World Geothermal Congress 2023 เปิดฉากขึ้นในกรุงปักกิ่ง ส่งเสริมกลยุทธ์พัฒนาเชิงนิเวศเพื่อสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จันทร์ ๑๘ กันยายน ๒๐๒๓ ๐๘:๓๔
การประชุม World Geothermal Congress ครั้งที่ 7 (WGC2023) ซึ่งจัดโดยบริษัท ไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชัน หรือ ซิโนเปค กรุ๊ป (Sinopec Group) เปิดฉากขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติจีนในกรุงปักกิ่ง ภายใต้ธีม "ความร้อนใต้พิภพที่สะอาด โลกสีเขียว" (Clean Geothermal, Green Earth) นับเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของจีนในฐานะเจ้าภาพงานความร้อนใต้พิภพระดับนานาชาติ
World Geothermal Congress 2023 เปิดฉากขึ้นในกรุงปักกิ่ง ส่งเสริมกลยุทธ์พัฒนาเชิงนิเวศเพื่อสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

WGC 2023 จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,400 รายจาก 54 ประเทศและภูมิภาค การประชุมประกอบด้วยฟอรั่มและการสัมมนา 88 รายการ ควบคู่ไปกับนิทรรศการเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีบริษัทเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ WGC ทำหน้าที่เป็นเวทีชั้นนำระดับโลกที่ผู้นำจากอุตสาหกรรม, สถาบันการศึกษา, ภาคการเงิน, รัฐบาล, เอ็นจีโอ และชุมชนต่าง ๆ มาประชุมกันทุกสามปี เพื่อแบ่งปันความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล่าสุด และร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน

WGC2023 ได้เผยแพร่รายงาน 2 ฉบับ ได้แก่ "รายงานความคืบหน้าของการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพทั่วโลก" (Report on the Progress of Global Geothermal Power Generation) และ "การผลิตความร้อนและความเย็นใต้พิภพ, การทบทวนทั่วโลกปี 2023" (Geothermal Heating and Cooling Production, 2023 Worldwide Review) รายงานเหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำเร็จในปัจจุบันในการพัฒนาความร้อนใต้พิภพทั่วโลก:

  • ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพเปิดดำเนินการใน 31 ประเทศ โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั่วโลกรวม 16,260 เมกะวัตต์ ครอบคลุมแหล่งความร้อนใต้พิภพ 197 แห่ง
  • ทรัพยากรความร้อนใต้พิภพที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้ผลผลิตเฉลี่ยเกือบ 3 เมกะวัตต์-ชั่วโมงต่อหลุมต่อปี
  • ในปี 2565 กำลังการผลิตติดตั้งทั่วโลกสำหรับการทำความร้อนและความเย็นใต้พิภพสูงถึง 173 ล้าน kWh เพิ่มขึ้น 60% จากระดับปี 2563 ขณะที่ประเทศจีนมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญที่สุดในภาคนี้
  • ในปี 2565 การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1,476 PJ (410 TWh) เพิ่มขึ้น 44% จากปี 2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความร้อนและความเย็นใต้พิภพของอาคารคิดเป็นประมาณ 79% ของการใช้พลังงานทั้งหมดนี้

นอกจากนี้ จีนยังได้เผยแพร่รายงานระดับชาติครั้งแรกเกี่ยวกับการพัฒนาความร้อนใต้พิภพ ในหัวข้อ "รายงานการพัฒนาคุณภาพสูงของอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพในประเทศจีน" (Report on High-Quality Development of Geothermal Industry in China) จีนมีทรัพยากรความร้อนใต้พิภพประมาณหนึ่งในหกของโลก ซึ่งมีศักยภาพมหาศาลในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ จีนครองอันดับ 1 ของโลกในการใช้ความร้อนใต้พิภพโดยตรงมาหลายปีแล้ว

ซิโนเปคเป็นหัวหอกในการพัฒนาและการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพของจีน บริษัทมีห้องปฏิบัติการหลักหนึ่งแห่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรความร้อนใต้พิภพ และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยีมากกว่า 130 ฉบับ ปัจจุบันซิโนเปคให้บริการทำความร้อนใต้พิภพในกว่า 60 เมืองใน 11 มณฑลของจีน ภายในเมืองเหล่านี้มี 22 แห่งที่มีความสามารถในการทำความร้อนใต้พิภพเกินกว่า 1 ล้านตารางเมตร คาดว่าภายในสิ้นปี 2566 ซิโนเปคจะมีความสามารถในการทำความร้อนใต้พิภพเกิน 100 ล้านตารางเมตร



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น