บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามสัญญาความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมและวัคซีนในประเทศไทย

จันทร์ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๖:๔๐
บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทในเครือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท (Merck & Co.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองราย์เวย์ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือ กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านโครงการ "ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมและวัคซีน" ในประเทศไทย โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 ความร่วมมือของไซต์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการศึกษาวิจัย ทั้งยาและวัคซีนนวัตกรรม และยกระดับมาตรฐานการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) เพื่อให้เกิดการพัฒนางานด้านค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนใหม่ในการป้องกันโรค ที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเกิดโรคในปัจจุบัน
บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามสัญญาความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมและวัคซีนในประเทศไทย

นายดีเรก ซีเกอร์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติด้านการวิจัยทางคลินิกระดับโลก ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เอ็มเอสดี จำกัด กล่าวว่า "เอ็มเอสดี ในฐานะผู้ค้นคว้า วิจัยและพัฒนายาและวัคซีนที่เป็นนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการป้องกันและรักษาโรค ปัจจุบันในโครงการนี้เราได้ดำเนินการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการวิจัย 31 แห่งในกว่า 18 ประเทศทั่วโลก และ 8 แห่งในประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อพัฒนาความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนายาและวัคซีน ที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุข อาทิ โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำหรับการลงนามสัญญาความร่วมมือ กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นการตอกย้ำความตั้งใจ ความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญในการวิจัยทางคลินิก นอกจากนี้ ยังแสดงถึงศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัยค้นคว้าของเรา ที่มีความพร้อมในการประสานงานกับหน่วยงานด้านการวิจัยทั่วโลก รวมไปถึงในประเทศไทย ซึ่งเราได้ทำงานด้านการวิจัยทางคลินิกกับหน่วยวิจัยต่างๆ หลายแห่งทั่วประเทศมากกว่า 30 ปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัญญาความร่วมมือ กับทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลนี้ เปรียบเสมือนการยกระดับการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมทางด้านยาและวัคซีนควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของประเทศ ในระยะยาว พร้อมเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงยานวัตกรรมในโครงการฯ เพื่อรักษาโรค อันจะส่งผลดีกับการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนไทยในอนาคต"

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วินัย รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "เรามุ่งมั่นเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการวิจัยด้านคลินิกแนวหน้าในระดับภูมิภาคเอชีย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบสุขภาพ รวมทั้งคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่านนวัตกรรมการวิจัยขั้นสูงที่ได้มาตรฐานระดับสากล โดยทีมแพทย์ผู้วิจัยและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งความร่วมมือกับ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ผ่านโครงการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมและวัคซีนในครั้งนี้ ถือเป็นความมุ่งมั่นของทั้ง 2 ฝ่ายในการช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยในประเทศไทยเข้าถึงยาและวัคซีนใหม่ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย"

ดร. แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า "เอ็มเอสดี ประเทศไทย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการประสานให้เกิดความร่วมมือระหว่าง ฝ่ายปฏิบัติด้านการวิจัยทางคลินิกระดับโลก ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่ยาและวัคซีนของเอ็มเอสดี ได้เข้ามามีส่วนให้แพทย์ใช้ในการรักษาโรคให้กับผู้ป่วยและป้องกันโรคในประเทศไทย เราได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการนำยาและวัคซีนที่ผ่านการวิจัยมาตรฐานในระดับโลกเข้ามาในประเทศไทย เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มการเจ็บป่วยที่ต้องการการป้องกันและรักษาด้วยวัคซีนและยานวัตกรรมมากยิ่งขึ้น และจะดำเนินการต่อไปซึ่งนั่นคือพันธกิจของเรา ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการวิจัยทางคลินิกเพื่อการพัฒนายาและวัคซีน ด้วยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งด้านศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ มีแพทย์นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาของโรค และมีมาตรฐานด้านการวิจัยทางคลินิกในระดับสากล หากเรามีจำนวนโครงการวิจัยทางคลินิกมากเท่าไร ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์ด้านสาธารณสุข แต่ยังจะกระตุ้นให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอีกด้วย"

จากการศึกษาผลกระทบจากการวิจัยทางคลินิกของดีลอยท์ในประเทศไทย (Deloitte's clinical research impact study in Thailand) เผยว่า เงินทุกบาทที่ลงทุนสำหรับการวิจัยทางคลินิกสามารถสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ถึง 3 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพและเล็งเห็นว่าจะมีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจในอนาคต และยังตอบโจทย์ความเชื่อที่ว่า "Health is Wealth" ถ้าประชากรมีสุขภาพที่ดี ประเทศก็สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดี โดยเฉพาะการลงทุนในการวิจัยพัฒนาที่จะมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น

ที่มา: เวเบอร์ แชนด์วิค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๒ เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๑๔:๐๗ HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๑๓:๑๕ กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๑๓:๒๔ Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๑๓:๔๗ AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๑๓:๕๙ KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๑๓:๐๑ ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๑๓:๒๓ โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๑๓:๔๗ ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๑๓:๕๒ W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส