UMI ใส่ใจการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิต ชูกลยุทธ์ 3R ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

พฤหัส ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๔:๑๘
"บมจ.สหโมเสคอุตสาหกรรม หรือ UMI" วางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญและใส่ใจในการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิต ชูกลยุทธ์ 3R บริหารจัดการของเสียตามแนวทาง ISO 14001 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
UMI ใส่ใจการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิต ชูกลยุทธ์ 3R ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ UMI ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระเบื้องชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ดูราเกรสและเซอเกรส โดยหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีนโยบายในการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำกลยุทธ์ 3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle) และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy มาใช้เพื่อจัดการของเสียตามแนวทาง ISO 14001 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาแล้ว (Scrap) ได้แก่ กระเบื้องที่มีตำหนิรุนแรงที่ไม่อาจขายได้ กระเบื้องที่แตกหักเสียหาย และเศษกระเบื้องจากการตัด เมื่อนำมาบดย่อยด้วยเครื่องจักรแล้ว สามารถนำกลับมาใช้เติมในเนื้อ Body ได้ทั้งหมด ข้อดีของการนำเอา Scrap เหล่านี้กลับไปใช้ใหม่ คือ ลดการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติได้ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการขนส่ง อีกทั้งยังช่วยกำจัดของเสียที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง

ผงดินที่กำจัดทิ้งจากกระบวนการเตรียมเนื้อดินและกระเบื้องก่อนเผาที่เสียหายจากกระบวนการขึ้นรูปและตกแต่งผลิตภัณฑ์ จะถูกนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในเนื้อ Body แล้วส่งกลับไป Spray เป็นผงดินใหม่อีกครั้ง

ตะกอนจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกอนของน้ำดินจากการล้างพื้น ล้างถังกวนเคลือบ ล้างหม้อบดและอุปกรณ์การจัดเก็บ รวมทั้งกากที่เหลือค้างบนตะแกรงในกระบวนการกรองน้ำดินและสีเคลือบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกากเหล่านี้คือวัตถุดิบใน Body และในเคลือบ โดยบริษัทมีการนำผลิตภัณฑ์ที่เผาแล้วและตะกอนดินในกระบวนการผลิต โดยนำกลับมาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบใน Body ทั้งหมด

น้ำเสียที่มาจากกระบวนการไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเตรียมน้ำดิน น้ำเคลือบ ตลอดจนถึงกระบวนการผลิต บริษัทมีระบบการจัดการน้ำโดยใช้ระบบการตกตะกอนตามธรรมชาติภายในบริษัท แล้วนำกลับมาใช้ในโรงงาน เช่น นำไปใช้ทำความสะอาดพื้นที่ในกระบวนการผลิต และใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดิน ซึ่งนอกจากจะไม่ปล่อยน้ำเสียลงยังแหล่งน้ำสาธารณะแล้ว ยังลดการนำน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชนมาใช้ด้วย

ที่มา: ไออาร์ พลัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud