เช็กอาการ! รู้ได้อย่างไร ว่าตอนไหนควรไปหาหมอกระดูก

ศุกร์ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๗ ๑๕:๕๐
กระดูกและข้อเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย มีหน้าที่รองรับน้ำหนัก การเคลื่อนไหว และช่วยป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ โดยเมื่อมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นกับกระดูกหรือข้อ การตรวจวินิจฉัยกับหมอกระดูกโดยตรงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้รู้สาเหตุของโรคอย่างแม่นยำ หากมีอาการร้ายแรง ก็จะสามารถรักษาและป้องกันได้อย่างทันท่วงทีด้วยแล้วอาการใดบ้าง ที่บ่งบอกว่าถึงเวลาที่ต้องนัดคิวพบหมอกระดูกอย่างเร่งด่วน!? วันนี้เราขอรวบรวมลิสต์อาการเบื้องต้นที่ตรวจเช็กได้ด้วยตนเอง จะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันข้างล่างนี้เลย!
เช็กอาการ! รู้ได้อย่างไร ว่าตอนไหนควรไปหาหมอกระดูก

อาการเบื้องต้นที่ควรไปพบหมอกระดูก

โดยทั่วไป อาการบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูกหรือข้อจะมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง โดยอาการเบื้องต้นที่แนะนำให้ไปตรวจเช็กกับแพทย์ ได้แก่

อาการปวด อาจเป็นปวดเฉียบพลันหรือปวดเรื้อรัง ปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย หรือปวดร้าวลงแขน ขา ลำตัว

อาการอ่อนแรง แขนและขาอ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก

อาการชา ชาตามแขน ขา ลำตัว

อาการบวม บริเวณข้อหรือกระดูก

อาการผิดรูป กระดูกหรือข้อผิดรูป

อาการอื่น ๆ ที่เกิดควบคู่กับอาการผิดปกติข้างต้น เช่น อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

อาการที่ควรไปพบหมอกระดูกโดยเร็ว

นอกจากอาการข้างต้นนี้ ยังมีความผิดปกติเกี่ยวกับข้อต่อและกระดูกบางอย่างที่เราแนะนำให้พบแพทย์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่รุนแรง เช่น

  • อาการปวดหลังร่วมกับมีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดตอนกลางคืนจนนอนไม่หลับ อ่อนแรงขา ปัสสาวะ อุจจาระลำบากมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งกระดูกสันหลังหรือการติดเชื้อ
  • อาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดร้าวลงคอ อาเจียน คลื่นไส้ อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง
  • อาการปวดข้ออย่างรุนแรง บวมแดงร้อน อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในข้อ
  • อาการกระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกหักที่มีอาการปวดมาก บวมแดง ไม่สามารถขยับข้อได้

ขั้นตอนการไปพบหมอกระดูก

ทั้งนี้ เมื่อตรวจเช็กตามลิสต์ข้างต้นแล้วพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติ แนะนำให้รีบไปพบหมอกระดูกเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยการพบหมอกระดูกนั้นอาจมีขั้นตอนดังนี้

1. แจ้งประวัติทางการแพทย์และอาการผิดปกติให้หมอทราบ

2.   หมอจะตรวจร่างกายบริเวณที่มีอาการผิดปกติ

3.   หมออาจสั่งตรวจเพิ่มเติม เช่น เอ็กซเรย์ CT scan MRI หรือการตรวจเลือด

4. หมอจะวินิจฉัยสาเหตุของอาการและวางแผนการรักษา

การรักษาโรคกระดูกและข้อ

โดยทั่วไป การรักษาโรคกระดูกและข้อขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคและความรุนแรงของอาการ โดยการรักษาอาจทำได้หลายวิธี เช่น

  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยกายภาพบำบัด
  • การผ่าตัด

การป้องกันโรคกระดูกและข้อ

นอกจากการรักษาแล้ว การป้องกันโรคกระดูกและข้อก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถทำได้โดย

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การยกของหนัก การนั่งหรือยืนนานๆ
  • ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ดังนั้น แนะนำให้ตรวจเช็กร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับกระดูกหรือข้อ ก็แนะนำให้รีบไปพบหมอกระดูกเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามหรือรุนแรงขึ้นได้

ที่มา: synphat

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น