ระบบการผลิตโปรตีนลูกผสมจากยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และมีอิสระในการดำเนินการ

ศุกร์ ๓๑ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๗:๒๗
โปรตีนลูกผสม (Recombinant protein) คือ โปรตีนที่เกิดจากการผลิตโดยเซลล์เจ้าบ้านที่ปรับปรุงพันธุกรรมเพื่อการผลิตโปรตีนในปริมาณสูง และสามารถพัฒนากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีความสามารถในการผลิตโปรตีนลูกผสมระดับอุตสาหกรรม ทำให้ต้องนำเข้าโปรตีนลูกผสม เช่น เอนไซม์ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมาก แม้ว่าประเทศไทยจะมีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญที่สร้างโปรตีนและชีวภัณฑ์ต่างๆที่เป็นประโยชน์ แต่ที่ผ่านมาการผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติมักมีปัญหาการเจริญเติบโตช้า ได้โปรตีนเป้าหมายในปริมาณต่ำ และต้นทุนสูง นอกจากนี้ยังขาดการพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อนำมาใช้เป็นเซลล์เจ้าบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อการผลิตโปรตีนลูกผสมที่มีอิสระในการดำเนินการ (Freedom to operate)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำโดย ดร. นิรันดร์ รุ่งสว่าง นายเอกชัย ภูสีน้ำ และ ดร.สุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์ ทีมวิจัยระบบจุลินทรีย์เพื่อผลิตชีวโมเลกุล สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนลูกผสมจากจุลินทรีย์ได้แก่ ยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยที่มีประสิทธิภาพสูง เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิกว้าง และใช้แหล่งคาร์บอนราคาถูกได้หลายชนิด เช่น น้ำตาลทราย และกากน้ำตาล จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับยีสต์สายพันธุ์ทางการค้า ปัจจุบันนักวิจัยได้พัฒนาการผลิตโปรตีนลูกผสมออกนอกเซลล์ ซึ่งจะสามารถนำยีสต์ทนร้อนไปใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวาง โดยระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มีความปลอดภัย ไม่ติดทรัพย์สินทางปัญญา และปลอดจากการขออนุญาตใช้สิทธิจากต่างประเทศ

ดร. นิรันดร์ รุ่งสว่าง เปิดเผยว่าระบบการผลิตโปรตีนลูกผสมจากยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยที่พัฒนาขึ้นนี้ มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตโปรตีนลูกผสมชนิดต่างๆ ที่มีความต้องการทางอุตสาหกรรม เป็นระบบที่มีความปลอดภัย ทนร้อนได้สูง มีความจำเพาะกับวัตถุดิบราคาถูก ไม่ติดสิทธิต่างประเทศ มีอิสระในการดำเนินการ มีต้นแบบผลิตภัณฑ์ และผลิตโปรตีนลูกผสมต้นแบบได้หลากหลายชนิด อาทิ เอนไซม์ไซแลนเนส เอนไซม์ไฟเตส อินเตอร์เฟอรอล และโปรตีนแคปสิดของไวรัส การคิดค้นและพัฒนางานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชั่น และอุตสาหกรรมยาชีววัตถุสำหรับคนและสัตว์

ที่มา: ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง ตอกย้ำที่สุดของแบรนด์ครองใจแฟนบอล-ผลักดันวงการฟุตบอลไทย
๑๗:๔๐ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ คว้ารางวัลระดับโลก Global Brand Awards 2024 ตอกย้ำสุดยอดโรงภาพยนตร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
๑๗:๕๐ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ส่งโครงการมิกซ์ยูส Silom Edge คว้า Fitwel มาตรฐานระดับโลก การันตีสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร
๑๖:๐๓ ท่องไปในโลกแห่งศิลปะนามธรรม จากการแสวงหาความเป็นไปได้อย่างไม่มีสิ้นสุด นิทรรศการแรกในประเทศไทยของศิลปินชื่อดังระดับโลก เมกุรุ
๑๖:๐๘ วว. ร่วมฉลอง 26 ปี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เราวัดวันนี้ เพื่อพรุ่งนี้ ที่ยั่งยืน พร้อมโชว์ศักยภาพงานบริการวิทยาศาสตร์
๑๖:๔๖ ยัวซ่า แบตเตอรี่ เดินหน้าโครงการ YUASA FOOTBALL INSPIRATION 2024 สนามที่ 2 ณ สนาม TX Park Soccer Stadium
๑๖:๒๗ นวัตกรรมแฟชั่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง: ผู้ร่วมก่อตั้ง Hope-Bangkok คุณ Johanna Levy ได้รับรางวัลด้านมนุษยธรรม
๑๖:๔๖ มูอิน กรุงเทพฯ ร่วมกับอวานี สุขุมวิท กรุงเทพฯ เตรียมจัดปาร์ตี้ดีเจระเบิดความมันส์ต้อนรับเดือนไพรด์
๑๖:๒๘ OCEAN LIFE ไทยสมุทร ส่งโอเชี่ยนไลฟ์ เบทเทอร์ ไลฟ์ 95/60 (Package) แบบประกันตลอดชีพแนวคิดใหม่ ที่จะช่วยให้คุณออกแบบอนาคตที่ดียิ่งกว่าสำหรับวัยเกษียณ
๑๖:๑๐ CIMB THAI ชวนลูกค้าเปิดบัญชีเพื่อการลงทุน ซื้อหุ้นกู้ไม่ต้องออกใบ ฝากใบหุ้นกู้ไว้กับ Digital Custodian ผ่านแอป CIMB