ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

พุธ ๒๖ เมษายน ๒๐๒๓ ๑๑:๑๓
นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ "อัลลิซิน" ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม สู่เป้าหมายในการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เพื่อประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูลในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์
ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food Sciences) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ออสเตรเลีย และ ดร.บินห์ เหงียน (Dr.Binh Nguyen) นักวิจัยชาวเวียดนาม ซึ่งจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ได้เดินทางมาใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา

รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า "เราใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS) เก็บข้อมูลรูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ ในกระเทียมหลากหลายสายพันธุ์และกระเทียมที่ปลูกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ตั้งต้นมีผลต่อปริมาณสาร "อัลลิซิน" (Allicin) ในกระเทียมหรือไม่ ซึ่งอัลลิซินเป็นสารที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ มีการแปรรูปกระเทียมเป็นอัลลิซินอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูล อุตสาหกรรมจึงต้องการกระเทียมที่ให้ปริมาณอัลลิซินสูง ซึ่งงานวิจัยนี้ต้องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของอัลลิซินในกระเทียม"

"งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยการเกษตรนานาชาติแห่งออสเตรเลีย (ACIAR) ซึ่งเรื่องกระเทียมและพืชวงศ์มะเขือในออสเตรเลีย โดยที่ออสเตรเลียปลูกกระเทียมเยอะมาก และกระเทียมของออสเตรเลียขึ้นชื่อเรื่องมีปริมาณอัลลิซินสูง โดยอัลลิซินเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม และรู้จักกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์ ดีต่อหลอดเลือดหัวใจ และมีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อต่างๆ"

"ซินโครตรอนประเทศไทยสามารถศึกษาธาตุเบาอย่างซัลเฟอร์ได้ และเพื่อนร่วมงานของเราที่มาวิจัยพร้อมกันก็ศึกษาเรื่องฟอสฟอรัส ซึ่งการทำการวิจัยธาตุทั้งสองนี้โดยใช้แสงซินโครตรอนนั้นไม่สามารถทำได้ที่ออสเตรเลีย" รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์กล่าว โดยการเดินทางมาวิจัยที่ประเทศไทยยังสะดวกต่อการเดินทางสำหรับเขา และ ดร.บินห์ เหงียน ด้วย

"สารประกอบอัลลิซินมีความสำคัญต่อกลิ่นของกระเทียม หากใครชอบกระเทียมก็จะอยากได้กระเทียมที่มีกลิ่นฉุน" ดร.บินห์ เหงียน กล่าวและบอกด้วยว่าประทับใจต่อเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่มิตร คอยช่วยเหลือ และมีความเชี่ยวชาญ จึงคิดว่าจะกลับมาทำวิจัยที่เมืองไทยอีกและแนะนำเพื่อนๆ ที่เวียดนามให้มาทำวิจัยที่นี่ด้วย

ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง