การส่งออกไทยปี 2566 หดตัว -1.0% โดยไตรมาสสุดท้ายมีแรงส่งจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว

จันทร์ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๗ ๐๘:๓๙
การส่งออกไทยในเดือนธันวาคม 2566 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ 4.7%YoY ซึ่งส่งผลให้การส่งออกไทยในไตรมาสที่ 4/2566 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส จากปัจจัยฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบในปีนี้ที่สามารถส่งออกไปยังตลาดคู่ค้ารองของไทยได้มากขึ้น อาทิ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรเผชิญกับการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนตามแรงสนับสนุนจากการส่งออกผลไม้ที่ลดลงหลังสิ้นสุดฤดูกาล ดังนั้น จึงส่งผลให้ภาพรวมในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 284,561.8 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -1.0% ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าที่ 289,754.3 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -3.8% ส่งผลให้ไทยยังคงเผชิญกับการขาดดุลทางการค้า (ตามระบบกรมศุลกากร) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ 5,192.5 ล้านดอลลาร์ฯ
การส่งออกไทยปี 2566 หดตัว -1.0% โดยไตรมาสสุดท้ายมีแรงส่งจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว
  • การค้าโลกเผชิญความเสี่ยงจากเหตุโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง ซึ่งเชื่อมต่อกับคลองสุเอซอันเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของโลก เชื่อมการขนส่งทางน้ำระหว่างตลาดเอเชียและยุโรป แม้ในขณะนี้อาจยังไม่เห็นผลกระทบต่อภาพรวมการค้าโลกที่ชัดเจนนัก แต่เริ่มเห็นสัญญาณของต้นทุนการขนส่งที่ปรับเพิ่มขึ้น อาทิ ค่าระวาง และค่าประกันภัย แต่ยังต่ำกว่าช่วงโควิด-19 ที่เกิดการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าก็มีความล่าช้าขึ้นเพราะเรือต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ความขัดแย้ง อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อก็อาจส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งปรับเพิ่มขึ้นอีก และส่งผลให้ประเทศคู่ค้าชะลอการนำสินค้าจากไทย ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ไทยได้ส่งออกไปยังตลาดยุโรปและตะวันออกกลาง ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และสินค้าอาหาร เช่น อาหารทะเลแปรรูป ข้าว เป็นต้น
  • ในปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า ภาพรวมการส่งออกไทยอาจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ 2.0% โดยมีผลมาจากปัจจัยฐานอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ การส่งออกไทยยังมีปัจจัยบวกจากการเริ่มฟื้นตัวของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ตามรอบวัฎจักร และสินค้าอาหารที่ยังมีแรงหนุนจากฝั่งอุปสงค์รวมถึงราคาสินค้าที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงแต่ชะลอลงจากปีก่อนหน้า อีกทั้ง สินค้าที่สอดคล้องกับกระแสสิ่งแวดล้อมยังมีความโดดเด่น อาทิ โซลาเซลล์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไทยยังมีหลายปัจจัยท้าทายที่อาจเข้ามากดดัน ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า การผันผวนของค่าเงิน สภาพอากาศที่แปรปรวน และประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ในขณะนี้ยังไม่คลี่คลายทั้งรัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-กลุ่มฮามาส โดยเฉพาะความขัดแย้งในทะเลแดงที่อาจมีความยืดเยื้อและขยายวงกว้างเป็นระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง