ม.มหิดลคิดค้น 'สมการประเมินคาร์บอนเครดิต'ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเชิงลึก

พุธ ๐๖ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๖:๕๓
ภาคตะวันออกของประเทศไทย แม้จะนับเป็นที่ "หยั่งราก" แหล่งที่สองของ "ต้นยางพารา" พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย และปลูกในพื้นที่ที่ไม่กว้างใหญ่มากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอื่นๆ
ม.มหิดลคิดค้น 'สมการประเมินคาร์บอนเครดิต'ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเชิงลึก

สิ่งสำคัญที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกต้นยางพาราซึ่งไม่แพ้มูลค่าการส่งออก คือ "ค่าคาร์บอนเครดิต" หรือตัวเลขของการ "ปล่อย" หรือ "กักเก็บ" ก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ (Project Base) ซึ่งวัดออกมาเป็นหน่วยของ "ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า" ที่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้สามารถซื้อขายเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม "สมการเพื่อการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ปลูกยางพารา" ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เหตุผลที่เลือกศึกษาการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตในยางพารา เนื่องจากเป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีอายุยาวนานมากกว่า25 ปี อีกทั้งเคยมีการศึกษาว่าหากเปรียบเทียบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนระหว่างพื้นที่ปลูกยางพารา กับป่าเสื่อมโทรมในประเทศ จะพบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพาราสูงกว่า

เดิมการสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินค่าคาร์บอนต้องสิ้นเปลืองทั้งกำลังทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณ ทีมวิจัยจึงได้คิดค้นและพัฒนา "สมการเพื่อการประเมินค่าคาร์บอนเครดิต" ที่คำนวณจากขนาดพื้นที่ และอายุของยางพารา เพื่อหาค่าเฉลี่ยของปริมาณการกักเก็บก๊าซคาร์บอน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาเป็นตัวช่วยสำคัญในเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้สามารถประหยัดได้ทั้งกำลังทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณ

ซึ่งตามข้อมูลโดย การยางแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 พบพื้นที่ปลูกต้นยางพาราในภาคตะวันออกของประเทศไทยสายพันธุ์ RRIM 600 RRIT 251 ประมาณ 2 ล้านไร่ มีการกักเก็บคาร์บอนที่อยู่ในดินประมาณ 16.19 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ที่ระดับความลึกของดิน 0 - 50 เซนติเมตร มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือดิน19.66 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกยางพารา 1.93 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม กล่าวต่อไปว่า การศึกษาในระยะแรกจะแยกเก็บข้อมูลตามช่วงอายุของต้นยางพารา โดยแยกเป็นอายุ 1 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปีโดยมีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมเก็บข้อมูลในทุกมิติ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เก็บน้ำยาง ศูนย์รับซื้อน้ำยาง สหกรณ์รับซื้อผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ

และในอนาคตจะได้มีการต่อยอดเพื่อศึกษาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเชิงลึก เพื่อเสนอ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สู่การประยุกต์ใช้จริงระดับนโยบายในภาคอื่นๆ ของประเทศไทยต่อไป

ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความตระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่คอยชี้ชะตาการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดลคิดค้น 'สมการประเมินคาร์บอนเครดิต'ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเชิงลึก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว