ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงแพ้กุ้งเป็นบางครั้ง ?

พุธ ๑๓ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๑๔:๓๔
ใกล้ถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลที่หลายคนทั่วโลกตั้งตารอ หลายคนอาจจะแพลนไปเที่ยวภูเขา ทะเล แม่น้ำ หรือน้ำตก หรือต่างประเทศ แน่นอนว่าอาหารยอดนิยมหรับเฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปีที่มีในลิสต์อันดับต้นๆ ที่ขาดไม่ได้คือเมนูอาหารทะเล
ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงแพ้กุ้งเป็นบางครั้ง ?

สิ่งที่เป็นคำถามยอดฮิต ค้างคาใจของใครหลายๆ คนมาตลอดคือ ทำไมเวลารับประทานกุ้ง ทำไมถึงแพ้เป็นบางครั้ง หรือแพ้เป็นบางร้าน หรือแพ้เฉพาะบางเมนู ทำให้กังวลใจว่าเป็นภูมิแพ้อาหารอยู่หรือเปล่า

มาไขข้อข้องใจกับ แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ศูนย์รักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Asthma and Allergy Centre (BAAC) ได้ให้ความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ โดยอธิบายว่า เนื่องจากคนเรามีส่วนของกุ้งที่แพ้ไม่เหมือนกัน ในบางคนอาจจะแพ้จากส่วนเนื้อกุ้ง, หัวกุ้งหรือมันกุ้ง, เปลือกหรือสารตกค้างพิษในกุ้งเฉพาะจานนั้น ๆ

ส่วนประกอบของกุ้งคือสารก่อภูมิแพ้

  1. เนื้อกุ้ง จากบริเวณกล้ามเนื้อท้องของกุ้ง เกิดจากสารจำพวกโทรโปไมโอซิน (Tropomyosin) เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยเป็นหลักในการแพ้กุ้ง
  2. หัวกุ้ง มีสารที่ทำให้แพ้ได้แก่ ฮีโมไซยานิน (Hemocyanin)
  3. แพ้ส่วนประกอบอื่นๆ ของกุ้ง
  4. ไม่ได้แพ้กุ้งแต่ แพ้สารเจือปน สารพิษ หรือพยาธิที่มาจากกุ้ง เช่น อะนิซาคิส (anisakis)
  5. นอกจากนั้น สายพันธุ์ของกุ้งยังมีผลต่อการแพ้อีกด้วย ผู้ป่วยบางคนแพ้เฉพาะบางสายพันธุ์ของกุ้ง สามารถแบ่งชนิดสายพันธุ์กุ้ง ได้ดังนี้
    • สายพันธุ์น้ำจืด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม 
    • สายพันธุ์น้ำเค็ม ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย กุ้งขาว กุ้งแดง กุ้งทราย เป็นต้น

อีกส่วนหนึ่งคือมาจากปัจจัยส่วนตัวของคนที่รับประทานกุ้งเอง มีกิจกรรมบางอย่างที่ทำให้เราไวต่อการแพ้มากขึ้น เช่น ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อนหรือหลังกิน ดื่มแอลกอฮอล์ การที่ช่วงนั้นมีรอบเดือน กินยาแก้ปวดอักเสบมาก่อน เป็นต้น หากช่วงที่เรากินอาหารที่น่าแพ้และมีปัจจัยเหล่านี้อยู่พอดี อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างมากได้

ข้อแนะนำหากสงสัยว่าแพ้

หากไปเที่ยวทะเล กินอาหารทะเล ห่างไกลตัวเมือง แนะนำพกยาแก้แพ้และสำรวจว่ามีโรงพยาบาลชุมชนใกล้ๆ โรงแรมที่พักหรือไม่ หากมีผื่นหรือคันเล็กน้อยสามารถรับประทานยาแก้แพ้ได้เลย แต่หากมีอาการหนัก เช่น หายใจไม่สะดวก อาเจียน คอบวม ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อฉีดยา ไม่แนะนำให้ฝืนกินเพื่อทำให้หายแพ้ เพราะในครั้งหน้าอาจเกิดอาการหนักกว่านี้ได้และการแพ้อาหารทะเลมักไม่หายเอง ยังไม่มีข้อมูลชี้ว่าการฝืนรับประทานอาหารทะเลทำให้หายแพ้เร็วกว่าปกติได้

นอกจากนี้ แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์ ยังแนะนำด้วยว่า การรักษาแพ้กุ้ง มีวิธีการรักษาแล้ว (oral immunotherapy) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

ที่มา: BNH Hospital

ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงแพ้กุ้งเป็นบางครั้ง ?

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud