Infor คาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปี 2566

พุธ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๑๖:๐๖
จะมีการใช้ระบบอัตโนมัติและการปรับใช้ AI/ML, ความคล่องตัวและต้นทุนของซัพพลายเชน, นวัตกรรมด้านอาหาร และความต้องการของผู้บริโภคในด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น
Infor คาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปี 2566

บทความโดย นายเทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, อินฟอร์

ในปี 2566 อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต่างพากันแสวงหาช่องทางใหม่ ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ การคัดเลือกซัพพลายเออร์เพื่อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมมากขึ้นสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมฯ ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งได้กระตุ้นและผลักดันให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปีนี้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจะยังคงพึ่งพาโซลูชันคลาวด์เพื่อทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้น และจะขยายธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของซัพพลายเชนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย

แนวโน้มและการคาดการณ์ในปี 2566 ที่บริษัทอาหารและเครื่องดื่มควรคำนึงถึง ได้แก่:

  1. ความคล่องตัวและต้นทุนของซัพพลายเชน: การเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติ สิ่งที่แน่นอนเพียงหนึ่งเดียวสำหรับซัพพลายเชนทั่วโลกคืออนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้ กอปรกับราคาสินค้า
    โภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นและปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และการ
    ขาดแคลนชิปทั่วโลก ซัพพลายเชนด้านอาหารและเครื่องดื่มจึงต้องมีความคล่องตัวในการวางแผน เพื่อให้สามารถตรวจพบปัญหาได้ตรงจุดตั้งแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งยังต้องยืดหยุ่นและมีแผนรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดจากความผันผวนด้านอุปสงค์และอุปทานที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง รวมทั้งต้องคอยจับตาดูผลกระทบที่เกิดกับการผลิตอย่างใกล้ชิด สำหรับปี 2566 นี้ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะเพิ่มทางเลือกด้านวัตถุดิบและซัพพลายเออร์มากขึ้น เพื่อชดเชยกับการหยุดชะงักของอุปทาน ดังนั้น องค์กรจะต้องตอบสนองความต้องการให้ถูกต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้มั่นใจในการดำเนินงานที่ราบรื่นและประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต
  2. ระบบอัตโนมัติสำหรับการผลิต: แน่นอนว่าการขาดแคลนแรงงานทั่วโลกได้กลายเป็นปัญหาหลังการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากแรงงาน
    รุ่นใหม่สนใจอาชีพที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนมากกว่าการจ้างงานตลอดชีพ อนึ่ง จาก
    แรงกดดันที่ต้องรักษาอุปทานให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจะต้องลงทุนในเทคโนโลยี Industry 4.0 เพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน เช่น การใช้แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ในการจดจำภาพ (image recognition) เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเดิมต้องใช้พนักงานจำนวนมากในการตรวจคัดเลือกสามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ เช่น ในการคัดแยกขนาด,
    การคัดคุณภาพ, การตัดชิ้นและการฝาน เป็นต้น บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้มาใช้ก่อนก็มีแนวโน้มจะขึ้นแท่นครองตลาดได้ในอนาคต
  3. การใช้ AI และ ML เพิ่มขึ้น: ธุรกิจที่ใช้คลาวด์จะนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning: ML) มาใช้งานเพิ่มขึ้นอีกมาก เช่น บริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์จากนมแห่งหนึ่งได้นำแมชชีนเลิร์นนิงมาใช้งาน เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดของเสียในการผลิตชีสให้เหลือน้อยที่สุด ในอดึตเมื่อเกิดปัญหา บริษัทฯ ทำได้เพียงย้อนกลับไปตรวจสอบผลผลิตและพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องไม่กี่ชนิด เช่น โปรตีน ไขมันเนย และอุณหภูมิ ซึ่งก็สายเกินไปแล้วที่จะปรับปรุงผลผลิตให้ดีขึ้น ทว่าทุกวันนี้ บริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์จากนมสามารถใช้พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายมาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 1% จะประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ถึง 500,000 เหรียญสหรัฐฯ และเราจะได้เห็นวิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดเหล่านี้มากขึ้นในปีหน้า
  4. เร่งความเร็วนวัตกรรมด้านอาหาร: การเปลี่ยนแปลงส่วนผสม การจัดหาจากซัพพลายเออร์
    รายอื่น ตลอดจนการลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับการขาดแคลนและการปรับขึ้นราคาจะเป็นเทรนด์ใหม่ที่ได้รับความนิยมมาก ยิ่งไปกว่านั้น นวัตกรรมด้านอาหารที่แท้จริงกำลังจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ด้วยแรงหนุนจากผู้บริโภคและความเต็มใจของบริษัทอาหารขนาดใหญ่ที่จะลงทุนในนวัตกรรมเหล่านี้ ส่งผลให้สตาร์ทอัปจำนวนมากที่ทำธุรกิจด้านโปรตีนทางเลือก เช่น เนื้อสัตว์ใน
    ห้องแล็บ หรือผลิตภัณฑ์จากนมสังเคราะห์เติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการเร่งความเร็วของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยนำเสนอในบรรจุภัณฑ์ขนาดต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสม หรือจัดหาจากซัพพลายเออร์รายอื่น ๆ
  5. ความโปร่งใสเพื่อผู้บริโภค: บรรดาผู้บริโภคต่างต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ตนซื้อ เช่น แหล่งที่มา, วิธีการปฏิบัติต่อเกษตรกรและสัตว์เลี้ยง, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, ประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น สำหรับการเรียกร้องของผู้บริโภคนอกจากจะเป็นโอกาสให้ผู้แปรรูปอาหารและเครื่องดื่มได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะที่แสดงให้เห็นถึงการตรวจสอบย้อนกลับและความสดใหม่ของสินค้าหรืออื่น ๆ แล้ว ยังทำให้ผู้ผลิตสามารถเชื่อมต่อและมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคในรูปแบบดิจิทัลได้อีกด้วย เพราะสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ปัจจุบันและ/หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของบริษัท
  6. ความยั่งยืนและความโปร่งใส: เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นปัญหาที่รุนแรง
    มากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มก็ย่อมได้รับผลกระทบอย่างไม่ต้องสงสัย บริษัทจะต้องคำนึงถึงทางเลือกในการจัดหาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และใช้ประโยชน์จากแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อลดการใช้พลังงาน น้ำ และอาหารเหลือทิ้ง ส่วนภาคการผลิต ธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการลดของเสียเป็นหลัก (น้ำ, พลังงาน, อาหาร) เฉกเช่นเดียวกับการขยายซัพพลายเชนทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เช่น แนวทางปฏิบัติด้านการเกษตร การปฏิบัติตามมาตรฐานรับรอง และการขนส่ง เป็นต้น

ดังนั้น การประเมินซัพพลายเออร์โดยพิจารณาจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ปริมาณมลพิษที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตและการขนส่ง เป็นต้น ส่วนการจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นไม่เพียงแต่จะเป็นการสนับสนุนชุมชนเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมอีกด้วย นอกจากนี้ การทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนมากขึ้นด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือเป็นวัสดุที่รับประทานได้ก็สามารถช่วยลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เช่นกัน ดังนั้น การที่ภาครัฐและสาธารณะกดดันให้องค์กรรายงานความคืบหน้าด้านความยั่งยืนและความโปร่งใส แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าความโปร่งใสของซัพพลายเชนทั้งระบบยังคงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก

สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีประเด็นที่น่าจับตามองในด้าน (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดอาจจะปรับลดและส่งผลกระทบถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่รวมถึงด้านอาหารและเครื่องดื่มได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ยอดขายเกิดการชะลอตัวในระยะต่อไป (2) ต้นทุนการผลิตยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในหลาย ๆ ส่วนตลอดห่วงโซ่การผลิต ในฐานะผู้บริโภคปลายน้ำจะสังเกตเห็นได้ว่าราคาสินค้าหลายอย่างแพงขึ้น ส่งผลกระทบให้ค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้นด้วย (3) การให้ความสำคัญเรื่องอาหารปลอดภัย (Food safety) ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญมาก ดังนั้นผู้ผลิตฯ จะต้องยกระดับมาตรฐานการผลิตให้มีความปลอดภัยและตรวจสอบย้อนกลับได้เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น (4) แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภค Gen Y หรือ Gen Z ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น จะชอบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ปรุงแต่งน้อยลง และยังมีแนวโน้มที่จะบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลงด้วย ส่วนอีกกลุ่มที่ไม่สามารถมองข้ามได้คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่เติบโตและขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคม Aging Society ดังนั้นผู้ผลิตฯ จะต้องปรับตัว ปรับสูตรผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้มากขึ้นด้วย และสุดท้าย (5) แนวโน้มการแข่งขันจากสินค้าทดแทนหรือสินค้านวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม plant-based หรือโปรตีนทางเลือกจากพืช หรือกลุ่มของ lab-grown meat ซึ่งเป็นเนื้อสัตว์เทียม แม้ว่าปัจจุบันสินค้ากลุ่มนี้จะยังไม่อยู่ในกระแสหลักของตลาด แต่จะเริ่มเห็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าและชัดเจนขึ้น ทำให้เชื่อได้ว่าในอนาคตสินค้ากลุ่มนี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในตลาดอาหารอย่างแน่นอน

จากประเด็นท้าทายทั้งห้าเรื่องด้านบน ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ ปรับกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์เทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อรับมือกับความท้าทายและการแข่งขันในตลาดต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์ที่เราให้บริการแก่ของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ที่มา: เอฟเอคิว

Infor คาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปี 2566

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง