งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด

พฤหัส ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ ๐๘:๔๖
รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ร่วมกับรองศาสตราจารย์เจียว ฮี จี (Associate Professor Jiow Hee Jhee) จากสถาบันเทคโนโลยีสิงคโปร์ เรื่อง "Learning cybersecurity: What motivates individuals to practice online safety" (การเรียนรู้ความปลอดภัยทางไซเบอร์: สิ่งที่กระตุ้นให้บุคคลฝึกฝนด้านความปลอดภัยออนไลน์) ได้นำเสนอประเด็นความเข้าใจ เรื่องแรงผลักดันที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ต่อปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์บางประการ การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในหมู่นักการศึกษาในประเทศอินเดีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด

ด้วยแรงผลักดันในการสร้างชุมชนระดับโลกที่มีภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ และในการให้การศึกษาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับคนรุ่นต่อไป รายงานฉบับนี้จึงสรุปข้อมูลเชิงลึกเพื่อเป็นแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่นักการศึกษาในเอเชียสามารถนำไปใช้ได้

จากการศึกษาพบว่า การประเมินการรับมือกับภัยไซเบอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่เป็นแรงจูงใจของผู้ตอบแบบสอบถามในการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ปลอดภัย เปิดลิงก์ที่ไม่รู้จัก และใช้รหัสผ่านที่รัดกุม การประเมินการรับมือหมายถึงการประเมินประสิทธิภาพของการตอบสนองทางพฤติกรรมต่อภัยคุกคาม ระดับความยากในการดำเนินการตอบสนอง และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตอบสนอง

โดยพื้นฐานแล้ว การศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับผลเสียจากการปฏิบัติตามสุขอนามัยทางไซเบอร์ที่ไม่ดี มีแนวโน้มที่จะรับพฤติกรรมออนไลน์เชิงบวกมาใช้ ซึ่งหมายความว่าแรงจูงใจที่แข็งแกร่งที่สุดในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลในการลดหรือป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และความสามารถส่วนบุคคลในการดำเนินการตอบสนองที่แนะนำ สิ่งที่น่าสนใจคือ อายุ เพศ และระดับการศึกษาไม่มีผลกระทบต่อผลลัพธ์นี้

การประเมินการรับมือหรือการตอบสนองแบบปรับตัว รวมถึงการพิจารณาว่าพฤติกรรมที่ได้รับคำแนะนำ สามารถป้องกันหรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร (ประสิทธิภาพในการตอบสนอง - response efficacy) และบุคคลนั้นสามารถบรรลุการตอบสนองเชิงป้องกันที่แนะนำนั้นได้สำเร็จหรือไม่ (การรับรู้ความสามารถในตนเอง - self-efficacy)

ตัวอย่างของประสิทธิภาพการตอบสนอง เช่น ความเชื่อมั่นที่ว่าการใช้เครือข่าย Wi-Fi ที่ปลอดภัยจะสามารถหยุดการบุกรุกทางไซเบอร์ในอุปกรณ์ดิจิทัลของแต่ละบุคคลได้

ส่วนตัวอย่างของการรับรู้ความสามารถของตนเอง เช่น ความสามารถในการจัดการกับอีเมลที่น่าสงสัย ไม่ว่าจะเปิดลิงก์หรือไฟล์แนบที่ไม่รู้จักก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อบุคคลเข้าใจว่าผู้กระทำผิดสามารถดำเนินการที่เป็นอันตรายบนอุปกรณ์ของตนได้ จึงเลือกจะเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ที่ปลอดภัย

ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 4 ใน 5 คนระบุว่า ตนจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ปลอดภัย เมื่อตระหนักถึงผลเสียจากการใช้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ไม่ปลอดภัย ผู้ตอบแบบสอบถาม 75% เชื่อว่า ตนสามารถป้องกันการบุกรุกทางไซเบอร์ได้หากใช้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ปลอดภัย

ในทำนองเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (90%) เห็นด้วยว่า ตนสามารถนำมัลแวร์เข้าสู่อุปกรณ์ดิจิทัลของตนได้ หากเปิดลิงก์หรือไฟล์แนบจากแหล่งที่ไม่รู้จัก ผู้ตอบแบบสอบถาม 85% ระบุว่า ตนสามารถป้องกันการบุกรุกทางไซเบอร์ในอุปกรณ์ดิจิทัลของตนได้ โดยไม่เปิดลิงก์หรือไฟล์แนบจากแหล่งที่น่าสงสัย เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน

ในเรื่องการใช้รหัสผ่านที่รัดกุม ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านสุขอนามัยทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 6 ใน 10 คน จะใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนหากได้รับคำแนะนำในการทำให้รหัสผ่านนั้นจดจำได้ง่าย

รองศาสตราจารย์เจียว ฮี จี สถาบันเทคโนโลยีสิงคโปร์ กล่าวว่า "การศึกษาค้นคว้าของเราแสดงให้เห็นว่า สิ่งสำคัญคือ ผู้ใช้งานในโลกไซเบอร์จะต้องได้รับการศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงของผลที่ตามมา ตลอดจนความเปราะบางของการตกเป็นเหยื่อ ที่สำคัญกว่านั้น เราต้องสามารถกระตุ้นและสนับสนุนผู้ใช้ในวิธีที่เขาจะสามารถจัดการและรับมือกับมาตรการป้องกันได้ เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ของตนเอง"

จากรูปแบบพฤติกรรมออนไลน์ที่สังเกตได้ซึ่งเชื่อมโยงกับความปลอดภัย สามารถอนุมานได้ว่าการส่งข้อความเชิงบวกมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญ และเสริมด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ได้เผชิญ

  • การกำหนดกรอบและการออกแบบข้อความเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมควรเน้นย้ำถึงสิ่งที่เราสามารถทำได้ และทำได้อย่างมั่นใจ เพื่อจัดการกับปัญหาและภัยคุกคามความปลอดภัยไซเบอร์ การดำเนินการที่แนะนำควรเน้นย้ำถึงประสิทธิภาพในการป้องกันหรือบรรเทาภัยคุกคาม ข้อความที่ใช้ควรโดดเด่นและเข้าถึงได้
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และผลที่ตามมา ทำให้ผู้ใช้มีข้อมูลในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อสร้างข้อความโน้มน้าวใจในบริบทนี้ ให้เน้นไปที่วิธีการป้องกัน ตอบสนอง และเอาชนะภัยคุกคาม แทนที่จะแสดงความหวาดกลัวภัยคุกคาม
  • การเปลี่ยนทัศนคติที่มีอยู่เดิมจะต้องใช้ประโยชน์จากแนวโน้มที่จะต้องการปกป้องตนเองจากอันตราย ในการศึกษานี้ การปกป้องหมายถึงการมีความสามารถในการใช้มาตรการป้องกันที่ประเมินแล้วว่ามีประสิทธิภาพ

นางสาวเอฟจีนียา รัซซิก หัวหน้าฝ่ายการศึกษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "การศึกษาค้นคว้านี้ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของผลเสียเมื่อมีพฤติกรรมออนไลน์ที่ไม่ปลอดภัย และผลกระทบที่พฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนาคต ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้เร่งตัวขึ้นและกำหนดอนาคตรูปแบบใหม่ กิจกรรมและการตัดสินใจทางออนไลน์ของเราจะส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างมาก การให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญสูงสุด"

"นอกจากนี้ การวิจัยนี้ได้ทำให้เราสนใจที่คุณค่าของการฝึกอบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่ครูอาจารย์มากขึ้น เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดทักษะด้านสุขอนามัยทางไซเบอร์ไปยังรุ่นต่อไป" นางสาวเอฟจีนียากล่าวเสริม

สุขอนามัยทางไซเบอร์ที่ดีเพื่อให้ตนเองปลอดภัยขณะออนไลน์ ประกอบด้วย

  1. พัฒนากิจวัตรและนิสัยอย่างสม่ำเสมอ ควรแน่ใจว่าคุณได้ปฏิบัติตามสุขอนามัยทางไซเบอร์เป็นประจำโดยสร้างกิจวัตรประจำวัน ตั้งการเตือนสำหรับการดูแลตามปกติ เช่น การอัปเดตอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ การสแกนไวรัส และการอัปเดตรหัสผ่าน
  2. พิจารณาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกันตัวเอง โซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์หรือโซลูชัน VPN ที่มีฟีเจอร์ครอบคลุมสามารถปกป้องผู้ใช้จากการโจมตีทางไซเบอร์ได้หลายประเภท
  3. คิดก่อนทำ ตระหนักว่าสิ่งที่เราทำและโพสต์ออนไลน์มักจะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้

รายงานฉบับเต็มเรื่อง "Learning cybersecurity: What motivates individuals to practice online safety"

https://media.kasperskydaily.com/wp-content/uploads/sites/36/2024/04/03134640/White-Paper_Kaspersky-Academy_Learning-Cybersecurity_Final.pdf

ที่มา: Piton Communications

งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว