มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผย 5 แนวทางของ AI ที่จะผลักดันวงการแพทย์ไทย พลิกวิถีการดูแลผู้ป่วยที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น

พฤหัส ๒๓ มกราคม ๒๕๖๘ ๑๓:๕๖
ในยุคที่วงการสุขภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้กลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์อย่างสิ้นเชิง มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส ได้เผยถึง 5 วิธีการนำนวัตกรรม AI มาใช้ในวงการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาแพทย์ไทยมีความพร้อมและแข่งขันได้ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผย 5 แนวทางของ AI ที่จะผลักดันวงการแพทย์ไทย พลิกวิถีการดูแลผู้ป่วยที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น
  1. การช่วยวินิจฉัยโรค

ระบบ AI ถูกนำมาใช้วิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ เช่น ภาพถ่าย X-rays และ MRI เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคตา และโรคปอดอักเสบ (pneumonia) ส่วนในด้านโรคหัวใจ ตัวอัลกอริทึม deep learning จะสามารถวินิจฉัยอาการหัวใจวายได้ในระดับใกล้เคียงกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ เครือข่าย AI ที่ได้รับการฝึกด้วยภาพทางคลินิกยังช่วยวินิจฉัยโรคทางผิวหนังได้อีกด้วย โดยสามารถชี้แจงความผิดปกติของผิวหนังได้อย่างแม่นยำ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า AI สามารถวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วและแม่นยำในระดับที่เทียบเท่าหรือดีกว่าผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

  1. หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

AI ช่วยเสริมการตัดสินใจในการผ่าตัดโดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่นแนวทางการผ่าตัดและข้อมูลจากงานวิจัย โดยหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ใช้ AI ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้แม่นยำยิ่งขึ้นอย่างการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก หรือที่เรียกว่า Minimally Invasive Surgery ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาล ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น และลดอาการเจ็บปวดจากการผ่าตัด

  1. การศึกษาและการฝึกอบรมทางการแพทย์

โรงเรียนแพทย์นำเครื่องมือ AI มาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมแพทยศาสตรบัณฑิต (MD):

  • AI สำหรับผู้เรียน: เครื่องมือที่ช่วยให้นักศึกษาแพทย์สามารถเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลใหม่ได้
  • AI สำหรับผู้สอน: เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน มอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับนักศึกษา และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในห้องเรียน
  • AI สำหรับสถาบัน: เครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนและโปรแกรมการศึกษา

ระบบการศึกษาแพทยศาสตร์นำ AI มาใช้ในแพลตฟอร์ม Adaptive Learning รวมไปถึงการจำลองสถานการณ์ด้วย AI (AI-powered simulation) และนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงมาใช้ (virtual reality environments) ซึ่งช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย และได้มีส่วนร่วมในสถานการณ์ทางการขึ้นคลินิก ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังช่วยพัฒนาหลักสูตรโดยการระบุจุดที่สามารถปรับปรุงได้และนำข้อมูลใหม่ ๆ มาปรับใช้ในหลักสูตรแพทยศาสตร์

  1. เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing: NLP) สำหรับข้อมูลทางการแพทย์

ระบบ NLP เป็นเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและจัดระเบียบข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้อนคำสั่งคอมพิวเตอร์ (Coding) พัฒนาระบบการเรียกเก็บเงิน รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล ระบบ NLP เหล่านี้ช่วยแปลงข้อมูลให้เป็นระเบียบมากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ทันที ทำให้กระบวนการเรียกเก็บเงินและการป้อนคำสั่งคอมพิวเตอร์เป็นระบบอัตโนมัติ และมอบข้อมูลสำคัญให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ โดยสามารถชี้จุดที่อาจเป็นปัญหาและแนะนำทางเลือกในการรักษาได้

  1. การศึกษาเกี่ยวกับยีน (Genomics)

AI ปฏิวัติวงการการศึกษาเกี่ยวกับยีน (Genomics) ด้วยการยกระดับการวิเคราะห์ การแปลผล และการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางชีววิทยา อัลกอริทึม AI สามารถถอดรหัสยีนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งกว่าผู้เชี่ยวชาญ ทั้งยังช่วยระบุรูปแบบและการกลายพันธุ์ได้ในระดับดีเอ็นเอ นอกจากนี้ยังมี อัลกอริทึม Machine learning ที่ช่วยคาดการณ์ความเสี่ยงของโรคได้ โดยอ้างอิงจากลักษณะทางพันธุกรรมและการตอบสนองต่อยาหรือต่อการบำบัดของผู้ป่วย ซึ่งมีผลต่อการวางแผนการรักษาแบบเฉพาะบุคคล

Dr. Anna Cyrus-Murden รองคณบดีฝ่ายการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง แผนกทักษะคลินิกที่ SGU กล่าวว่า "การนำ AI เข้ามาใช้ในวงการแพทย์สามารถช่วยเสริมพลังให้กับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ผ่านเครื่องมือที่ทันสมัย ไม่ใช่การทดแทน โดยช่วยปรับปรุงการทำงานของบุคลากรในช่วงเวลาที่มีการขาดแคลนแพทย์ มากไปกว่านั้น AI ยังมีศักยภาพในการปรับปรุงผลลัพธ์ ลดความเหลื่อมล้ำในการรักษา และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นหลัก นอกจากนี้ AI ถูกนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคไปจนถึงการรักษาเฉพาะบุคคลและการให้ข้อมูลกับผู้ป่วย AI ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในวงการแพทย์ เนื่องจากมีการค้นพบความสามารถใหม่ๆ และนำนวัตกรรมมาใช้อยู่เรื่อยๆ"

SGU ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาแพทยศาสตร์และนวัตกรรมต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SGU ที่ www.sgu.edu

ที่มา: Midas PR

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผย 5 แนวทางของ AI ที่จะผลักดันวงการแพทย์ไทย พลิกวิถีการดูแลผู้ป่วยที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน