มรภ.สงขลา ชวนเที่ยวงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" จัดเต็มการแสดง 9 วัน 9 คืน สะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน

พุธ ๐๙ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๗:๐๙
มรภ.สงขลา จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" วันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 อัดแน่นการแสดงตลอด 9 วัน 9 คืน ชูวิถีวัฒนธรรมสะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน
มรภ.สงขลา ชวนเที่ยวงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก จัดเต็มการแสดง 9 วัน 9 คืน สะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" ระหว่างวันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า การประกวดแข่งขันด้านศิลปวัฒนธรรม นิทรรรศการภาพถ่าย สักการะทวดช้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย การแสดงจากวงดนตรีลูกทุ่งราชภัฏ การแสดงเยาวชน การแสดงวัฒนธรรม 4 ภาค การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และศิลปินวงดนตรี ตลอด 9 วัน 9 คืน พิธีเปิดวันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภา มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งมอบโล่เชิดชูเกียรติปิตาภรณ์แผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2566 และ มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลประกวดภาพถ่าย "โนรา มรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ"

ทั้งนี้ มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงหรือเป็นรากแก้วของแผ่นดิน จึงได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของของชาติและของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เนื่องจากปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย เช่น การแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมมีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม หากมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟู รวมถึงพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจ ย่อมส่งผลให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยลงไปจนแทบจะสูญหาย วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรได้รับการถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลัง ซึ่งการอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืนในการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ และการเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยให้นักศึกษาเป็นผู้สืบทอดจากผู้รู้ในชุมชน จะช่วยให้เข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud