Kaspersky เผย พบการโจมตีบนโมบายดีไวซ์เพิ่มขึ้นเกือบ 52% ในปี 2023

พุธ ๐๖ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๓:๒๑
ในปี 2566 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบการโจมตีบนโมบายดีไวซ์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบ 33.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเกือบ 52% จากตัวเลขในปีที่แล้ว ภัยคุกคามต่อโมบายดีไวซ์ที่แพร่หลายที่สุดคือแอดแวร์ (adware) ซึ่งคิดเป็น 40.8% ของภัยคุกคามทั้งหมดที่ตรวจพบ
Kaspersky เผย พบการโจมตีบนโมบายดีไวซ์เพิ่มขึ้นเกือบ 52% ในปี 2023

ผู้นำอุตสาหกรรมโมบายดีไวซ์ระดับนานาชาติร่วมงาน Mobile World Congress ที่เมืองบาร์เซโลนา ซึ่งแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์ประจำปีเกี่ยวกับภาพรวมภัยคุกคามบนโมบายดีไวซ์ โดยเน้นย้ำถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนมือถือที่แพร่หลายมากขึ้น ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเครื่องมือและเทคโนโลยีบนมือถือที่เป็นอันตราย ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ระบุว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายไปที่โมบายดีไวซ์ ในปี 2566 เพียงปีเดียว จำนวนการโจมตีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 33,790,599 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเกือบ 52% เมื่อเทียบกับการโจมตี 22,255,956 ครั้งในปี 2565

ภัยไซเบอร์ที่แพร่หลายที่สุดคุกคามโมบายดีไวซ์คือแอดแวร์ (adware) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่แสดงโฆษณาแบบ pop-up ที่ไม่พึงประสงค์ และบางครั้งก็น่ารำคาญ คิดเป็น 40.8% ของภัยคุกคามทั้งหมดที่ตรวจพบ ในส่วนของแบ้งกิ้งโทรจัน (banking Trojan) จำนวนแพ็คเกจการติดตั้งมัลแวร์ลดลงเหลือ 153,682 รายการ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีก่อน ส่วนจำนวนการโจมตีโดยใช้มัลแวร์โมบายแบ้งเกอร์ (mobile banker) บนมือถือยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงของเดิม

อาชญากรไซเบอร์มักแพร่กระจายภัยคุกคามบนมือถือผ่านร้านค้า App Store ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในปี 2566 ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้สังเกตเห็นแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายจำนวนมากแทรกซึมอยู่ใน Google Play หนึ่งในการปลอมแปลงที่พบบ่อยที่สุดในปี 2566 คือแอปลงทุนปลอมที่ใช้กลยุทธ์วิศวกรรมสังคมเพื่อดึงข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้ โดยหลักๆ คือหมายเลขโทรศัพท์และชื่อนามสกุลเต็ม ซึ่งต่อมาถูกเพิ่มลงในฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับการฉ้อโกงทางโทรศัพท์ เวกเตอร์การโจมตีที่แพร่หลายอีกประการหนึ่งที่ตรวจพบคือม็อด WhatsApp และ Telegram ที่เป็นอันตราย ซึ่งออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลผู้ใช้โดยเฉพาะ

นายแอนทอน คิฟวา ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของโมบาย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "การเพิ่มขึ้นของมัลแวร์ Android และกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายตลอดปี 2566 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่ากังวลที่เกิดขึ้นหลังช่วงที่ค่อนข้างสงบ การเพิ่มขึ้นนี้ทำให้นึกถึงช่วงปี 2564 เป็นการตอกย้ำถึงภัยคุกคามที่สำคัญที่ผู้ใช้ต้องเผชิญ เป็นการเตือนผู้ใช้อย่างชัดเจนถึงความสำคัญของการระมัดระวังและการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มเกี่ยวกับภัยคุกคามบนมือถือในปี 2023 ได้ที่ Securelist.com

https://securelist.com/mobile-malware-report-2023/111964/

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำผู้ใช้เพื่อป้องกันตัวจากภัยคุกคามบนมือถือ ดังนี้

  • การดาวน์โหลดแอปจากร้านค้าอย่างเป็นทางการเท่านั้นจะปลอดภัยกว่า เช่น Apple App Store, Google Play หรือ Amazon Appstore แอปจากตลาดเหล่านี้ไม่ได้ปลอดภัย 100% แต่หากเกิดข้อผิดพลาด อย่างน้อยแอปเหล่านั้นก็ได้รับการตรวจสอบโดยตัวแทนร้านค้าและมีระบบกรอง เพราะไม่ใช่ทุกแอปที่สามารถเข้าสู่ร้านค้าเหล่านี้ได้
  • ตรวจสอบการอนุญาตของแอปที่ใช้และไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะให้อนุญาตแอป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการอนุญาตที่มีความเสี่ยงสูง เช่น บริการการเข้าถึง หรือการอนุญาตให้แอปไฟฉายเข้าถึงกล้อง ซึ่งสิ่งเดียวที่แอปไฟฉายต้องการคือการใช้ไฟฉายเท่านั้น
  • โซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ช่วยให้คุณตรวจจับแอปและแอดแวร์ที่เป็นอันตรายก่อนมัลแวร์จะเริ่มทำงาน คุณสามารถรับการป้องกันที่ง่ายและสะดวกสบาย เช่น Kaspersky Premium ได้โดยตรงจากผู้ให้บริการมือถือ
  • สิ่งสำคัญคืออัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปที่สำคัญเมื่อมีการอัปเดตทุกครั้ง ปัญหาด้านความปลอดภัยหลายประการสามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งซอฟต์แวร์เวอร์ชันอัปเดต

ที่มา: Piton Communications

Kaspersky เผย พบการโจมตีบนโมบายดีไวซ์เพิ่มขึ้นเกือบ 52% ในปี 2023

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud