ไปรษณีย์ไทยถ่ายทอดประวัติศาสตร์140 ปี ย้อนตำนาน "โสฬศ" ปฐมบทแสตมป์ไทย ที่สุดของนักสะสมไทยและทั่วโลก จำหน่ายแล้ววันนี้

พฤหัส ๒๑ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๖:๕๔
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดตัว แสตมป์ชุด "140 ปี ตราไปรษณียากรไทย" ย้อนรอยตำนาน "โสฬศ" แสตมป์ชุดแรกของประวัติศาสตร์ไทย โดยได้นำภาพแสตมป์โสฬศ ลับมาพิมพ์ใหม่เพื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์ ซึ่งจัดทำขึ้นจำนวน 2 ชุด โดยชุดที่ 1 มี 4 แบบ ได้แก่ ชนิดราคาโสฬศ อัฐ เสี้ยว ซีก ออกจำหน่ายแล้ววันนี้ ชุดที่ 2 มี 2 แบบ ได้แก่ ชนิดราคาเฟื้อง สลึง ออกจำหน่าย 27 พฤศจิกายน 2566 ทั่วประเทศ ทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ www.thailandpostmart.com
ไปรษณีย์ไทยถ่ายทอดประวัติศาสตร์140 ปี ย้อนตำนาน โสฬศ ปฐมบทแสตมป์ไทย ที่สุดของนักสะสมไทยและทั่วโลก จำหน่ายแล้ววันนี้

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า แสตมป์ชุด "140 ปี ตราไปรษณียากรไทย" เป็นหนึ่งในแสตมป์ชุดสำคัญของปี 2566 ซึ่งนอกจากจะเป็นวาระครบ140 ปี ของกิจการไปรษณีย์ไทยแล้วยังครบ 140 ปี ของแสตมป์ไทยด้วยเช่นกัน โดยไปรษณีย์ไทยได้นำภาพแสตมป์โสฬศ แสตมป์ดวงแรกของไทย ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 4 ส.ค. 2426 มาจัดพิมพ์ใหม่ในรูปแบบภาพแสตมป์บนดวงแสตมป์ เพื่อย้อนรำลึกถึงแสตมป์อันทรงคุณค่าที่เป็นจุดเริ่มต้นของบันทึกหน้าประวัติศาสตร์กิจการไปรษณีย์และดวงตราไปรษณียากรของประเทศ โดยจัดทำเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 มี 4 แบบ นำภาพแสตมป์โสฬศชนิดราคา โสฬศ อัฐ เสี้ยว ซีก มาพิมพ์บนพื้นหลังลวดลายกราฟิกแบบตะวันตกเพื่อสื่อถึงความคลาสสิก
และวัฒนธรรมตะวันตกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นกิจการไปรษณีย์สยามในสมัย ร.5"

แสตมป์โสฬศจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพหน้าดวงแสตมป์เป็นภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระองค์ผินพระพักตร์เบื้องซ้ายภายในกรอบรูปไข่ ประกอบด้วย ชนิดราคา โสฬศ อัฐ เสี้ยว ซีก เฟื้อง และ สลึง พิมพ์ที่โรงพิมพ์วอเตอร์โลว์ แอนด์ ซันส์ จำกัด ณ สหราชอาณาจักร สำหรับในช่วงเวลาที่จัดพิมพ์แสตมป์โสฬศนั้น ประเทศสยามยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ ทำให้แสตมป์ชุดนี้เป็นแสตมป์ไทยเพียงชุดเดียวที่ไม่มีชื่อประเทศปรากฏบนดวงแสตมป์ และอีกเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์แสตมป์ไทย คือ แสตมป์ชนิดราคาเฟื้องถูกส่งมาล่าช้ากว่ากำหนดถึง 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สยามเลิกใช้เงินเฟื้องแล้วจึงไม่มีการนำออกมาใช้งาน จึงทำให้เป็นแสตมป์ชุดที่หายาก และเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก

สำหรับแสตมป์ชุด "140 ปี ตราไปรษณียากรไทย" ใช้เทคนิคพิมพ์ฟอยล์ และปั๊มดุนนูน สร้างมิติที่น่าสนใจราคาชุดละ 20 บาท (4 ดวง ดวงละ 5 บาท) ซองวันแรกจำหน่าย 33 บาท จำหน่าย 20 กันยายน 2566 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทยและแสตมป์ไทย เฉพาะวันแรกจำหน่าย ณ ไปรษณีย์ไทย 14 สาขา ได้แก่ ปณ. ดุสิต สามเสนใน จตุจักร หน้าพระลาน สำนักงานใหญ่ไปรษณีย์ไทย ลาดพร้าว จรเข้บัว คลองจั่น สำเหร่ ภาษีเจริญ บางกอกน้อย ไปรษณีย์กลางบางรัก พระโขนง และราษฎร์บูรณะ ชุดที่ 2 มี 2 แบบ นำภาพแสตมป์โสฬศชนิดราคา เฟื้อง และ สลึง มาจัดพิมพ์โดยใช้รูปแบบและเทคนิคลักษณะเดียวกันกับชุดที่ 1 ราคาชุดละ 10 บาท ( 2 ดวงๆ ละ 5 บาท) ซองวันแรกจำหน่าย 21 บาท จำหน่าย 27 พฤศจิกายน 2566 และมีจำหน่ายทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ www.thailandpostmart.com สอบถามเพิ่มเติมฝ่ายบริหารลูกค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการไปรษณีย์ โทร 0 2573 5480, 0 2573 5463

ติดตามข่าวสารไปรษณีย์ไทย เพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ : www.thailandpost.co.th
เฟซบุ๊ก : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ทวิตเตอร์ : @Thailand_Post
ไลน์ออฟฟิเชียล : @Thailand Post

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ไปรษณีย์ไทยถ่ายทอดประวัติศาสตร์140 ปี ย้อนตำนาน โสฬศ ปฐมบทแสตมป์ไทย ที่สุดของนักสะสมไทยและทั่วโลก จำหน่ายแล้ววันนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๑ อายุน้อยก็เสี่ยงนะ! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young
๐๘:๒๕ เกิร์ลกรุ๊ปสาว DE GIFT' (เดอ กิฟท์) ปังเกินเบอร์!!!! เตรียมปล่อยของโชว์ Performance เวที Dalat Best Dance Crew 2024
๐๘:๓๘ ทรีตเมนต์ยกกระชับผิวหน้า
๐๘:๒๑ โค้งสุดท้ายหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหารรุ่นแรก เผยชุด 2 มีบิ๊กเนมสนใจเพียบทั้งอดีต รมต.และ สว.
๐๘:๐๙ DEK SPU โชว์สกิล! คว้ารางวัล SPU TikTok Challenge 2024
๐๘:๑๔ แพ็กเกจห้องประชุม สัมมนาใจกลางกรุงเทพฯ ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี
๐๘:๔๖ มารู้จักอาจารย์ของแพทย์ คุณหมอหนุ่ม - อาจารย์นายแพทย์ รัสมิ์ภูมิ สุเมธีวิทย์
๐๘:๒๖ ร่วมวางพวงมาลาวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๐๘:๓๕ กทม. ประสาน กฟน. เร่งแก้ไขฝาบ่อพักท่อชำรุดเชิงสะพานข้ามแยกเสนานิคม
๐๘:๓๒ ก.แรงงานหนุนจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 67 พร้อมเปิดพื้นที่รับฟังข้อเรียกร้อง ย้ำแรงงานเป็นกำลังผลักดันเศรษฐกิจสังคมไทย