ดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

พฤหัส ๑๙ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๑๑:๒๓
ในสภาวการณ์ปัจจุบันมีอัตราการการป่วยโรคซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันโลกของเรามีประชากรราว 7.6 พันล้านคน และมีคนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน หรือเกือบ 4% เลยทีเดียว ส่วนในคนไทยเองนั้นพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 70 กว่าล้านคน และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,000 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายก็คือโรคซึมเศร้านั่นเอง
ดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

สถานการณ์ป่วยโรคซึมเศร้าจนนำมาสู่การฆ่าตัวตายกำลังเป็นปัญหาคุกคามสังคมไทย ในปี 2564 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 

แต่ปัญหาของในประเทศไทย คือ มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษา ผู้ที่ป่วยรุนแรงจะนำไปสู่ความพยายามฆ่าตัวตาย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เราจึงตระหนักถึงความสำคัญถึงการให้ข้อมูลของโรคและแนวทางการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ดังนี้

โรคซึมเศร้าหรือโรคภาวะซึมเศร้า Depression เป็นความผิดปกติทางด้านอารมณ์ชนิดหนึ่ง ลักษณะอาการทางคลินิกที่สำคัญคือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่ใจอย่างชัดเจนเป็นระยะเวลานาน มักมีการรับรู้และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปร่วมด้วย ในกรณีรุนแรงอาจมีความคิดและพฤติกรรมทำร้ายร่างกายตัวเองจนไปถึงฆ่าตัวตาย

การอธิบายภาวะซึมเศร้าในทางการแพทย์แผนจีน

ภาวะซึมเศร้าในทางแพทย์จีนได้จัดอยู่ในกลุ่มอาการเตียน โรคกลุ่มอาการเตียน "??" เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท เนื่องจากมีเสมหะมาอุดกั้นทวารของหัวใจ ทำให้การทำงานของเสินแปรปรวน ลักษณะพิเศษของโรค คือ จิตใจซึมเศร้า อารมณ์เฉื่อยชา เงียบขรึม  พูดจาสับสน อ่อนเพลียหรือเคลื่อนไหวน้อย

คัมภีร์ซู่เวิ่น บทเสวียนหมิงอู่ชี่เพียน???-??????อธิบายไว้ว่า "เสียชี่เข้าสู่หยางทำให้เกิดอาการคุ้มร้ายอาละวาดอาจทำร้ายคน (ขวง ?) เสียชี่เข้าสู่อินทำให้เกิดอารามณ์ผิเดเพี้ยนไม่ทำร้ายคน (เตียน ?)" 

คัมภีร์ตันซีซินฝ่า บทเตียนขวง ?????-???อธิบายไว้ว่า  "ไฟจากอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้า ทำให้เกิดอารมณ์ทั้งเจ็ด อัดอั้นกลายเป็นเสมหะ จึงกลายเป็นอาการของโรคจิตเภทบ้าอาละวาด ควรรักษาที่ตัวบุคคล ไม่ใช่รักษาได้ด้วยยา ควรตรวจวินิจฉัยและสังเกตสาเหตุเพื่อปรับให้สมดุล โกรธทำลายตับทำให้เกิดเป็นวิกลจริต ให้ให้อารมร์ครุ่นคิดเพื่อเอาชนะ ให้อารมณ์หวาดกลัวเพื่อบรรเทาอาการ" "เตียนจัดเป็นอิน ขวงจัดเป็นหยาง …ส่วนใหญ่มักเกิดจากเสมหะติดขัดอยู่ที่หัวใจและกลางอก"

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค

  1. การได้รับการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ครุ่นคิดไม่ได้ดั่งใจหวัง ความเสียใจดีใจปะปนกัน สับสน โกรธ ตกใจ หรือหวาดกลัว
  2. เสมหะอุดกั้น
  3. พันธุกรรม

การเปี้ยนเจิง (วิเคราะห์แยกกลุ่มอาการ) และการรักษา 

  1. กลุ่มชี่ตับติดขัด อาการหลัก คือ ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย โกรธง่าย ชอบร้องไห้ ถอนหายใจถี่ จุกแน่นกลางอกและบริเวณชายโครง ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรเสวียน หลักการรักษา >> ปรับสลายชี่ตับ เพิ่มการไหลเวียนของชี่ 
  2. กลุ่มเสมหะติดขัด อาการหลัก คือ อาการซึมเศร้า แสดงอาการเฉยชา พูดจาสับสนหรือบ่นพึมพำกับตัวเอง ดีใจเสียใจผิดปกติ แยกแยะความสกปรกกับสะอาดไม่ได้ มีอาการเบื่ออาหาร ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรเสวียนหัว  หลักการรักษา >> เน้นไปที่การปรับชี่สลายติดขัด สลายเสมหะอุดกันเสิน
  3. กลุ่มหัวใจและม้ามพร่อง อาการหลักคือ เหม่อลอย พฤติกรรมเปลี่ยน ใจสั่น ตกใจง่าย เศร้าเสียใจชอบร้องไห้ แขนขาอ่อนแรง เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย หน้าซีด ลิ้นซีด ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรซี่รั่ว หลักการรักษา >> เน้นเสริมม้าม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลชี่สงบจิตใจ

หลักการรักษาทางด้านการแพทย์แผนจีน >> เน้นการปรับสมดุลชี่ สลายติดขัด เพิ่มการทำงานของชี่ และการบำบัดทางจิต

วิธีการรักษา >> เช่น การฝังเข็ม การใช้เครื่องการตุ้นฟ้า ทานยาจีน ฝังเข็มหู การฝังเข็มศีรษะ และการนวดทุยหนา และให้คำแนะนำหลังการรักษาให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเพื่อช่วยในการฟื้นฟูสภาวะทางอารมณ์ให้กับผู้ป่วย คือ

  1. การสร้างความบันเทิงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตื่นเต้น เพื่อให้มีชีวิตชีวา มีความสุข ร่าเริง
  2. ส่งเสริมงานอดิเรกที่ผู้ป่วยสนใจ 
  3. มีการให้คำปรึกษาและรับฟังปัญหาของผู้ป่วย
  4. คนรอบข้างหรือคนในครอบครอบไม่ควรเลือกปฏิบัติเฉยชา เยาะเย้ยหรือเกลียดชังผู้ป่วย
  5. ควรหากิจกรรมที่ทำร่วมกับคนในครอบครัวให้ผู้ป่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยรักษาอารมณ์ให้มั่นคง และสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยออกกำกายเบา ๆ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ หรือไทเก็ก อู่ฉินซี่ (การบริหารเคลื่อนไหวที่เลียนแบบท่าสัตว์ 5 ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และนก) เพื่อช่วยให้ชี่และเลือดไหลเวียนสะดวกมากขึ้น สภาวะทางอารมณ์ก็จะดีขึ้นตามลำดับ
  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

ที่มา: คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud