ม.มหิดล หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม ด้วยนวัตกรรม "ชุดทดสอบความชอบรสเค็ม"

จันทร์ ๐๓ เมษายน ๒๐๒๓ ๑๐:๑๓
ความเค็มไม่ใช่แค่การเติมเกลือลงไปในอาหาร แต่ยังรวมถึงอาหารและขนมที่แฝงไปด้วยเครื่องปรุงรสที่อุดมไปด้วยโซเดียม และทำให้เกิดโรคตามมาอีกมากมาย ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่โรคความดันโลหิตสูงที่หลายคนเข้าใจ
ม.มหิดล หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม ด้วยนวัตกรรม ชุดทดสอบความชอบรสเค็ม

ยิ่งไปกว่านั้นส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าเป็น "ผู้ติดรสเค็ม" หลายรายมักรู้ตัวเมื่อสาย หลังต้องเจ็บป่วยด้วยเหตุดังกล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงใจ มาลัย ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะผู้สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมซึ่งได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรื่อง "ชุดทดสอบความชอบรสเค็ม" ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของคนไทย โดยแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้ารับการทดสอบติดรสเค็มเพียงใด จากการเตรียมอาหาร และการปรุงรส ฯลฯ

ซึ่งอันตรายจากความเค็มไม่ได้มาพร้อมกับความเสี่ยงต่อโรคเท่านั้น แต่ยังทำให้ร่างกายเกิด "ภาวะบวมน้ำ" ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังส่งผลในระยะยาวต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้ออกแบบชุดทดสอบให้นักโภชนาการและผู้ดูแลในสถานพยาบาลเป็นผู้ประเมิน เนื่องจากจะได้ผลที่เที่ยงตรงกว่าการให้ผู้เข้ารับทดสอบประเมินตัวเอง ซึ่งอาจให้คำตอบที่เข้าข้างตัวเองอย่างไม่ตั้งใจ จนส่งผลให้ได้ข้อสรุปที่คลาดเคลื่อน

โดยเป็นการใช้ทดสอบเพื่อการเฝ้าระวัง เสริมการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งบอกได้เพียงตัวเลข แต่ไม่สะดวกใช้ในบางโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือวัดความเค็มที่จะต้องมีการเตรียมอาหารให้เหมาะสมก่อนการวัด เนื่องจากต้องจุ่มหัววัด (probe) ลงไปในอาหาร และไม่สามารถวัดได้กับอาหารในบางลักษณะ เช่น อาหารแห้ง และอาหารข้นหนืด เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการวัดด้วยหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า

ผู้วิจัยจึงได้สรรหาวิธีการต่างๆ มาเพื่อใช้ในการทดสอบ ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด ได้แก่ การให้ผู้เข้ารับการทดสอบเลือกชิมน้ำซุปที่มีความเค็ม 4 ระดับ แล้วประเมินผล เพื่อให้ได้ทราบก่อนว่าผู้เข้ารับการทดสอบชอบรสเค็มในระดับใด

จากนั้นเป็นการสอบถามด้วยข้อคำถามหลักเกี่ยวกับการเตรียมอาหาร และการปรุงรส ซึ่งครอบคลุมถึงปริมาณ และความถี่ในการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มในระดับดังกล่าว เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการบริโภคอาหารรสเค็ม

ปัจจุบันชุดทดสอบความชอบรสเค็ม ได้ใช้เป็นคู่มือในการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยทั้งที่เป็นผู้ป่วยและผู้ที่ยังไม่ป่วย เพื่อเพิ่มการเฝ้าระวังไม่ให้ประมาทต่อความเค็ม

และพิสูจน์ว่าการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หากใส่ใจสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า ควรปรับเปลี่ยนนิสัยติดรสเค็ม โดยหันมาเริ่มลดเค็มอย่างจริงจังกันตั้งแต่วันนี้

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง