โตชิบาพัฒนาต้นแบบมอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดกำลังสูงที่มีน้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด สำหรับการใช้งานในยานพาหนะ

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๑๕
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดวิธีเดินเครื่องบินพาณิชย์ ได้กำหนดเป้าหมายใหม่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ให้มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการบินระหว่างประเทศให้ได้ร้อยละ 15 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2567 เป็นต้นไปเมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2562 และลดลงให้เกือบเป็นศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2593 ด้วยเหตุนี้ เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้กันอยู่จะค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF)

อย่างไรก็ตาม ในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้โดยสมบูรณ์ เราจำเป็นต้องทดลองทั้งเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนและระบบการบินปลอดคาร์บอนร่วมกันแบบองค์รวม ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมจำเป็นต้องพัฒนามอเตอร์กำลังสูง น้ำหนักเบาเพื่อใช้ในระบบขับเคลื่อน

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โตชิบาได้ประกาศว่ากำลังพัฒนาต้นแบบมอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดความเร็วสูง ขนาดกะทัดรัดที่มีกำลังขับสูงสุด 2 เมกะวัตต์ ซึ่งผสานเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็วสูงและเทคโนโลยีตัวนำยิ่งยวดของโตชิบาเข้าด้วยกัน มอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้มีน้ำหนักเพียงไม่กี่ร้อยกิโลกรัม มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกประมาณ 50 ซม. และความยาวรวมประมาณ 70 ซม. (ไม่รวมเพลา) จึงมีขนาดเล็กกว่ามอเตอร์ที่มีระดับกำลังขับเท่ากัน "กว่าหนึ่งในสิบเท่า" มอเตอร์ที่เพิ่งประดิษฐ์สำเร็จขึ้นครั้งแรกในโลกนี้ได้รับความสนใจทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ จากอุตสาหกรรมอากาศยานและรถยนต์ รถไฟ และบริษัทด้านการขับเคลื่อนอื่นๆ ผู้ผลิตเครื่องยนต์ รวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย

อุตสาหกรรมยานพาหนะกำลังจะเปลี่ยนไป กล่าวคือรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ส่วนในอุตสาหกรรมการบินคาดว่า เครื่องยนต์ไอพ่นที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลจะถูกแทนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทั้งนี้ เป้าหมายของเครื่องบินไฟฟ้ารุ่นต่อไปคือการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัจจุบันอาจทำให้การบรรลุเป้าหมายนี้ท้าทายยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ด้วยการผสานประสบการณ์อันยาวนานและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าด้วยกัน มอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดของโตชิบาจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะโตชิบานอกจากจะผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันมานานหลายปีและมีเทคโนโลยีมากมายสำหรับการผลิตเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็วสูงแล้ว ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีตัวนำยิ่งยวดด้วย เมื่อผสานรวมเทคโนโลยีทั้งสองนี้เข้าด้วยกันแล้ว มอเตอร์ตัวนำยิ่งยวดใหม่ที่ได้จึงตอบโจทย์ทั้งด้านน้ำหนักเบา แรงขับเคลื่อนสูง และการหมุนด้วยความเร็วสูง อีกทั้งยังผลิตให้นำไปใช้กับยานพาหนะต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้ มอเตอร์ชนิดใหม่นี้จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผันไปใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งในอากาศยานและยานพาหนะแบบอื่นๆ

ด้วยประสบการณ์การผลิตอันยาวนาน นวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย และความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสร้างโลกให้น่าอยู่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โตชิบาจะมุ่งพัฒนาต่อไปเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนทั้งในอุตสาหกรรมต่างๆ และการขนส่ง

ที่มา: นิโอ ทาร์เก็ต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน