หัวเว่ยผนึกกำลังทุกภาคส่วนไทย ร่วมเดินหน้าสร้างเมือง "กรุงเทพอัจฉริยะ" เชื่อมต่อนวัตกรรม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สร้างไลฟ์สไตล์คนกรุงที่ปลอดภัยไร้รอยต่อ

พฤหัส ๑๒ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๓:๐๒
ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเข้ามาปรับเปลี่ยนทั้งวิถีชีวิตของผู้คน กระบวนการทำงาน และการเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ คอนเซ็ปต์เรื่อง "Smart City" หรือเมืองอัจฉริยะจึงกลายเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่หลายภาคส่วนกำลังให้ความสำคัญกันในขณะนี้ หนึ่งในนั้นคือแบรนด์ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างหัวเว่ย ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวตั้งตัวตีด้านการผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยจากภาคเอกชนมาโดยตลอด ล่าสุดทางบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผนึกกำลังอย่างยิ่งใหญ่กับองค์กรภาครัฐ ซึ่งนำโดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคเอกชน จากพันธมิตรกว่า 160 องค์กร เพื่อระดมความคิด ร่วมสร้าง "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่" ให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวสำคัญที่ทุกฝ่ายร่วมกันหารือและแบ่งปันวิสัยทัศน์ ทัศนคติ รวมถึงแนวคิดเชิงกลไก เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สู่ "Smart City" อย่างแท้จริง
หัวเว่ยผนึกกำลังทุกภาคส่วนไทย ร่วมเดินหน้าสร้างเมือง กรุงเทพอัจฉริยะ เชื่อมต่อนวัตกรรม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สร้างไลฟ์สไตล์คนกรุงที่ปลอดภัยไร้รอยต่อ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องการวางผังเมืองให้เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานครและหลายภาคส่วน ในการออกมาตรการเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงควบคุมการทำงานของภาคส่วนต่างๆ ทั้งการค้า อุตสาหกรรม การใช้พลังงาน การก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น สร้างความสุขให้กับทุกคนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ทั้งนี้ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงแนวคิด "เมืองที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และสร้างร่วมกัน" (Co-Creation City) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการผลักดันให้กรุงเทพฯ ยกระดับขึ้นเป็นเมืองอัจฉริยะ เนื่องจากยการทำให้คนในกรุงเทพฯ ทุกคนมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของเมืองร่วมกัน จะช่วยสร้างจุดมุ่งหมายเดียวกันในการพัฒนาเมือง ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยขับเคลื่อนนโยบายการเปิดเผยข้อมูล (Open Bangkok) จะเปิดพื้นที่และโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและเข้าถึงนโยบายผ่านโลกออนไลน์ นำข้อมูลใน Database มาวิเคราะห์และบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญกรุงเทพฯ จะต้องวางจุดยืนให้เป็นเมืองน่าอยู่เพื่อดึงดูดบุคลากรมากทักษะ โดยเฉพาะด้านดิจิทัลจากทั่วทุกมุมโลกมาไว้ด้วยกัน

ในฝั่งของภาคเอกชน ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการสร้างกรุงเทพฯ อัจฉริยะ ด้วยการใช้เทคโนโลยียกระดับระบบความปลอดภัยชั้นเลิศเพื่อให้คนกรุงเทพฯ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านระบบอัจฉริยะ (Smart System) และระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security System) ที่หัวเว่ยได้นำนวัตกรรม AI ตัวล่าสุดเข้ามาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อัจฉริยะ ซึ่งรวมไปถึงกล้อง CCTV ที่ติดตั้งอยู่ทั่วเมือง อุปกรณ์อัจฉริยะดังกล่าวได้รับการออกแบบมาอย่างชาญฉลาด สามารถช่วยควบคุมการจราจร ดูแลความปลอดภัย ตรวจตราเหตุอาชญากรรมและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านการรับ-ส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ไปจัดเก็บบนคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อประมวลผลและนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับระบบต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ดร.ชวพล ยังได้กล่าวถึงทิศทางในการสร้างกรุงเทพฯ อัจฉริยะอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการผนึกกำลังกับทุกภาคส่วนว่า ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีและผู้สนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ หัวเว่ย ประเทศไทย จะเดินหน้าตามพันธกิจ "เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย" (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)" อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการจะสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะในทุกมิติ คือการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีไอซีทีตัวล่าสุดของหัวเว่ยมาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการกรุงเทพฯ และดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งระบบดังกล่าวจะประกอบไปด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะต่อไปนี้:

1) IoT (Internet of Things) เครือข่ายรวมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันและสามารถทำงานโต้ตอบระหว่างกันได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อสร้างระบบความปลอดภัยในกรุงเทพมหานครอย่างบูรณาการ ด้วยกระบวนการดำเนินงานที่มีความอัจฉริยะ

2) เทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G ผ่านสายไฟเบอร์ (5G Fiber) ที่เป็นมากกว่าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีความเร็วการเชื่อมต่อระดับกิกะบิตต่อวินาที และมีค่าความหน่วงน้อยกว่าเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ 4G ถึง 20 เท่า ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วที่สุด

3) Intelligence Cloud-Based Platform หรือการเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างมหาศาลบนแพลตฟอร์มคลาวด์ คอมพิวติ้งทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี เกิดการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนกันของข้อมูล (Data) สู่การสร้างสมองของเมือง ทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อได้ทุกแห่งหน (Ubiquitous Connectivity) ด้วยสามสิ่งนี้ หัวเว่ยเชื่อว่ากรุงเทพฯ จะกลายเป็นเมืองแห่งอนาคต ที่มีการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด และทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้อย่างไร้รอยต่อ สู่การเป็น "กรุงเทพอัจฉริยะ" แห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน

ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์

หัวเว่ยผนึกกำลังทุกภาคส่วนไทย ร่วมเดินหน้าสร้างเมือง กรุงเทพอัจฉริยะ เชื่อมต่อนวัตกรรม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สร้างไลฟ์สไตล์คนกรุงที่ปลอดภัยไร้รอยต่อ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง