ATP30 ยกระดับเทคโนโลยี ลดคาร์บอนเต็มสูบ ลุ้นคว้าใบรับรอง TGO ต้นปี 67

พุธ ๐๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๓:๕๓
ATP30 ยกระดับเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ เดินหน้าลดคาร์บอน ตั้งเป้าคว้าใบรับรอง TGO ต้นปีหน้า เล็งขยายพอร์ตรถไฟฟ้าเพิ่ม พร้อมลดสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซล เข้าร่วมเครือข่ายอมตะคาร์บอนนิวทรัล สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
ATP30 ยกระดับเทคโนโลยี ลดคาร์บอนเต็มสูบ ลุ้นคว้าใบรับรอง TGO ต้นปี 67

นายปิยะ เตชากูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) หรือ ATP30 ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการรถรับส่งพนักงานจากแหล่งที่พักอาศัยในเขตชุมชนไปยังโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการโดยเฉพาะรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ พร้อมวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เตรียมความพร้อมขอรับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO) ต้นปี 2567 ขณะนี้อยู่ระหว่างการยืนเอกสารตรวจสอบ

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายดังกล่าว บริษัทได้พัฒนาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) หุ่นยนต์ที่จะช่วยควบคุมติดตามการเดินรถ จัดการเส้นทางการเดินรถให้เกิดความคุ้มค่า ตรวจเช็คและซ่อมบำรุงรักษาสภาพรถให้อยู่ในมาตรฐาน เพื่อควบคุมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำที่สุด

นอกจากนี้ บริษัทวางแผนเพิ่มโอกาสการขยายฐานลูกค้า ด้วยการให้บริการที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ เตรียมขยายสัดส่วนของรถไฟฟ้า (EV) มากขึ้น ซึ่งจากที่บริษัทให้บริการรถไฟฟ้าจำนวน 5 คัน ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่าการให้บริการด้วยรถไฟฟ้าสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 65% เมื่อเปรียบเทียบกับรถเครื่องยนต์สันดาป

อีกทั้ง บริษัทมีการติดตั้งสถานีชาร์จไฟ แผงโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินรถไฟฟ้าได้ประมาณ 30% และคาดว่าจะสามารถขยายกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น ให้สอดรับกับปริมาณรถไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าจำนวน 6 คัน อยู่ระหว่างสั่งซื้อเพิ่มอีก 5-6 คัน และตั้งเป้าเพิ่มรถไฟฟ้า 20 คันในปีหน้า

โดยการขยายฐานลูกค้าดังกล่าว มีปัจจัยสนับสนุนจากที่ประชุมสมาชิกรัฐสภายุโรป (MEPs) บรรลุข้อตกลงมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการส่งออก ตระหนักถึงการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

ขณะที่ รถโดยสารที่ยังใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนหลัก บริษัททยอยปรับสัดส่วนลดการใช้น้ำมันดีเซล/เบนซิน โดยทำบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ใช้บริการบัตรเติมน้ำมัน (OR Fleet Card) ในโครงการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ทดแทนน้ำมันดีเซล/เบนซินชนิดพื้นฐาน และจะแบ่งผลประโยชน์คาร์บอนเครดิต 50% หลังจากได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตกับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)

นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าร่วมเป็น สมาชิกเครือข่ายอมตะคาร์บอนนิวทรัล (Amata Carbon Neutral Network) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและสนับสนุนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ที่มา: เวิร์คลิ้งค์ ดาเอเจนซี่

ATP30 ยกระดับเทคโนโลยี ลดคาร์บอนเต็มสูบ ลุ้นคว้าใบรับรอง TGO ต้นปี 67

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด