ม.มหิดลเสริมความมั่นคงทางยาของชาติ ผลิตเซลล์เพื่อการรักษาตามมาตรฐาน GMP ใช้เองภายในรพ.ศิริราช

พุธ ๐๘ มีนาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๕๑
มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต มีจุดกำเนิดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2514 และได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกันคุณภาพยาโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อปี พ.ศ. 2527 ก่อนประกาศเป็นกฎกระทรวงให้มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2547 และได้อนุญาตให้มีการผลิตยาใช้เองในโรงพยาบาล เพื่อเสริมความมั่นคงทางยาให้กับประเทศเช่นปัจจุบัน
ม.มหิดลเสริมความมั่นคงทางยาของชาติ ผลิตเซลล์เพื่อการรักษาตามมาตรฐาน GMP ใช้เองภายในรพ.ศิริราช

เซลล์และยีนบำบัด ถือเป็นหนึ่งในประเภทของยาที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีข้นสูงในการผลิตโดยสถาบันเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศพ.ร.บ.ยาแห่งชาติจึงอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะในโรงพยาบาลทร่ผลิตโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ อย.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของแผนการสร้างสถานที่ผลิตเซลล์และยีนบำบัด เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โรคทางจักษุ และโรคอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช เพื่อร่วมสร้างความมั่นคงทางยาของชาติว่าปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการเร่งออกแบบ โดยจะใช้สถานที่ในอาคารศูนย์วิจัยศิริราช SiMR กำหนดแล้วเสร็จปลายปีหน้า

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธิ์ สาธรสุเมธี ได้ให้มุมมองถึงการผลิตยาขึ้นใช้เองภายในโรงพยาบาลว่าจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยมาเป็นอันดับหนึ่ง จากยาต่างๆที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชซึ่งสามารถมั่นใจได้ถึงมาตรฐาน GMP เช่นเดียวกับการผลิตเซลล์และยีนบำบัดที่มีประสิทธิภาพจากการวิจัยมาตรวจสอบและรับรองคุณภาพ ก่อนจะนำไปใช้จริงกับผู้ป่วยต่อไป

นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ยกระดับศักยภาพทางการวิจัยและวิชาการผ่านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) สู่ระดับนานาชาติซึ่งเป็นการร่วมวิจัยที่จะยังประโยชน์ที่เท่าเทียมต่อทั้งสองฝ่าย อาทิ การได้ร่วมวิจัยกับ Oregon Health & Science University (OHSU) สหรัฐอเมริกา ถึง 10 โครงการ โดยมีเรื่องโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็งเป็นหัวข้อวิจัยหลัก

โลกของนวัตกรรมไม่ได้สร้างได้ภายในวันเดียว เช่นเดียวกับการมุ่งสู่การเป็น "World Changer" สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ให้กับโลก ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ 10 ปีของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมุ่งสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในการเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่คนไทยจะได้สัมผัสอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในเร็ววันนี้

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดลเสริมความมั่นคงทางยาของชาติ ผลิตเซลล์เพื่อการรักษาตามมาตรฐาน GMP ใช้เองภายในรพ.ศิริราช

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud