ม.มหิดล - QUT ออสเตรเลีย ร่วมวิจัยพัฒนากระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP) เชิงนโยบาย

พฤหัส ๐๖ มิถุนายน ๒๐๒๔ ๑๑:๓๗
เมื่อปี พ.ศ. 2545 องค์การอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) ได้ให้คำนิยาม "การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง" (Palliative Care) ว่า เป็นการดูแลรักษาอาการที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณแบบเผชิญหน้า โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วย และครอบครัว ตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย ไปจนกระทั่งเสียชีวิต รวมถึงการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยหลังการสูญเสีย
ม.มหิดล - QUT ออสเตรเลีย ร่วมวิจัยพัฒนากระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP) เชิงนโยบาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์ อาจารย์ประจำโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงการจัดอันดับโลกการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง - ดัชนีการจากไปอย่างมีคุณค่า ปี พ.ศ. 2558 หรือเมื่อเกือบทศวรรษก่อน (The 2015 Quality of Death Index : Ranking palliative care across the world) โดย The Economist Intelligent Unit ซึ่งมีสำนักงาน 4 แห่งทั่วโลก ภายใต้ LIEN Foundation ว่าประเทศไทยมีการตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวเพียงปานกลาง

โดยประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 44 ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของทั้งหมด 80 อันดับทั่วโลก ในขณะที่มีถึง 2 ประเทศในทวีปโอเชียเนีย ซึ่งได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย และราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ ติด 2 ใน 3 อันดับแรก

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสุขภาวะของไทย ได้มีโครงการวิจัยร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ (QUT - Queensland University of Technology) เครือรัฐออสเตรเลีย ผ่านความร่วมมือจาก โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) สอดแทรกในวิชาการพยาบาลสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกระดับการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์ มองว่าการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพทางด้านการสาธารณสุขของประเทศ

โดยเป้าหมายโครงการวิจัยร่วมดังกล่าวมุ่งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสู่ระดับนโยบาย ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง เพื่อร่วมออกแบบ และพัฒนากระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP - Advance Care Planning) กับมหาวิทยาลัยในประเทศที่มีการตื่นตัวและพัฒนาสูงในด้านดังกล่าว ภายใต้โจทย์ 4 ด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจ (Awareness) ทัศนคติ (Attitudes) ประสบการณ์ (Experiences) และความคาดหวัง (Expectation)

ซึ่งการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงวัย แต่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีความเสี่ยง โดยปัจจุบันพบว่า โรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) นับเป็นอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต ซึ่งการวางแผนการดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP) สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนโรคจะเกิดรุนแรงถึงระยะท้าย ซึ่งอาจสายเกินไปที่จะสามารถตัดสินใจเตรียมการดูแลด้วยตัวเอง

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน
๑๗:๒๔ กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือกองปราบฯ จัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ปราบสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา งัดกฎหมายที่เกี่ยวข้องปราบผู้กระทำผิด
๑๗:๐๘ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๐๒ NPS สนับสนุนการปรับปรุงระบบไฟฟ้า โรงเรียนวัดหลังถ้ำวิทยาคาร
๑๗:๔๑ บางจากฯ จัดโปรแรงต่อเนื่อง จันทร์สีม่วง ลดราคาเฉพาะน้ำมันกลุ่มไฮพรีเมียม ทุกวันจันทร์ ระหว่างวันที่ 5 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68
๑๗:๓๐ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมราชทัณฑ์ จัดงานรวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม
๑๗:๑๑ ผมสวยท้าร้อน BSC hair Spray บำรุงยาวนาน ด้วยสูตร Aqua Moist
๑๗:๒๘ เตรียมพบกับปรากฏการณ์ศิลปะครั้งสำคัญ @ช่างชุ่ย นิทรรศการเดี่ยวในรอบ 9 ปี ของ Linecensor ARCH OF LINECENSOR PART 1: PERFECT
๑๗:๒๐ Tastes of May ณ โรงแรมเชอราตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา 3 เสาร์ 3 สไตล์ ตลอดเดือนพฤษภาคมนี้
๑๗:๔๕ อิเกีย ประเทศไทย ชวนอร่อยจัดเต็มกับเทศกาลแซลมอน ด้วยหลากเมนูพิเศษจากแซลมอนนอร์เวย์ คัดสรรคุณภาพสดใหม่ 1-31