพันธ์โดย Ernst Friedrich Schumacheนักเศรษฐศาสตร์สถิติชาวเยอรมัน-อังกฤษ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2516 แนวคิดเรื่อง "พุทธเศรษฐศาสตร์" จากหนังสือดังกล่าวได้แพร่สะพัดไปทั่วโลก ราวกับเป็นการประกาศอิสรภาพจากโลกแห่งทุนนิยมด้วยแนวคิด "ยิ่งน้อย ยิ่งมาก" ที่ให้ความสำคัญต่อ "คุณค่าของความเป็นคน" มากกว่า "เงินตรา" หรือ "ผลกำไร"
ม.มหิดล บ่มเพาะนักศึกษาด้วยหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพไปสู่ความหมายของมนุษย์ (ผู้มีใจสูง) และใส่ใจสิ่งแวดล้อม

รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นผู้ริเริ่มนำแนวคิด "พุทธเศรษฐศาสตร์" มาใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวซึ่งอยู่ในระดับบัณฑิตศึกษา

รวมทั้งได้ถ่ายทอดสู่การเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรายวิชาศึกษาทั่วไป "ศาสตร์พระราชากับวิถีชีวิต" เพื่อเป็นพื้นฐานในการผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่ "ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัยและยั่งยืน"

รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ ชี้ว่า "การมองแบบแยกส่วน" ตามหลักทุนนิยม ที่มุ่งแต่การแข่งขันให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ โดยไม่ใส่ใจผู้คนที่อยู่รอบข้าง และสิ่งแวดล้อม ไม่อาจทำให้เกิดความยั่งยืนได้ในวันข้างหน้า

ในขณะที่ หากได้เปลี่ยนแนวคิดเป็น "รวมกันเราอยู่" เพื่อ"ประโยชน์สุข" ร่วมกัน โดยไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม มองความสุขเป็น "ความพึงพอใจในความพอดี" ทั้งในการบริโภค และทุกสัมผัส และที่สำคัญต้องพึ่งพาตนเองได้ จะทำให้ได้พบกับ "คุณค่าที่แตกต่าง"

"เราสอนให้นักศึกษาทุกคนรู้จักตั้งคำถาม คิดวิเคราะห์ และฝึกรับผิดชอบ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของทุกการประกอบการเลยว่า ผลิตแล้วได้อะไร เมื่อเกิดของเสียแล้วจะนำไปกำจัดโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือเข้าสู่กระบวนการที่จะทำให้เกิดคุณค่า และมูลค่าต่อไปได้อย่างไร" รองศาสตราจารย์ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ กล่าว

"สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์" จะพลังที่สำคัญที่สุดที่จะร่วมกันรักษาแผ่นดินนี้ได้ ด้วยการฝึกปฏิบัติจิตตามแนวทางพุทธสร้างจิตสำนึก (ผู้มีใจสูง) แห่ง "พุทธเศรษฐศาสตร์" จะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตที่เชื่อมั่นได้ว่าจะเติบโตไปเป็นผู้นำองค์กร และชุมชน ที่มองเห็น "คุณค่าของความเป็นคน" เป็นปัจจัยสำคัญสู่การบรรลุทุกเป้าหมาย

มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทำหน้าที่ของสถาบันทางสังคมที่คอยปลูกฝังจิตสำนึก "พุทธเศรษฐศาสตร์" เป็นหลักธรรมนำชีวิตสำหรับเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ให้เติบโตอย่างมีคุณค่าสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที