วว. ให้บริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนงานวิจัย ภาคอุตสาหกรรมอวัยวะเทียม วัสดุฝังในร่างกาย

จันทร์ ๐๙ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๑๒:๔๙
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ( MATERIAL PROPERTIES ANALYSIS AND DEVELOPMENT CENTRE : MPAD) ในส่วนของ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสมรรถนะและความปลอดภัย ให้บริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์ เพื่อสนับสนุนการยกระดับการตรวจทดสอบคุณภาพและความแข็งแรงของวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอวัยวะเทียมหรือวัสดุฝังในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ตามมาตรฐานการออกแบบและมีความปลอดภัยในการใช้งาน
วว. ให้บริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนงานวิจัย ภาคอุตสาหกรรมอวัยวะเทียม วัสดุฝังในร่างกาย

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า MPAD พร้อมให้บริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์ด้วยเครื่องมือทดสอบทางกล เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหว เครื่องมือทดสอบการสึกหรอและกัดกร่อน พร้อมทั้งเครื่องสแกนสามมิติและเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเข้าไปช่วยในการสร้างชิ้นส่วนอวัยวะเทียมเพื่อใช้ในการทดสอบเบื้องต้น ช่วยให้แพทย์และนักวิจัยสามารถออกแบบและสร้างแบบจำลองอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ตรงกับกายวิภาคของผู้ป่วย หรือสร้างต้นแบบสำหรับการนำไปใช้ในการทำวิศวกรรมย้อนรอยทางการแพทย์ ทั้งนี้การให้บริการดังกล่าวของ วว. จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการวิจัย การวินิจฉัย การวางแผนและแนวทางการรักษาผู้ป่วย โดยงานสแกนสามมิติและเครื่องพิมพ์สามมิติ จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านต่างๆ รวมทั้งในทางการแพทย์ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

"...มิติหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินงานของ วว. คือ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผ่านการให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รับรองระบบคุณภาพ อบรมและที่ปรึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานและความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ดร.ดวงพร อุนพานิช ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการให้บริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์แล้ว MPAD ยังให้บริการและคำปรึกษาด้านการทดสอบ วิเคราะห์ และตรวจสอบ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากลและข้อกำหนดต่างๆ ให้บริการตรวจประเมินอายุการใช้งานของโครงสร้างทางวิศวกรรมเครื่องจักรและโรงงาน รวมถึงการให้บริการคำปรึกษาเชิงเทคนิคเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาด้านวัสดุและกระบวนการ โดยสามารถให้บริการได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ครอบคลุมการดำเนินงาน การวิเคราะห์ ทดสอบ ทั้งแบบทำลายและแบบไม่ทำลาย บริการวิจัย/วิเคราะห์ทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพ รวมถึงการวิเคราะห์หาสาเหตุความเสียหายของชิ้นส่วน โครงสร้างและเครื่องจักร การตรวจสอบและประเมินอายุการใช้งานที่เหลือของหม้อน้ำ หม้อต้ม และภาชนะรับความดัน และโครงสร้างทางวิศวกรรม การเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ การบริการงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมและให้คำปรึกษาด้านมาตรฐาน การทดสอบวัสดุและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวัสดุและกระบวนการวิเคราะห์ ทดสอบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยพร้อมให้บริการครอบคลุมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์ ได้ที่ โทร 0 2577 9264-69 โทรสาร 0 2577 9308 E-mail : [email protected]

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วว. ให้บริการทดสอบชีวกลศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนงานวิจัย ภาคอุตสาหกรรมอวัยวะเทียม วัสดุฝังในร่างกาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที