โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า อาคารสำนักงาน และพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ

อาทิตย์ ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ๒๓:๔๑
ท่าเรือกรุงเทพ (ท่าเรือกรุงเทพ) ได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะพบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานโรงพักสินค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่มีอยู่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่เขื่อนฝั่งตะวันตกได้ถูกออกแบบไว้สำหรับการให้บริการบรรทุกขนถ่ายกับสินค้าประเภททั่วไป (Conventional Cargoes) ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยในปัจจุบันที่สินค้าส่วนใหญ่จะถูกบรรจุมาในรูปแบบของตู้สินค้า (Containerization) ในปัจจุบันเนื่องจากที่ดินในพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพมีราคาสูงมาก กอรปกับมีชัยภูมิและทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์รายล้อมด้วยสังคมเมือง แต่พื้นที่ดังกล่าวยังไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม คุ้มค่าและได้มาตรฐานสำหรับระบบงานให้บริการตู้สินค้า ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการ ต้นทุนผู้ใช้บริการ ประสิทธิภาพการให้บริการและต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ
โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า อาคารสำนักงาน และพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ

ภายใต้วิสัยทัศน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ "มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก พร้อมการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2573" ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือหลักของประเทศและเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้านำเข้า-ส่งออกที่สำคัญให้กับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจึงได้มีการพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือให้มีมาตรฐานระดับโลก (World Class Port) เพื่อสนับสนุนและเป็นกลไกขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยโครงการฯ ดังกล่าวนี้จะพลิกโฉมของท่าเรือกรุงเทพสู่งการเป็นท่าเรือ Smart Port ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ประหยัดต้นทุนและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยจะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมและ Logistics Park  โดยเฉพาะถนนทางด่วนสาย S1 ร่วมกับการพัฒนาท่าเทียบเรือ Terminal 3 ในอนาคต ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการฯ คือเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมดั้งเดิมและกิจกรรมใหม่ของท่าเรือกรุงเทพ รวมทั้งแสวงหาโอกาสในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับท่าเรือกรุงเทพ และเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่อ GDP ของประเทศและผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงาน

ภายใต้โครงการฯ นี้ จะประกอบด้วยแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ภายในเขตรั้วศุลกากร 138 ไร่ (220,800 ตร.ม) เป็นอาคารทรงสูง (Multilevel Warehouse) เพื่อรองรับปริมาณสินค้า/ตู้สินค้า LCL/CFS ของท่าเรือกรุงเทพที่เพิ่มมากขึ้น เช่น Free Zone ,Cold Chain Warehouse ,E-Commerce Fulfillment Center, Last-Mile Delivery, Value Added Services, Cross-Border E-Commerce เป็นต้น และพัฒนากิจกรรมท่าเรือสมัยใหม่ (New Business Venture) เพื่อรองรับพลวัฒน์การเติบโตและขยายตัวของเมือง โดยในโครงการฯ จะประกอบไปด้วยกิจกรรมการให้บริการต่างๆ เช่น คลังสินค้าทรงสูง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายและขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พื้นที่บริหารจัดการรถบรรทุก (Truck Terminal) และอาคาร One Stop Services (OSS) เป็นต้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการของท่าเรือกรุงเทพในอนาคต

ที่มา: ธีอ๊อกซีนี่ พีอาร์

โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า อาคารสำนักงาน และพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud