EY เผย GenAI ส่งผลต่อความเสี่ยงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

พฤหัส ๐๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๓๖
ความกังวลด้านความปลอดภัยคือความเสี่ยงอันดับหนึ่ง โดยมี Generative AI เป็นปัจจัยเร่งทาเลนท์เป็นความเสี่ยงใหม่ที่ติด 10 อันดับแรก ท่ามกลางการจัดการด้านการเงินและความต้องการพนักงานที่มีทักษะดิจิทัลอย่างเร่งด่วนการตอบสนองต่อผู้บริโภคในช่วงวิกฤตค่าครองชีพยังคงเป็นความเสี่ยง ในอาเซียน การเปลี่ยนจากบริษัทโทรคมนาคมสู่องค์กรเทคโนโลยีส่งผลให้การมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศภายนอกมีความสำคัญมากขึ้นกรุงเทพฯ, 7 มี.ค. 2567 การตระหนักถึงความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และความไว้วางใจกลายเป็นความเสี่ยงสูงสุดที่บริษัทโทรคมนาคมต้องเผชิญในปี 2567 ตามรายงานผลการศึกษาของ EY "Top 10 risks in telecommunications" ที่ระบุว่า องค์กรถูกท้าทายมากขึ้นจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเทคโนโลยี Generative Artificial Intelligence (GenAI) กำลังสร้างปัญหาให้กับการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กร
EY เผย GenAI ส่งผลต่อความเสี่ยงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ความเสี่ยง 10 อันดับแรก ในปี 2567 ได้แก่

  1. การประเมินด้านการตระหนักถึงความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และความไว้วางใจของผู้บริโภคต่ำเกินไป
  2. การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ขาดประสิทธิภาพในช่วงวิกฤตค่าครองชีพที่สูงขึ้น
  3. การบริหารจัดการทาเลนท์และการสร้างพนักงานที่มีทักษะไม่เพียงพอและทันต่อความต้องการ
  4. การจัดการวาระความยั่งยืนอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
  5. ความล้มเหลวของการใช้ประโยชน์จากรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ
  6. การไม่สามารถส่งมอบคุณค่าที่นำเสนอ (Value Proposition) และเครือข่ายที่เสถียรและมีคุณภาพ
  7. ความล้มเหลวของการปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรและวิธีการทำงาน
  8. การมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศภายนอกอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
  9. การปรับองค์กรไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ
  10. ความล้มเหลวในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน

ผลสำรวจจากรายงานการศึกษาพบว่า ผู้บริหารในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 68% ระบุว่า พวกเขายังไม่สามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ AI ได้ดีพอ และ 74% กล่าวว่า พวกเขาต้องเตรียมพร้อมให้มากขึ้นเพื่อลดผลกระทบจาก "ผู้ไม่ประสงค์ดี" ที่อาจนำ AI มาช่วยโจมตีทางไซเบอร์และคุกคามด้านอื่นๆ[1] ในขณะเดียวกัน 53% ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดการความเสียหายจากการละเมิดทางไซเบอร์ขององค์กรในปี 2566 เกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 40%[2]

การใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเด็นด้านกฎระเบียบขยับขึ้นจากความเสี่ยงในอันดับสิบเป็นอันดับเก้า รายงานการศึกษาระบุว่า กฎระเบียบของการใช้ AI ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อบริษัทโทรคมนาคม แรงกดดันต่างๆ เหล่านี้เน้นย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างในนโยบายที่เกิดขึ้นใหม่ของประเทศต่างๆ และการสร้างความสมดุลระหว่างแนวปฏิบัติด้าน AI และร่างกฎหมายที่วางแผนไว้ ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีความกังวลว่ากฎระเบียบการใช้ AI อาจขัดขวางการสร้างนวัตกรรมและจำกัดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ[3]

คุณเติม เตชะศรินทร์ หุ้นส่วนสายงานบริการที่ปรึกษาธุรกิจ และ Technology, Media and Telecommunications Sector Leader ของ EY ประเทศไทย กล่าวว่า

"สำหรับภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย GenAI ถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้นำ Gen AI มาใช้ในหลายส่วนแล้ว เช่น การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า และจะนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติการและพัฒนาเครือข่าย ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการได้คำนึงถึงการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยพิจารณาในหลายแง่มุม ทั้งด้านเทคโนโลยีจริยธรรม และผลกระทบที่มีต่อมนุษย์"

ขับเคลื่อนองค์กรเพื่อดึงดูดและรักษาทาเลนท์

การไม่สามารถบริหารจัดการทาเลนท์และไม่สามารถสร้างพนักงานที่มีทักษะให้ทันต่อความต้องการ ติด 10 อันดับความเสี่ยงเป็นครั้งแรก โดยติดเป็นอันดับสาม ซึ่ง AI มีส่วนสำคัญ การพัฒนาเทคโนโลยี GenAI และเทคโนโลยีประมวลผล Edge Computing อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ความต้องการพนักงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้น การขาดแคลนวิศวกรเครือข่ายได้สร้างความท้าทายให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้องเร่งรับมือ[4]

แนวโน้มดังกล่าว ประกอบกับการบริหารจัดการด้านการเงินได้สร้างความท้าทายให้กับองค์กรในการดึงดูดทาเลนท์ หรือสร้างพนักงานที่มีทักษะในอนาคต บริษัทโทรคมนาคมมากกว่าครึ่ง (55%) ระงับการจ้างงาน ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ (28%) เกือบสองเท่า และ 61% ของบริษัทโทรคมนาคมระบุว่า การรักษาพนักงานที่มีความสามารถทำได้ยากขึ้น จากการที่บริษัทต้องลดเงินเดือนและสวัสดิการลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามลดต้นทุน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคธุรกิจ (44%)[5]

คุณเติม กล่าวว่า "สถานการณ์ของไทยคล้ายกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเผชิญกับความท้าทายในการสรรหาพนักงานที่มีทักษะ เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล พนักงานกลุ่มนี้เป็นที่ต้องการของบริษัทในหลายอุตสาหกรรม จะถูกดึงตัวโดยบริษัทโทรคมนาคม บริษัทเทคโนโลยี หรือสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงิน โดยบริษัทโทรคมนาคมสามารถรับมือกับปัญหานี้ได้ด้วยการเสนอความก้าวหน้าในอาชีพ รวมถึงการเสนอหลักสูตรที่มีประกาศนียบัตรรับรองเฉพาะทาง เพื่อจูงใจให้พนักงานเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนั้น การเปิดรับบุคลากรที่มีพื้นฐานแตกต่างและหลากหลาย และยกระดับทักษะของพนักงานที่มีอยู่อาจช่วยให้เห็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของพนักงาน หากองค์กรไม่ให้ความสำคัญ อาจส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรที่จะช่วยพัฒนาและสร้างนวัตกรรม รวมถึงส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ"

ผู้บริโภคต้องการข้อเสนอที่ดีกว่า

การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในช่วงวิกฤตค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยังคงเป็นความเสี่ยงในปี 2567 โดยตกจากอันดับหนึ่งลงมาอยู่อันดับสอง ผู้บริโภค 16% พยายามลดค่าใช้จ่ายของบริการอินเตอร์เน็ตบ้านและโทรศัพท์มือถืออย่างจริงจัง แต่ผู้บริโภคจำนวนมากมองหาข้อเสนอที่ดีกว่าเดิม ซึ่งในจำนวนนี้ 60% ยอมรับว่า วิกฤตค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้พวกเขาเลือกสรรมากขึ้นเพื่อข้อเสนอที่ดีที่สุด และสัดส่วนของผู้บริโภคที่เข้าเว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบราคา หรือขอคำแนะนำจากเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว เพิ่มขึ้นจาก 19% ในปี 2565เป็น 30% ในปี 2566[6]

[1] "EY CEO Outlook Pulse Survey," (telco respondents), Jul 2023.[2] "EY 2023 Global Cybersecurity Leadership Insights Study," (telco CISO respondents), Oct 2023.[3] "The Artificial Intelligence global regulatory landscape," EY, Sep 2023.[4] "Telecommunications Workforce: Additional Workers Will Be Needed to Deploy Broadband, but Concerns Exist About Availability," US Government Accountability Office, Dec 2022.[5] "EY 2023 Work Reimagined Survey," (telco respondents), Sep 2023.[6] EY decoding the digital home study, September 2023

ที่มา: EY Thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที