"ต้อหิน" ตรวจพบก่อนรักษาทัน ป้องกันตาบอดได้

อังคาร ๐๕ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๔:๕๓
"ต้อหิน" ตรวจพบก่อนรักษาทัน ป้องกันตาบอดได้
ต้อหิน ตรวจพบก่อนรักษาทัน ป้องกันตาบอดได้

"ต้อหิน" เป็นโรคที่มีการเสื่อมของเส้นประสาทตา ทำให้มีความบกพร่องในการส่งสัญญาณภาพ เมื่อส่งสัญญาณภาพไม่ได้ก็จะส่งผลทำให้สูญเสียการมองเห็นไปโดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต้อหินมักจะมี "ความดันลูกตาสูง" กว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการทำลายของเส้นประสาทตา

อาการของโรคต้อหินในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ ต่อมาเมื่อประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่า 40% ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการสูญเสียการมองเห็น โดยลานสายตาจะแคบลงเรื่อยๆ และถ้าไม่ได้รับการรักษาเส้นประสาทตาก็จะสูญเสียไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งมองไม่เห็นในที่สุด

  • จะรู้ได้ยังไง? ว่าเป็นโรคต้อหิน

การตรวจผู้ป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคนี้ อย่างแรกคือ "การตรวจวัดความดันตา" ซึ่งแพทย์จะส่องดูลักษณะในดวงตาว่ามีกรณีใดที่เข้าได้กับต้อหินบ้าง เช่น ลักษณะขั้วประสาทตาที่ใหญ่กว่าปกติ เพราะเส้นประสาทถูกกดเบียดหรือถูกทำลายหายไป รวมถึงการตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจ "ลานสายตา"ซึ่งเป็นการหาจุดบอดที่เส้นประสาทจุดนั้นตรงนั้นว่าทำงานหรือไม่? นอกจากนี้ยังมีวิธีทดสอบที่เรียกว่า "การสแกนขั้วประสาทตา" หรือ OCT คือเป็นการใช้อินฟราเรดเลเซอร์ยิงเข้าไปวัดความหนาของเส้นประสาท หรือไปดูเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นว่ายังสมบูรณ์ดีหรือไม่ จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลรวมกันแล้วสรุปว่าผู้ป่วยเป็นโรคต้อหินหรือไม่

  • ใครบ้าง?.. ที่เสี่ยงเป็นโรคต้อหิน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน คือ ผู้ที่มีระดับความดันตาค่อนข้างสูง โดยสูงมากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปอายุที่มากขึ้น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน เคยเกิดอุบัติเหตุที่ตาหรือเคยได้รับการผ่าตัดตา มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ที่มีกระจกตาบางกว่าปกติ ทั้งนี้สามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ กลุ่มที่พบมากที่สุดคือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป นอกจากนี้คนที่สายตาสั้นหรือยาวมากๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินได้ในอนาคต

  • โรคต้อหินรักษาได้อย่างไรบ้าง?

การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ความดันตาลดลง เป็นการป้องกันและยับยั้งการสูญเสียเส้นประสาทตาจากโรคต้อหินเนื่องจากเส้นประสาทตาส่วนที่เสียไปแล้วจะไม่สามารถกลับคืนมาได้ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา การทำเลเซอร์ และการผ่าตัดโดยอาจเริ่มจากการใช้ยาที่เป็นประเภทยาหยอดตาส่วนการใช้เลเซอร์สามารถใช้ร่วมกับยาได้เพื่อช่วยประคับประคองเส้นประสาทตาไม่ให้ถูกกดทับส่วนการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ยาและเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้จึงต้องผ่าตัดเพื่อลดความดันตาให้ต่ำลง โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

** แนะนำว่าผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น ควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันตาและตรวจขั้วประสาทตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอาจตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์ หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

ต้อหินมีความอันตรายต่อดวงตาของเรามาก หากไม่ดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีก็อาจทำให้เสี่ยงสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ นอกการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำแล้ว การทานอาหารที่มีประโยชน์มีวิตามินอี เอ และวิตามินซีบำรุงสายตา และหลีกเลี่ยงการมองแสงแดดจ้าสวมแว่นกันแดดป้องกันแสงยู ก็ถือเป็นการป้องกันดวงตาที่ดี ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้งานดวงตาได้ยาวนานมากขึ้น

ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง