DeeMoney ฟินเทคไทยรายแรก ผนึกกำลัง Alipay และ WeChat รุกตลาดโอนเงินไปประเทศจีน

ศุกร์ ๐๑ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๗:๐๖
มันนี่ (DeeMoney) แพลตฟอร์มโอนเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกาศบุกตลาดประเทศจีนอย่างเป็นทางการ โดยเป็นฟินเทคไทยรายแรกที่จับมือเป็นพันธมิตรกับ Alipay และ WeChat (Weixin) สองวอลเล็ตดิจิทัลยักษ์ใหญ่ของจีน เพื่อมอบบริการโอนเงินที่สะดวก รวดเร็ว ให้กับลูกค้า
DeeMoney ฟินเทคไทยรายแรก ผนึกกำลัง Alipay และ WeChat รุกตลาดโอนเงินไปประเทศจีน

คุณอัศวิน พละพงศ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง DeeMoney เผยว่า "ตลาดการโอนเงินระหว่างไทย-จีน เป็นหนึ่งในเส้นทางยอดนิยม อ้างอิงข้อมูลธนาคารโลกปี 2022 ที่นำเสนอโดยมาสเตอร์การ์ด ประเทศไทยมีการโอนเงินส่วนบุคคล (P2P) ไปยังจีน มูลค่ารวมกว่า 30,000 ล้านบาท (อันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการโอนเงินออกจากประเทศไทยมากที่สุด) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าตลาดการทำธุรกรรมโอนเงินไปยังประเทศจีนมีการเติบโตและเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ซึ่งในประเทศจีนนอกเหนือจากธนาคารที่มีโมบาย แอพลิเคชั่นแล้ว เราจะพบกับผู้ให้บริการรายใหญ่ ได้แก่ Alipay ซึ่งเป็นดิจิทัลวอลเล็ตที่มีฐานลูกค้าผู้ใช้งานมากกว่า 1.3 พันล้านคนในประเทศจีน และ WeChat (Weixin) ซึ่งเป็นดิจิทัลวอลเล็ตที่มีฐานลูกค้าผู้ใช้งานมากกว่า 1.2 พันล้านคน จะเห็นได้ว่าเมื่อรวทจำนวนฐานลูกค้าผู้ใช้บริการของทั้ง 2 แพลตฟอร์ม แทบจะครอบคลุมผู้ใช้บริการในประเทศจีนเกือบทั้งหมด

ดีมันนี่ (DeeMoney) มองเห็นถึงโอกาสจากปัจจุบันที่มีนักลงทุน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาทำธุรกิจและท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประกอบกับทางภาครัฐมีนโยบายในการให้ฟรีวีซ่ากับประชาชนทั้งสองประเทศ นับว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และอื่นๆ เป็นอย่างดี ทางดีมันนี่ (DeeMoney) จึงยกระดับการให้บริการ ด้วยความพร้อมและความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ผ่าน 3 จุดเด่นหลัก ได้แก่ "เรทดี" ที่ทางลูกค้าสามารถเชื่อมั่นได้ว่าเรทที่ทางดีมันนี่มอบให้มีความคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด, "ไวดี" ที่ทางดีมันนี่ รับรองการโอนเงินของคุณถึงปลายทางไม่เกิน 1 วันทำการ และ "ง่ายดี" ที่ ดีมันนี่ แอพลิเคชัน สามารถรองรองรับภาษาจีน นอกจากนี้เพื่อสร้างความไว้วางใจของลูกค้าที่เป็นจุดสำคัญในการเลือกใช้บริการ ดีมันนี่ (DeeMoney) มีการดำเนินกิจการ โดยได้รับใบอนุญาตรับรองการดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

จากทุกส่วนที่กล่าวมาเป็นเครื่องยืนยันให้ DeeMoney ได้รับความไว้วางใจสำหรับการเป็นฟินเทคสัญชาติไทยรายแรกที่มีความร่วมมือทั้งกับ Alipay และ WeChat (Weixin) ในการเป็นสะพานเชื่อมการทำธุรกรรมโอนเงินไปยังวอลเล็ตทั้งสอง เพื่อตอบโจทย์การให้บริการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งลูกค้าชาวจีนที่พำนักในประเทศไทย และกลุ่มลูกค้าประเทศอื่นๆที่มีความประสงค์ในการโอนเงินไปยังประเทศจีน นี่จึงเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญของการเปิดตัว DeeMoney ในตลาดจีนอย่างเต็มรูปแบบ"

ในการเปิดตัวความร่วมมือในครั้งนี้ทาง DeeMoney และ Wechat (Weixin) พร้อมมอบสิทธิพิเศษ "ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนเงิน" (ค่าธรรมเนียมปกติ 250 บาท) สำหรับลูกค้าที่มีการทำธุรกรรมการโอนเงินไปประเทศจีนเข้า WeChat (Weixin) แพลตฟอร์ม ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 เมษายน 2567 สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริการลูกค้า DeeMoney 02-821-5555 และเวบไซต์ DeeMoney: https://www.deemoney.com

ที่มา: โมเดิร์นเทียร์

DeeMoney ฟินเทคไทยรายแรก ผนึกกำลัง Alipay และ WeChat รุกตลาดโอนเงินไปประเทศจีน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud