ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิตของโลก

อังคาร ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๔:๔๓
เหล่าเสือเศรษฐกิจแห่งอาเซียนช่วยส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงทางการค้าภายในภูมิภาคเอเชียรวมถึงการค้าระหว่างเอเชียและยุโรป
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิตของโลก

ธุรกิจการผลิตเพื่อการส่งออกมีบทบาทสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้ยังคงแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่โดดเด่นและอย่างยั่งยืนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้จะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตหรือแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ จึงขับเคลื่อนให้เกิดความต้องการทางด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับความต้องการของเศรษฐกิจที่หลากหลายมากขึ้นของภูมิภาคนี้

ขาขึ้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในห่วงโซ่การผลิตระดับโลก

ระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตจนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลกอย่างรวดเร็ว[ https://www.business-sweden.com/contentassets/c5d9f4d114f14219a3f0be9c3ac80145/the-rise-of-the-southeast-asian-tigers.pdf] ด้วยอานิสงส์คลัสเตอร์การผลิตที่มีชื่อเสียงของซัพพลายเชนในประเทศต่าง ๆ อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในมาเลเซียและเวียดนาม การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอาหารบรรจุหีบห่อในไทย เครื่องจักรและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอินโดนีเซีย เครื่องนุ่งห่มและอาหารแปรรูปในฟิลิปปินส์ ไปจนถึงเซมิคอนดักเตอร์ ยาชีวภาพ และชิ้นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในสิงคโปร์

ตลาดเกิดใหม่อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นจุดหมายยุทธศาสตร์สำหรับผู้ผลิตที่มองหาความคุ้มค่าในแง่ของราคาแรงงาน ในขณะที่สิงคโปร์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสำหรับดำเนินงานทางด้านวิจัยและพัฒนาที่มีมูลค่าสูง และให้บริการสนับสนุนการค้า เช่น การเงิน และ โลจิสติกส์

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคนี้ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีศักยภาพในการเติบโตไปสู่ตลาดโลก อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีการผลิตขั้นสูงซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างเทคโนโลยีและระบบอุตสาหกรรม 4.0[ https://www.bcg.com/publications/2021/asean-manufacturing]

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพในหลากหลายด้านและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างกันสำหรับการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย และ การค้าระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป โดยมีข้อตกลงทางการค้าที่สำคัญต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุน อาทิ ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)[ S&P Vietnam Economy Commentary October 2023] ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) ซึ่งเป็นการยกระดับการเข้าถึงการค้า|ในเอเชียและการค้าข้ามทวีป

ยกระดับคุณภาพการผลิตด้วยการบูรณาการเข้ากับเครือข่ายการขนส่งคุณภาพสูง

เนื่องจากความเร็วในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น การจัดส่งที่รวดเร็วขึ้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกในภูมิภาค หนึ่งในผู้นำของธุรกิจการขนส่งอย่าง เฟดเอ็กซ์ อยู่ในระหว่างการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเร่งความเร็วการให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศสำหรับตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลก อาทิเช่น เฟดเอ็กซ์ เพิ่งประกาศเปิดตัวเที่ยวบินใหม่ในตอนเย็นซึ่งจะออกเดินทางเพื่อขนส่งสินค้าสี่ครั้งต่อสัปดาห์จากโฮจิมินห์ซิตี้เชื่อมต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียและยุโรป ผ่านศูนย์กลางกระจายสินค้าเอเชียแปซิฟิกในกวางโจว ประเทศจีน ผู้ส่งออกจากภาคใต้ของเวียดนามจะได้รับประโยชน์จากเที่ยวบินใหม่นี้ ด้วยระยะเวลาการขนส่งที่รวดเร็วขึ้น โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งวันทำการ สำหรับการขนส่งสินค้าไปยังตลาดสำคัญในเอเชีย และสองวันทำการสำหรับการส่งสินค้าไปยังยุโรป นอกจากนี้ เที่ยวบินใหม่ยังสามารถรองรับความจุได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเที่ยวบินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ห้าเที่ยวสำหรับการส่งสินค้าไปยังเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งหมดเป็นเก้าเที่ยวบินต่อสัปดาห์ที่จะออกเดินทางจากโฮจิมินห์ซิตี้

นอกเหนือจากเที่ยวบินใหม่แล้ว เฟดเอ็กซ์ ยังลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการเปิดคลังสินค้าแห่งใหม่ในบาตัม ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะช่วยให้การเคลียร์สินค้าเพื่อส่งออกจากเขตการค้าเสรีได้รวดเร็วขึ้นและยังช่วยลดเวลาในการขนส่ง นอกจากนี้ยังได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการแห่งใหม่ที่เมืองคล้าก ในฟิลิปปินส์

เนื่องจากแรงงานมีความเชี่ยวชาญสูงขึ้น รวมถึงความสามารถในการผลิตมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เครือข่ายการขนส่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ส่งออกเป็นผู้ขับเคลื่อนและพัฒนาห่วงโซ่การผลิต กำลังการผลิตและการเชื่อมต่อระหว่างกันที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอัตราการเติบโต และผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถบรรลุขีดความสามารถสูงสุด

ที่มา: เวเบอร์ แชนด์วิค

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิตของโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud